WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 16, 2009

“ซ้ำรอย 6 ตุลา”

ที่มา ประชาไท

ชื่อบทความเดิม: ซ้ำรอย 6 ตุลา...สงกรานต์วิปโยค...อาชญากรรมโดยรัฐ ยุคเสรีนิยมใหม่...

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

นิสิต ปริญญาเอกคณะรัฐสาสตร์ จุฬาฯ

การชุมนุมแตกหักของ มวลชนเสื้อแดงนับจากวันที่ 8 เมษายน 2552 ได้มายุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อแกนนำประกาศสลายการชุมนุม ในวันที่ 14 เมษายน พร้อมมอบตัว รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัยชนะ แม้ประวัติศาสตร์จะเดินไปข้างหน้าอย่างย้อนกลับไม่ได้ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ศักราชนี้ การรวมตัวของมวลชนเสื้อแดงที่คาดหวังว่าจะนำการเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศนี้ การลุกฮือของชนชั้นล่างผู้ถูกละเลยมาโดยตลอด ความโกรธแค้นที่สิทธิ์เสียง สี่วินาทีในการเลือกตั้ง ของพวกเขาดูไร้ความหมายในสายตาของเหล่าชนชั้นสูงที่พร่ำบอกถึงความเหลื่อมล้ำตามธรรมชาติ พวกเขาถูกก่นด่าจากชนชั้นกลางและนักธุรกิจนำเข้าส่งออก และนายทุนโรงแรม...เชื่อกันว่ามีมวลชนเสื้อแดงเสียชีวิตอย่างน้อยที่สุด 6 คนจากฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ....น่าเสียดายที่การต่อสู้ครั้งนี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้....แต่กระนั้นก็มิใช่ว่าความขัดแย้งในสังคมจะหายไป การกดขี่ ขูดรีด และไม่เห็นหัวคนจน ยังคงดำเนินต่อไปอยู่....การลุกฮืออีกครั้งย่อมนำสู่การปฏิวัติที่ก้าวหน้ากว่าแค่เรื่องสิทธิทางประชาธิปไตยก็เป็นได้

เมื่อเราย้อนเทียบเคียงกับเหตุการณ์ 6ตุลาเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เราจะพบว่าสองเหตุการณ์นี่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างน่าแปลกใจ ซ้ำร้ายกว่านั้น แม้เหตุการณ์จะต่างเวลาต่างยุคสมัยหลายทศวรรษต้นเหตุของความขัดแย้งดูจะเป็นเรื่องเดียวกัน...นั้นคือการเมืองที่ไม่เห็นหัวคนจน และเหล่าชนชั้นปกครองที่แอบอ้างความแตกต่างโดยกำเนิด และเกรงกลัวการเปลี่ยนแปลงที่จะให้อำนาจแก่ประชาชน

....

เมื่อปลายปีที่แล้วผมได้นำเสนอบทความ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของ นปช.ในการประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 9 ที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมพบว่าแม้การนำเสนอจะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปแต่น่าแปลกใจที่ผู้ฟังจำนวนไม่น้อยรู้สึกแปลกใจข้อเสนอของผม ประชาชน (โดยเฉพาะชนชั้นกลาง) จำนวนมากไม่สามารถเข้าใจขบวนการมวลชนเสื้อแดงได้มากไปกว่า ม็อบรับจ้างของทักษิณ ชินวัตร หลายคนไม่เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดคนเหล่านี้ถึงได้ชื่นชอบนโยบายประชานิยม หรือนิยมชมชอบรัฐบาลไทยรักไทย และอีกหลายคนเชื่ออย่างสนิทใจว่า ประเทศนี้ทุกคนเสมอภาคกัน สังคมเต็มไปด้วยความสามัคคีสมานฉันท์ตามที่สื่อกระแสหลักนำเสนอ...พวกเขาไม่เชื่อว่าความจนโกรธแค้นการกดขี่ขูดรีดระหว่างชนชั้น ต่อระบบการเมืองที่ไม่เห็นหัวคนจนมีอยู่จริง และความอัดอั้นที่ว่านี้ สามารถแสดงออกมาได้โดยไม่มีการว่าจ้าง....

การก้าวสู่อำนาจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นการตบหน้าพวกเขาอย่างจัง เมื่อคะแนนเสียงครึ่งค่อนประเทศไม่มีผล การตัดสินใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีตกอยู่ในมือนักการเมืองน้ำเน่าอย่างกลุ่มเพื่อนเนวินไม่กี่สิบคน ...นำสู่การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองเก่าแก่ที่อยู่ตรงข้ามประชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ไทย และแน่นอนที่สุดแนวการบริหารของรัฐบาลอภิสิทธิ์มุ่งอยู่ที่การจัดสรรประโยชน์ของกลุ่มทุนรัฐบาล มากกว่าการแก้ไข ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ต่างจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ ของเสนีย์ ปราโมทย์ ปฏิเสธที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการลุกฮือของคนจนทั้งในเมืองและชนบท พร้อมทั้งการปล่อยให้ลูกเสือชาวบ้านออกมาเข่นฆ่าประชาชน

สมัคร สุนทรเวช เป็นกระบอกเสียงของวิทยุยานเกราะในการให้ข่าวเพื่อลดความน่าเชื่อถือของผู้ชุมนุม โดยการปล่อยข่าวต่างๆ นานา เช่นว่า มีการขุดอุโมงค์ในธรรมศาสตร์ หรือ การสะสมอาวุธสงครามจากกองกำลังเวียดนาม ในปี 2552 ก็เช่นกัน ขุนศึกกระหายสงครามในคราบนักวิชาการ อย่าง ปณิธาน วัฒนายากร หนึ่งในผู้ยกร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงซึ่งเป็นกฎหมายอนุญาติฆ่าคน เป็นกระบอกเสียงการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ขณะที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ASTVก็มีบทบาทไม่ต่างจากหนังสือพิมพ์ดาวสยามในการนำเสนอข่าวเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นการเสนอว่าผู้ชุมนุมมีการกีดกันการโดยสารของรถพยาบาลย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือการยืนยันว่าไม่มีผู้เสียชีวิต พร้อมการปลุกปั่นประชาชนให้ทำร้ายมวลชนเสื้อแดงโดยไม่ถือว่าเป็นบาปความผิดใดๆ ดุจการฆ่าไก่แกงปลาใส่บาตรพระ

มวลชนเสื้อแดงพร้อมจะไปไกลกว่าแกนนำ พวกเขาหิวโหยการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ขณะที่แกนนำพร้อมที่จะประนีประนอม ในเวลาเดียวกันเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจก่นด่าการสลายการชุมนุมผู้นำอาเซียน พร้อมกับสื่อกระแสหลักที่พยายามตีมูลค่าความเสียหายเป็นตัวเงิน น่าแปลกใจที่นักสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย กลับไม่ยินดีกับเหตุการณ์ดังกล่าว....การประชุมอาเซียนครั้งนี้มีเป้าประสงค์หลักคือการเปิดการค้าเสรี โดยเพิ่มบทบาททุนข้ามชาติ ยิ่งไปกว่านั้นหนึ่งในประเทศร่วมเจรจา คือสหภาพเมียนมาร์ โดยส่งนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเจรจา ....การค้าเสรีครั้งนี้จะช่วยให้ทุนข้ามชาติเข้าไปปรนเปรอเผด็จการทหารพม่า ในการกดขี่ชนกลุ่มน้อย และผู้ใช้แรงงานชาวพม่า ให้เป็นแรงงานทาส โดยนายทุนและรัฐบาลไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ....นักสิทธิมนุษยชนดูจะปิดหูปิดตากับเรื่องนี้ การสลายการชุมนุมอาเซียนเป็นการลดอายุเผด็จการทหารพม่า ประเทศที่กดขี่ประชาชน และมีนักโทษการเมืองมากที่สุดในโลก

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจในยุคโลกาภิวัตน์และการเปิดกว้างของการสื่อสาร สื่อโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ไทยกลับนำเสนอข่าวได้อย่างน่าผิดหวัง และปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาล แม้จะมีภาพทหารเล็งประทับปืนตามแนวราบใส่ผู้ชุมนุม สิ่งเหล่านี้กลับไม่ถูกประณามจากสื่อในประเทศ การสลายการชุมุมสามารถกระทำได้โดยสันติและปราศจากอาวุธ ท่ามกลางความวุ่นวายและสภาพอนาธิปไตย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังยืนยันว่าตนมีความชอบธรรม และไม่จำเป็นต้องยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน สิ่งที่น่าละอายที่สุดคือ นายกรัฐมนตรีที่สำเร็จการศึกษาจากโลกตะวันตกแหล่งกำเนิดของแนวคิดเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย กลับกล่าวขอบคุณส่งเสริมกองกำลังนีโอนาซี ซึ่งคือชาวบ้านบริเวณหลานหลวงซึ่งถือท่อแป๊บรุมทำร้ายประชาชนที่คาดว่าเป็นมวลชนเสื้อแดง ไม่ต่างกับกองกำลังลูกเสือชาวบ้าน สมัย 6 ตุลา และเช่นเดิม อภิสิทธิ์ และปณิธานกล่าวขอบคุณกองกำลังนีโอนาซีที่ช่วยประคับประคองพวกเขาให้อยู่ในอำนาจต่อไป ดูเหมือนว่าปืนกล และรถถังเป็นสิ่งที่อภิสิทธิ์เรียนรู้จากโลกตะวันตกหาใช่ประชาธิปไตย

มวลชนเสื้อแดงถูกปราบและสลายตัวในที่สุด ต้อนรับการเปิดทำการของตลาดหุ้นที่จะกระเตื้องขึ้นตอบสนองการปราบปรามของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเชื่อว่าเหล่านายทุนและผู้ประกอบการจะพอใจกับความสงบภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะมันสามารถคาดเดาได้ และกำราบการเดินขบวนของแรงงานใต้วิกฤติเศรษฐกิจ ภาพสะท้อนสงกรานต์วิปโยคครั้งนี้จะแสดงให้เห็นท่าทีของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในการกำราบมวลชนที่คิดแตกต่างไปจากพวกเขา รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การควบคุมขบวนการแรงงาน รวมถึงการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนความจริง พวกเขาจะขุดวัฒนธรรมสามัคคี สมานฉันท์ และแนวความคิดจารีตนิยม ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชายเป็นใหญ่ ศาสนานิยม ครอบครัวชุมชนดั้งเดิม เพื่อกลบเกลื่อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

พยายามให้พวกเราหวนนึกถึงความกลมเกลียวในอดีตระหว่างชนชั้นต่างๆ นายทุน-กรรมกร กษัตริย์-ประชาชน แน่นอนที่สุดความสมานฉันท์เหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง....แต่มันสร้างได้..... พวกเขาจะเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกชุดและโฆษณาชวนเชื่อผ่านกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน โฆษณาโทรทัศน์ ภาพยนตร์ งานวิชาการต่างๆ แต่พวกเขาเขียนความเป็นจริงไม่ได้....ความเป็นจริงย่อมปรากฏ ประวัติศาสตร์จะชำระตัวมันเอง อีกสามสิบปีข้างหน้า ผู้คนจะเรียนรู้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ต่างจาก ถนอม กิตติขจร หรือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร... แต่ก่อนจะถึงวันนั้นมวลชนจะตื่นอีกครั้งและครั้งนี้ จะไม่เกี่ยวกับ ทักษิณ ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ เหลืองหรือแดง หากแต่เกี่ยวกับความกดขี่ที่ถูกฝังบ่มเพาะอย่างยาวนาน....นั่นคือการกดขี่ระหว่างชนชั้น ชนชั้นจำนวนน้อยที่ไม่ทำงานอะไรเลยแต่ครอบครองทุกอย่างในประเทศ กับชนชั้นที่ทำงานหนักที่สุดหากแต่มิได้ครอบครองอะไรเลยนอกจากแรงงานตน สังคมใหม่จะมาถึงและประวัติศาสตร์ใหม่จะถูกจารึก

ไม่เกี่ยวกับ กษัตริย์ ทักษิณ พันธมิตรฯ หรือ นปช.หากแต่เป็นประวัติศาสตร์ ของชนชั้นล่าง ชนชั้นผู้สรรค์สร้างทุกอย่างในสังคมนี้