WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 16, 2009

แถลงข่าวตั้งศูนย์รับเรื่องราวข้อมูลคนหายฯ จากเหตุการณ์ชุมนุม นปช.เดือนเมษา

ที่มา ประชาไท

วันนี้ (15 เม.ย.) เวลา 11.00 น. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับ เครือข่ายเดือนตุลา เครือข่ายราษฎรนักเขียนศิลปินประชาธิปไตย (PWAD) แถลงข่าวจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวข้อมูลคนหายในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายน ในช่วงระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2552

น.ส.สุวลักษณ์ กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุที่ผ่านมามาโดยตลอด การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงพบว่าไม่ได้รับการรายงานที่พูดถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐแม้แต่น้อย แต่การใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่ที่รายงานเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และรัฐบาลก็ระบุว่ากระสุนปืนที่นำมาใช้เป็นของปลอม ไม่เป็นอันตราย ทั้งที่หลักฐานจากรูปถ่าย คลิปวิดีโอข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และการสอบถามกลุ่มผู้ชุมนุมหลายรายยืนยันว่ากระสุนที่นำมาใช้เป็นกระสุนจริง มีการเล็งปืนยิงใส่ผู้ชุมนุมจริง และนำศพออกไปเพื่อไม่ให้มีหลักฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ยอมรับว่ามีคนตายจากการสลายการชุมนุมโดยกำลังทหาร

เราจึงจัดให้มีศูนย์รับเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้ญาติผู้ตายหรือผู้เสียหายมาแจ้งเรื่องร้องเรียนกับเราได้ โดยจะประสานงานกับมูลนิธิ 14 ตุลา เครือข่ายเดือนตุลา เครือข่ายราษฎรนักเขียนศิลปินประชาธิปไตย เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง

น.ส.สุลักษณ์ กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นทราบข้อมูลว่ามีคนตายประมาณ 60 กว่าคน แต่ยังหาหลักฐานไม่ได้ จึงยังไม่กล้ายืนยัน โดยข้อมูลดังกล่าวได้จากการพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก ดังนั้นศูนย์ฯ จะเร่งหาหลักฐานมาพิสูจน์เรื่องนี้ให้ได้ หากมีคนตายจากกรณีดังกล่าวจริงขอเรียกร้องนายกรัฐมนตรียุบสภาหรือลาออกเพื่อ รับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนั้นเพื่อเป็นการแสดงความจริงและเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองต่อไป ในส่วนของสถานศึกษาจะมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายเหตุการณ์รุนแรง ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น พฤษภาทมิฬ 2535 รวมถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12-13 เม.ย.2552 นี้ด้วย โดยจะมีการเผยแพร่ข้อมูลตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และหากมีนิสิตนักศึกษาต้องการเข้าร่วมกิจกรรมก็สามารถติดต่อมาที่ สนนท.ได้

ด้านนางวิภา ดาวมณี จากเครือข่ายคนตุลา กล่าวยืนยันว่า การทำงานของศูนย์รับเรื่องราวคนหายฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องของมนุษยธรรม ในส่วนของศูนย์รับเรื่องราวคนหายฯ ตั้งใจจะรับเรื่องคนหาย บาดเจ็บ รวมทั้งเด็กที่พลัดหลงกับผู้ปกครอง ส่วนการทำงานของเครือข่ายเดือนตุลา จะเข้าไปมีส่วนในการชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้จะมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ จากมูลนิธิกระจกเงาเป็นที่ปรึกษาของศูนย์ แต่เป็นการเข้าร่วมโดยส่วนตัวเพื่อเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำฐานข้อมูล และประสานกับโรงพยาบาลต่างๆ โดยมีนิสิตนักศึกษาเป็นอาสาสมัครรับเรื่อง

นางวิภา ได้ขอให้คนที่ไม่กล้าแสดงตัวว่าได้รับความรุนแรงออกมาแสดงตัว ส่วนหน่วยงานหรือบุคคลที่ต้องการจะมาร่วมเป็นอาสาสมัครก็สามารถมาเข้าร่วมได้ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องไปถึงสื่อมวลชนที่อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติงานในภาคสนาม ซึ่งอาจไม่ได้รับความยุติธรรมในวิชาชีพ ไม่มีโอกาสสะท้อนความจริงทางวิชาชีพเพราะข่าวหรือข้อมูลไม่ได้รับการเผยแพร่ ให้ลุกขึ้นมาสะท้อนความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ด้านนายชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ ผู้ประสานงานศูนย์รับเรื่องราวคนหายฯ กล่าวว่า ทางศูนย์ฯ ต้องการหาความจริงที่เป็นกลางที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาได้รับรู้เรื่องราวโดยการบอกเล่าที่แม้จะถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ก็ต้องการข้อมูลที่พิสูจน์ตรวจสอบได้ ในส่วนนี้คิดว่าผู้เสียหายจริงน่าจะให้ข้อมูลตรงนี้ได้ดีที่สุด หรือคนที่ได้ถ่ายภาพหรือบันทึกคลิปเหตุการณ์เอาไว้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ไม่เลือกว่าจะเป็นใคร เพียงมีจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

“ทำอย่างไรให้เรายืนอยู่ในความเป็นมนุษย์ ที่มีเหตุผล ให้นำหนักกับเขาอย่างเท่าเทียมกัน” นายชัยนรินทร์กล่าว

เขากล่าวด้วยว่าหากมีเบาะแสการเสียชีวิตจริงๆ ก็จะมีการสืบเสาะหา ทั้งนี้เขาได้ตั้งข้อสังเกต 2 ข้อ ถึงการคลี่คลายสถานการณ์ของรัฐว่ามีความถูกต้องชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน “การเคลียร์” ของหน่วยงานความมั่นคงนั้นหมายถึงอะไร หากตรงนี้คือการไม่ให้คนชุมนุมอยู่บนพื้นที่ทางการเมืองตรงนี้เป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่ และมีการสร้างความรุนแรงทั้งทางรายการรวมทั้งจิตใจหรือไม่ ส่วนการใช้ทหาร ตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีครั้งใดที่จะเป็นไปตามระเบียบขั้นตอนสันติวิธี และตามคำกล่าวอ้างต่างๆ ของโฆษกไม่ว่าจะของรัฐบาลหรือกองทัพนั้นมีความเป็นจริงมากแค่ไหน

ทั้งนี้ ศูนย์รับเรื่องราวฯ จะตั้งโต๊ะรับเรื่องที่อนุสรณ์สถานตั้งแต่ 09.00-17.00 น ไม่เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ รวมทั้งสามารถแจ้งมาได้ทางเบอร์โทรศัพท์ 083-812-5659 หรืออีเมลล์ ontontmong@hotmail.com และคาดการณ์ว่าจะมีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าในการปฏิบัติงานทุกๆ 3 เดือน