WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, April 18, 2009

ครส.จี้รัฐ เร่งคลี่คลายคดีสังหารสนธิ ระบุนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องได้รับการคุ้มครอง

ที่มา ประชาไท

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์กรณีการลอบสังหารแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวทางการแก้ปัญหาทางการเมือง เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อคลี่คลายคดีการลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ระบุการเกิดการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมือง สะท้อนความด้อยประสิทธิภาพของรัฐบาลในการคุ้มครองปกป้องพลเมืองจากวิกฤติการณ์ความขัดแย้ง โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่รัฐบาลจะต้องดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดการคุกคามหรือลอบสังหารอันเป็นยุทธการนอกระบบกฏหมาย โดย ครส. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการคุ้มครองนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างมีรูปธรรมเพื่อไม่ให้เกิดกลียุครอบใหม่ และเร่งแก้ไขการขยายตัวของความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าวโดยจับกุมคนร้ายมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้เพื่อเป็นหลักประกันแก่พลเมือง ไม่ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นฝีมือของคนกลุ่มใด สีใด หรือเป็นคนมีสีในรัฐบาลเองหรือไม่ก็ตาม

2. ขอให้รัฐบาลควบคุมการใช้อาวุธ หรือการติดกำลังอาวุธของพลเมือง ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงรอบใหม่ 3.ขอให้รัฐบาลตั้งกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่ผ่านมา เพื่อความโปร่งใส รวมถึงเยียวยาผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ปะทะ โดยไม่เฉพาะจากเหตุการณ์หลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น รวมถึงดำเนินการให้มีการตรวจสอบผู้สูญหาย เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการบิดเบือนหรือแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ


4. ขอให้รัฐบาลใช้กระบวนการรัฐสภา ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการปรองดอง(สมานฉันท์) แห่งชาติโดยเร่งด่วน
และไม่ควรดำเนินการริดลอนสิทธิเสรีภาพของพลเมืองโดยเฉพาะการปิดกั้นการสื่อสารวิทยุชุมชนต่างๆ ของผู้เห็นต่างจากรัฐ รวมถึงการพิจารณานักโทษทางการเมือง กรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้ได้รับการประกันตัวและสิทธิในการต่อสู้ตามข้อกล่าวหาเป็นรายกรณี โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

00000


จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจนมีการออก พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนการลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเช้าวันนี้ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) มีความเห็นดังนี้


1. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อคลี่คลายคดีการลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเร็วที่สุด เพราะเกิดเหตุในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ที่มีเจ้าหน้าที่ทหารประจำจุดต่างๆ มากมายแต่ยังเกิดความหละหลวมให้เกิดการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ซึ่งสะท้อนความด้อยประสิทธิภาพของรัฐบาลในการคุ้มครองปกป้องพลเมืองจากวิกฤติการณ์ความขัดแย้ง โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่รัฐบาลจะต้องดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดการคุกคามหรือลอบสังหารอันเป็นยุทธการนอกระบบกฏหมาย กระบวนการยุติธรรมและวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งจะนำมาสู่ความรุนแรงทางการเมืองไม่มีที่สิ้นสุด และอาจขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองหรือการรบแบบจรยุทธ์ดังที่เคยเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น หรือกรณีประเทศศรีลังกาในปัจจุบันที่มีการระเบิดพลีชีพเอาชีวิตผู้นำทางการเมือง รวมถึงการก่อการร้ายในเมืองหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะมาจากสาเหตุทางการเมือง ซึ่งได้พัฒนาจากการเมืองบนท้องถนนไปสู่สงครามใต้ดินโดยใช้วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธ และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว

ดังนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) ขอให้รัฐบาลมีมาตรการคุ้มครองนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างมีรูปธรรมเพื่อไม่ให้เกิดกลียุครอบใหม่ และเร่งแก้ไขการขยายตัวของความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าวโดยจับกุมคนร้ายมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้เพื่อเป็นหลักประกันแก่พลเมือง ไม่ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นฝีมือของคนกลุ่มใด สีใด หรือเป็นคนมีสีในรัฐบาลเองหรือไม่ก็ตาม

2. ขอให้รัฐบาลควบคุมการใช้อาวุธ หรือการติดกำลังอาวุธของพลเมือง ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงรอบใหม่ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มขบวนการต่างๆ ที่เคลื่อนไหวโดยสันติวิธีบนวิถีทางประชาธิปไตย และให้เร่งดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วกรุงเทพฯ เพิ่มเติมโดยเร็ว เพื่อควบคุมความรุนแรงที่อาจขยายตัวบานปลาย โดยใช้การแก้ไขโดยเน้นกระบวนการทางกฎหมายจากพยานหลักฐานอย่างเข้มงวดมากขึ้น

3. ขอให้รัฐบาลตั้งกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่ผ่านมา เพื่อความ โปร่งใส รวมถึงเยียวยาผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ปะทะ โดยไม่เฉพาะจากเหตุการณ์หลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น รวมถึงดำเนินการให้มีการตรวจสอบผู้สูญหาย เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการบิดเบือนหรือแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ รวมถึงพัฒนาหน่วยงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับชุมนุมทางการเมืองให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากลที่ดำเนินอยู่ในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศตะวันตก ซึ่งทหารควรมีไว้เพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกเท่านั้น แต่การดำเนินการต่อผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงควรจะใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นหน่วยที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในยุทธวิธีรับมือการจราจล พร้อมทั้งมีอุปกรณ์ที่ป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย เพราะภาพที่ทหารถืออาวุธสงครามออกมา พร้อมรถถังเพื่อเผชิญหน้ากับประชาชนในเหตุก่อการจลาจลตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยและอาจเกิดความเสียหายที่ไม่จำเป็นแก่ประชาชนได้ แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าเนื่องจากกลไกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ทำงาน(unwilling) หรือ ไม่สามารถ (unable) ปฏิบัติการจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ถึงขั้นทำให้สังคมมีความรู้สึกไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยก็ตาม ก็เป็นภาระหน้าที่ที่รัฐบาลควรจะต้องพัฒนาหน่วยงานดังกล่าวขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ไม่จำเป็นในการระงับเหตุจลาจลโดยกองทัพและทางทหารในอนาคต

4. ขอให้รัฐบาลใช้กระบวนการรัฐสภา ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการปรองดอง(สมานฉันท์) แห่งชาติโดยเร่งด่วน
เพื่อพิจารณาปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะคู่ความขัดแย้งของรัฐ มาเจรจาหาทางออกและหนทางแก้ไขสถานการณ์ โดยเฉพาะร่วมปฏิรูปการเมืองและสังคมให้ข้ามพ้นจากความขัดแย้งต่อไปในระยะยาว และดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่ควรดำเนินการให้มีการริดลอนสิทธิเสรีภาพของพลเมืองโดยเฉพาะการปิดกั้นการสื่อสารวิทยุชุมชนต่างๆ ของผู้เห็นต่างจากรัฐอันเป็นหนทางการใช้อำนาจนิยมแก้ไขปัญหาซึ่งรังแต่จะขยายความขัดแย้งไม่สิ้นสุดและไม่ใช่หนทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีสาเหตุหลักมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงการพิจารณา นักโทษทางการเมือง กรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้ได้รับการประกันตัวและสิทธิในการต่อสู้ตามข้อกล่าวหาเป็นรายกรณี โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตามกฎหมายและวิถีทางในกระบวนการยุติธรรมอย่างสันติต่อไป

17 เมษายน 2552