WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 15, 2009

น้ำเสียง จากสังคม ต่อ สถานการณ์ ฉุกเฉิน น้ำเสียง ที่ ห่วงใย

ที่มา มติชน

คอลัมน์ วิภาคแห่งวิพากษ์




ถึงแม้ว่าเป้าหมายในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552

เป้าหมาย 1 ก็เพื่อจัดการกับการชุมนุม ณ บริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาล

เป้าหมาย 1 ก็เพื่อนำเอาบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสามและวรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา 15 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาเป็นเครื่องมือในการคลี่คลายวิกฤต

หากประเมินจากความคืบหน้าของสถานการณ์จากวันที่ 12 เมษายน จนมาถึงวันที่ 13 เมษายน ก็จะตระหนักในความมั่นใจเป็นอย่างสูงของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นั่นก็คือ ทุกอย่างน่าจะเรียบร้อยได้ภายในวันที่ 15 เมษายน

กระนั้น หากมองจากประกาศเรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 13 เมษายน 2552 แต่งตั้ง พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ก็มีความเด่นชัดอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นว่า ความมั่นใจของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นอยู่กับปฏิบัติการของทหารของกองทัพอย่างเป็นด้านหลัก

ขณะที่อารมณ์ทางสังคมก็ใช่ว่าจะไปในทิศทางเดียวกันกับของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ไม่ว่าจะเป็นแถลงการณ์อันมาจาก 7 องค์กร อันได้แก่

(1) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (2) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (3) สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า (4) กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง (5) เครือข่ายประชาธิปไตยเห็นต่างกันได้แต่อย่าใช้ความรุนแรง (6) คณะกรรมการญาติวีรชน 35 (7) เครือข่ายนักวิชาการไม่เอาความรุนแรง

ไม่ว่าจะเป็นแถลงการณ์อันมาจาก กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง อันได้แก่

(1) เครือข่ายผู้บริโภค (2) เครือข่ายผู้ติดเชื้อ (3) เครือข่ายครอบครัว (4) เครือข่ายสุขภาพ (5) เครือข่ายภาคีองค์กรงดเหล้า (6) เครือข่ายสลัมสี่ภาค (7) เครือข่ายเกษตรกรทางเลือก (8) เครือข่ายนักศึกษา (9) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (10) อดีต ส.ว.

ไม่ว่าจะเป็นแถลงการณ์อันมาจาก มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แม้จะไม่เห็นด้วยกับวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ความรู้สึกตรงกันเป็นอย่างมาก คือ ความเห็นที่ว่า การประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะทำให้สถานการณ์ยิ่งร้ายแรงมากขึ้น

ตรงนี้คือผลสะเทือนอันสะท้อนละเอียดอ่อนอย่างยิ่งของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

หากจับความห่วงใยอันแสดงออกซึ่งมาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโดยสื่อสารมวลชน

ความวิตกเป็นอย่างมาก คือ ความวิตกเพราะเห็นทหารถือปืนออกมาอยู่บนท้องถนน

ความวิตกเป็นอย่างมาก คือ ความวิตกเพราะไม่มั่นใจว่าวิธีการเช่นนี้ของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นจริง

ภาพของทหารมีอาวุธครบมือเดินอยู่บนท้องถนน เป็นภาพที่ไม่ดีอย่างแน่นอน

มิเช่นนั้น ดิ อีโคโนมิสต์ คงไม่พาดหัวเรื่อง "วิกฤตการณ์ที่อัปลักษณ์ของประเทศไทย" มิเช่นนั้น ฟอร์บส์ คงไม่พาดหัวเรื่องว่า "วันคืนที่มืดมิดของประเทศไทย"

ขณะที่ ไม่เคิล มอนเตชาโน นักวิชาการ พูดผ่านสำนักข่าวเอพีว่า

"ทหารต้องออกมาดำเนินการเพราะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าสู่อำนาจและต้องการปกป้องคนของตัวเอง"

ขณะที่รายงานข่าวของบีบีซีระบุ "เห็นทหารยิงปืนหลายร้อยนัด บางนัดเข้าใส่ผู้ชุมนุม"

ทั้งหมดนี้ทำให้ฝันร้ายเมื่อเดือนตุลาคม 2519 หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งหมดนี้ทำให้ฝันร้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

เพียงแต่นายกรัฐมนตรีในขณะนี้ เป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เท่านั้น

มีความมั่นใจเป็นอย่างสูงจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าทุกอย่างจะจบลงอย่างเรียบร้อย

ขณะเดียวกัน คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ เป็นความเรียบร้อยในแบบใด และทหารที่ถือปืนออกมาบนท้องถนนเพื่อสลายการชุมนุมจะลงเอยอย่างไร

ขณะที่เสียงท้วงติงจากสังคมจะสามารถกลบเสียงปืนได้หรือไม่ ก็ยังน่าสงสัย