WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 29, 2008

บิ๊กปชป.ยอมรับร่วมม็อบ เผยพรรคเปิดทางขึ้นเวที


พปช. สุดทนพรรคการเมืองเจ้าหลักการ ยื่น กกต. ยุบพรรคประชาธิปัตย์ มีพฤติกรรมส่อเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ขณะที่แกนนำพรรคพร้อมใจออกมาแก้ต่างหน้าตาเฉย ร่วมม็อบพันธมิตรฯ แค่กิจกรรมส่วนตัวไม่เกี่ยวพรรค เผยพรรคเปิดทางขึ้นเวทีปราศรัยได้

เมื่อบ่ายวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกพรรคพลังประชาชน ได้เดินทางยื่นหนังสือต่อ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยกล่าวว่า การมาในวันนี้กระทำในฐานะส่วนตัว คือขอให้ กกต. พิจารณาดำเนินการยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ และกระทำการขัดต่อกฎหมาย ซึ่งอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 94 (3) (4) ประกอบมาตรา 95

โดยระบุว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ไม่ใช้วิธีการโต้แย้งคัดค้านในรัฐสภา ที่เป็นการดำเนินการตามหลักการของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แต่กลับมีมติให้สมาชิกพรรคเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทำการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการเล่นการเมืองนอกสภาที่เข้าข่ายเป็นการทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งถือว่า เป็นเหตุที่ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองสามารถดำเนินการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ได้

นายศุภชัย ระบุว่า นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงชัดเจนว่า พรรคมีมติให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคเป็นผู้แทนของพรรคในการดำเนินการรณรงค์คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้น เทียบเท่ากับตอนที่รณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป โนโหวต (NO VOTE) ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 และยังมี นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ขึ้นเวทีปราศรัยกับกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย เช่นเดียวกับ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่แม้ไม่ได้ขึ้นปราศรัยแต่ก็ไปเกาะอยู่ขอบเวที นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอีกว่า ประชาชนจากต่างจังหวัดที่เดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ จำนวนมากนั้น มาโดยการนำพาของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ด้วย

“การที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เคยระบุว่า ความคิดของ นายจักรภพ เพ็ญแข รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นทัศนคติที่อันตราย แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์กระทำอยู่ขณะนี้คือ การเล่นการเมืองนอกสภา ถือเป็นอันตรายต่อการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยิ่งกว่าเสียอีก” นายศุภชัยกล่าว

เมื่อถามว่า การไปร่วมเวทีพันธมิตรฯ ของ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จนเป็นเหตุให้มีการยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ แตกต่างอย่างไรกับการที่นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน ไปร่วมกับกลุ่มแกนนำมหาพลังประชาชน อาจเป็นเหตุให้พรรคพลังประชาชนถูกเสนอยุบพรรคได้ นายศุภชัย กล่าวว่า พรรคพลังประชาชนไม่เคยมีการแถลงเป็นมติเหมือนพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งที่นายประชาทำไป พรรคไม่ได้มีส่วนรับรู้หรือเห็นด้วย ผิดกับพรรคประชาธิปัตย์ที่มีมติให้นายสุเทพ เป็นตัวแทนร่วมกับพันธมิตรฯ ซึ่งไม่ใช่วิถีทางของประชาธิปไตย โดยการเดินทางมายื่นหนังสือในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการยื่นหลักฐานใดๆ ประกอบ แต่หากนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องการก็พร้อมนำมาให้พิจารณา

ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า การที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับพันธมิตรฯ นั้น ตนอยากรู้ว่า สมาชิกพรรคศรัทธาในพันธมิตรฯ หรือว่าพรรค หรือเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฯ ส่วนการที่ประชาธิปัตย์ให้สมาชิกไปร่วมกับพันธมิตรฯ จะเป็นในนามส่วนตัวหรือไปร่วมเคลื่อนระดมพลก็ตาม วันนี้เห็นได้ชัดเจนว่า อุดมไปด้วยผู้แทนสอบตกทั้งนั้น ซึ่งตนต้องการจะพูดคือ คุณต้องการโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยอีกแล้วหรือ

อย่างไรก็ตาม ยังโชคดีที่ผู้บัญชาการทหารบกมีสติพอ ไม่เชื่อในการยั่วยุ ด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องสถาบัน เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบสาธารณรัฐเป็นเพียงการโกหกคำโตที่รับไม่ได้อย่างถึงที่สุด แต่เรื่องที่น่าเหลวร้ายกับกลายเป็นว่า พรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ไปเชื่อได้อย่างไร

“ภาพความรุนแรงของการใช้กำลังเข้าทำร้ายกันระหว่างการชุมนุมนั้น เป็นที่ประหลาดใจอย่างหนึ่งคือ ในขณะที่พันธมิตรฯไปทำร้ายประชาชนข่าวไม่ออก ซึ่งทิศทางข่าวไม่มีความเป็นธรรม เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า ฝ่ายที่มีการเตรียมกำลังและอาวุธ มีด ไม้ ท่อนเหล็กนั้น มันไม่ใช่หลักอหิงสา อโหสิ แต่เป็นการเตรียมสถานการณ์พร้อมรบเมื่อเกิดการปะทะ จึงอยากบอกว่า ใครจะพูดให้สวยอย่างไรก็ตาม มันไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าหากพฤติกรรมมันฟ้องชัดแบบนี้” นายจตุพร กล่าว

ขณะที่นายกุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวให้ความเห็น โดยตนมองว่า การที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะมีเป้าหมายเดียวกัน คือในวันนี้คนของพันธมิตรฯเข้าไปในกลุ่มการเมืองแล้ว แต่เมื่อสู้ในระบบรัฐสภาแล้วไม่ชนะ ดังนั้น จึงหันมาใช้วิธีนอกรัฐสภา ซึ่งพันธมิตรฯ เคยทำชนะมาแล้วจึงทำให้ย่ามใจ เมื่อผนวกกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็แพ้ในระบบการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น พวกนี้ต่อสู้มีเป้าหมายทางการเมืองคือ อยากจะได้ตำแหน่ง ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยอำนาจนอกระบบ

“ทุกคนที่ร่วมมือกันนั้น ล้วนลงเลือกตั้งและแพ้มากันทั้งนั้น บางคนก็เคยเป็น สนช.ก็เห็นหน้ากันชัดอยู่ ซึ่งเป้าหมายของทั้งสองกลุ่มคือต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่มีการกลับลำเอาดื้อๆ เป้าคือเพื่อล้มล้างรัฐบาล เพื่อให้เอาอำนาจนอกระบบเข้ามา ฉะนั้น จึงต้องปฏิเสธทุกอย่างที่ทำในระบบ ซึ่งเป้าหมายนั้นชัดเจนอยู่แล้ว” ร.ท.กุเทพ กล่าว

ส่วนทางด้านพรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวโต้ตอบว่า การที่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมเวทีกับกลุ่มพันธมิตรฯ ถือเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับตอนที่กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมต่อต้านอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเรื่องนี้พรรคได้แถลงไปก่อนหน้านี้แล้วว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะไปสังเกตการณ์หรือร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ไม่ใช่ในนามพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน ซึ่งพรรคไม่เห็นเป็นความผิดแต่อย่างใด

ทั้งนี้ พรรคได้มีการกำชับต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้วยว่า 1.จะต้องไม่ไปในนามของพรรคประชาธิปัตย์ 2.หากได้รับเชิญให้ขึ้นเวที สามารถขึ้นพูดในหลักวิชาการได้ รวมทั้งต้องไม่เป็นการปราศรัยเพื่อขับไล่รัฐบาล เพราะพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในระบบรัฐสภา ซึ่งพรรคได้แถลงไปหลายครั้งแล้ว ส่วนกรณี นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และ นายสำราญ รอดเพชร ทั้ง 2 คนเป็นแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ มาก่อน ดังนั้น คนของรัฐบาลไม่ควรที่จะมาใส่ร้ายป้ายสีว่า พรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังการชุมนุม โดยเฉพาะการขนประชาชนมาเข้าร่วมการชุมนุม

ต่อข้อถามว่า หากเกิดความรุนแรงหรือความเสียหายจาการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมรับผิดชอบด้วยไหม นายอลงกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง ส่วนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้สิทธิส่วนตัวเข้าร่วมการชุมนุม พรรคได้มีการกำชับว่า ให้เข้าร่วมชุมนุมโดยสงบในกรอบของกฎหมายและให้ช่วยกันระวังไม่ให้เกิดเหตุของความรุนแรง ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจากฝ่ายใดก็ตาม

ส่วนข้อครหาการขนประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีโดยมีน้องชายคือนายอรรถพร พลบุตร เป็นแกนนำมานั้น ตนอยากชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เพราะคนเพชรบุรีเคยร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯมาแล้วเมื่อปี 2549 และครั้งนี้ก็ไม่เห็นเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ จึงมาชุมนุมโดยสมัครใจ ไม่มีการขนมาหรือจ้างมา

ขณะที่คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช หนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่พบเห็นอย่างโจ่งแจ้งข้างเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวว่า พรรคไม่เคยพูดว่าสนับสนุน และที่ตนไปร่วมในชุมนุมก็เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ได้ไม่ผิดกฎหมาย และพรรคก็ไม่ได้ห้าม ส่วนการปิดถนนของกลุ่มพันธมิตรฯ พรรคก็ไม่เคยออกมาแสดงความคิดเห็นว่าเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่วิธีการของแต่ละกลุ่มจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งไม่อยากก้าวล่วง

ต่อข้อถามว่า การเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ แสดงว่าสนับสนุนการเคลื่อนไหวนอกสภาใช่หรือไม่ คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า หากประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในสภา ประชาชนก็ต้องคิดหาช่องทางตามกฎหมายที่สามารถจะแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งตนได้แสดงความคิดเห็นในสภาแล้ว แต่เมื่ออยู่นอกสภาก็เป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งที่อยากออกมาร่วมกิจกรรมใดๆ ก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องขังตัวเองเอาไว้ในบ้านอย่างเดียวเมื่ออยู่นอกสภา และก็ไม่กลัวที่จะมีการยื่นถอดถอนจากการเป็น ส.ส. ด้วย เพราะไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไร