WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 17, 2009

เหมาอิสต์ชนะการเลือกตั้งสมัชชาร่างรธน.พิเศษ-ศาลเนปาลสั่งค้นหาคนหายช่วงสงคราม

ที่มา ประชาไท

นักกิจกรรมเหมาอิสต์แสดงเป็นทหารในกองทัพเนปาล และทหารในกองทัพปลดปล่อยประชาชนของลัทธิเหมา ในชุดการแสดงที่สะท้อนการรวมเป็นหนึ่งของสองกองทัพ ระหว่างงานฉลองปีที่ 19 ขบวนการประชาชน ที่กรุงกาฏมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อ 6 เมษายน ที่ผ่านมา โดยงานฉลองดังกล่าวเพื่อรำลึกถึง 19 ปีของขบวนการเหมาอิสต์ในเนปาล (ที่มา: Ruuters/Daylife.com)

อดีตกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลของเนปาล ชนะการเลือกสมาชิกสมัชชายกร่างรัฐธรรมนูญพิเศษ 3 ที่นั่งจาก 6 ที่นั่ง นับเป็นการทดสอบความนิยมของพวกเขา นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปีที่แล้ว

คณะกรรมการการเลือกตั้งกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า พรรคฝ่ายค้านสายกลางอย่างพรรคเนปาลีคองเกรส และอีกสองพรรคร่วมรัฐบาล ได้พรรคละ 1 ที่นั่ง

นักวิเคราะห์ระบุว่า ผลการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชายกร่างรัฐธรรมนูญพิเศษทั้ง 6 ที่นั่ง จะเข้าไปเพิ่มที่นั่งในรัฐสภาของเนปาล แต่ไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของรัฐบาล

นายโลก ราช ภาราล (Lok Raj Baral) ประธานศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์เนปาล (Nepal Center for Strategic Studies) กล่าวว่า มีสมาชิกในรัฐสภาจำนวนมาก เมื่อเทียบกับพรรคการเมืองที่เหลือ ดังนั้นผลการเลือกตั้งจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงอะไร

แต่คะแนนความนิยมของผู้สมัครจากกลุ่มเหมาอิสต์เทียบกับส่วนต่างกับคะแนนคู่แข่ง ไม่ได้ห่างกันมาก แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเหมาอิสต์ไม่ได้มีความนิยมมากเท่ากับการเลือกตั้งทั่วไปในปีที่แล้ว เขากล่าว

กลุ่มเหมาอิสต์ หรือพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) เป็นผู้ดำเนินการสงครามกลางเมืองมาตั้งแต่ปี 2539 เพื่อต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และราชวงศ์ชาห์ที่ครองบัลลังก์มาอย่างยาวนานถึง 239 ปี การต่อสู้ครั้งนั้นจบลงด้วยการลงนามในสัญญาสันติภาพในปลายปี 2549 กับพรรคร่วมรัฐบาล และเมื่อปีที่แล้วพวกเขาชนะการเลือกตั้งสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ 238 ที่นั่ง จากทั้งหมด 601 ที่นั่ง

และหลังการเลือกตั้งมีการยกเลิกสถาบันกษัตริย์เนปาล อันเป็นข้อเรียกร้องหลักของกลุ่มเหมาอิสต์ในช่วงสงครามกลางเมือง และพวกเขาเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม

เมื่อกลุ่มเหมาอิสต์ครองอำนาจ พวกเขาได้ประกาศจะสร้าง เนปาลใหม่ และกระจายความช่วยเหลือไปยังประชาชนเนปาล ซึ่งประชากร 1 ใน 3 จาก 27 ล้านคน มีระดับครองชีพต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน

รัฐบาลเนปาลต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อที่ดำเนินมายาวนับทศวรรษ และปัญหาขาดแคลนพลังงาน ซึ่งปัญหาทั้งหลายนำไปสู่การประท้วงต่อต้านรัฐบาล

ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกล่าวหากลุ่มเหมาอิสต์ว่ายังคงใช้ความรุนแรง

ก่อนหน้านี้เมื่อ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ศาลฎีกาของเนปาลมีคำสั่งให้รัฐบาลค้นหาสาเหตุที่ประชาชน 434 รายสูญหายช่วงสงครามกลางเมืองที่ยาวนานนับทศวรรษในเนปาล

องค์กรสิทธิมนุษยชนและครอบครัวผู้สูญหาย กล่าวหาว่า กองทัพเนปาลซึ่งภักดีกับอดีตกษัตริย์คยาเนนทราและกลุ่มเหมาอิสต์ เป็นสาเหตุทำให้มีคนสูญหายระหว่างสงครามกลางเมืองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 13,000 คน โดยทั้งเหมาอิสต์และกองทัพเนปาลถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลักพาตัว ทรมาน ข่มขืน ฆ่า ทำให้สาบสูญ ในช่วงสงคราม

เฮมาตา ราวัล (Hemanta Rawal) โฆษกศาลฎีกา กล่าวเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ว่า ศาลมีคำสั่งให้รัฐบาลค้นหาประชาชน 434 คน ที่มีรายงานว่าหายสาบสูญช่วงสงครามกลางเมือง

รัฐไม่อาจละทิ้งความรับผิดชอบในการค้นหาคนที่สูญหาย โฆษกศาลฎีกากล่าว มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทราบถึงชะตากรรมของพวกเขา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับญาติของพวกเขา

ทั้งนี้กลุ่มเหมาอิสต์ร่วมกับพรรคการเมืองในสภามาได้สามปีแล้ว ภายใต้สัญญาเมื่อปี 2549 เขาได้มอบอาวุธและกองกำลังให้กับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเป็นผู้ควบคุมในค่ายที่เตรียมไว้ สัญญานี้ยังรวมถึงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ตั้งองค์คณะสืบหาผู้หายสาบสูญในช่วงสงครามกลางเมือง โดยรัฐบาลสัญญาว่าจะตั้งคณะกรรมการดังกล่าว แต่จนบัดนี้ยังไม่มีการตั้งแต่อย่างใด

ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก

Maoists win three of six seats in Nepal by-elections, Reporting by Gopal Sharma; Editing by Jerry Norton, Reuters, Sun Apr 12, 1:23 am ET

Nepal government told to find hundreds missing from war, Reporting by Gopal Sharma; Editing by Krittivas Mukherjee and Paul Tait, Reuters, April 3, 2009, 5:40 pm