ที่มา ประชาไท
ที่สำนักงานประชาไท น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท (prachatai.com) และนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท ร่วมกันแถลงข่าวความเสียหาย 258 วันของการพยายามปิดกั้นข่าวสารของเว็บประชาไท
จีรนุช กล่าวว่า ประชาไทถูกปิดกั้นโดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในวันที่ 8 เม.ย.หรือหลังรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 วัน หากไม่นับว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน มองในแง่มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเว็บจะพบว่าจนถึงวันยก เลิกพ.ร.ก.มีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท คำนวณตามการฟ้องร้องค่าเสียหาย (วันละ 20,000 บาท) ซึ่งประชาได้ยื่นฟ้องรัฐบาลและศอฉ.ไปแล้ว แต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องระบุว่าเป็นการปิดกั้นเว็บไซต์อำนาจของนายกฯ และรองนายกฯ ตามพ.ร.ก. ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ นอกจากนี้ยังเสียหายต่อชื่อเสียงและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในส่วนของ SMS ข่าวและการเปิดรับโฆษณาซึ่งทางเว็บเพิ่งเริ่มต้นโมเดลธุรกิจเหล่านี้เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองให้ยั่งยืน
จี รนุช ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ที่ผ่านมา ศอฉ.มีคำสั่งปิดกั้นเว็บต่างๆ ในลักษณะตามอำเภอใจ จากงานวิจัยของโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw.or.th) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ศึกษาพบว่า ศอฉ.มีคำสั่งถึงผู้ให้บริการอินเตอร์เพื่อปิดเว็บไซต์จำนวนหลายหมื่น URLs ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการปิดกั้นเนื้อหาที่นำเสนอรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง การสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็น “การปิดหูปิดตาประชาชน” และยังรวมไปถึงบางเว็บที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยอย่าง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว อยากฝากถึงทั้งรัฐบาลและผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตว่าควรยุติการปิดกั้นเว็บ ทั้งหมดตามคำสั่ง ศอฉ.โดยทันที เนื่องจากไม่มีอำนาจตามกกฎหมายใดรองรับ
ผู้ อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ยังกล่าวถึงข้อกังวลว่าแม้จะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่สื่อสารมวลชนและสังคมจะต้องตระหนักและร่วมกันเฝ้าตรวจสอบการแปลงโฉมจาก ศอฉ. มาเป็นศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ (ศอส.) โดยอาศัยการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความ มั่นคงฯ แสดงว่าอำนาจพิเศษตามกฎหมายซึ่งมีลักษณะพิเศษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพและ ความมั่นคงของพลเมืองยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ขอบเขตอำนาจของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯไม่ได้อำนาจในการปิดกั้นสื่อ
ชู วัส กล่าวว่า คำสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ไม่เพียงแต่ทำความเสียหายให้ประชาไท แต่ยังลิดรอนเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งยังทำลายพัฒนาการของสื่อสารมวลชนไทยด้วย การแถลงข่าวในวันนี้ประชาไทเป็นแค่หนูลองยาที่ออกมาพูด อยากให้เว็บไซต์ต่างๆ ที่โดนปิดกั้น ได้รับผลกระทบจากจากการสั่งปิดออกมา อย่างน้อยก็ทำให้สังคมรู้ว่าเสรีภาพที่เขาพรากไป 8 เดือนมันมีค่ามหาศาลขนาดไหน
บก.บห.เว็บ ไซต์ ประชาไทกล่าวว่า รัฐไทยควรสรุปบทเรียนได้แล้วว่า ประการแรก พรก.ฉุกเฉิน นอกจากทำความเสียหายแล้ว ไม่สามารถปิดกั้นสื่อได้เลย สื่อหลักคุณก็ไม่กล้าปิด สื่อใหม่ๆ ก็ปิดไม่ได้ โดยเทคโนโลยีมันไม่ยอมให้คุณปิด ประการที่สอง พ.ร.ก.ฉุกเฉินและการปิดกั้นของศอฉ. ทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยขยายตัว เนื่องจากข่าวสารจำนวนมากถูกซุกอยู่ใต้ดิน แม้ในแวดวงนักวิชาการเองน้อยคนที่จะสืบค้นข้อมูลอย่างจริงจังเพื่อการอ้าง อิง ถกเถียงกันทางวิชาการ ความจริงอีกด้านของคนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้ถูกนำมาพูดคุย เมื่อคนไม่ได้พูดมันก็สะสมเป็นความกดทับภายใน รอวันระเบิด
“ความ ขัดแย้งรุนแรงขึ้น และมีนัยยะสำคัญมาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยตรง พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นปัญหาของความมั่นคงและความสงบสุขของรัฐ และถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง” ชูวัสกล่าว
ทั้งนี้ ผอ.ประชาไทระบุว่า เว็บประชาไทเผชิญ กับการปิดกั้นโดยต่อเนื่อง ในการปิดกั้นทุกช่องทางทางเว็บข่าว เว็บบอร์ด ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ยูทิวป์ สำหรับเว็บไซต์ข่าวเปลี่ยนชื่อเวบไปทั้งหมด 8 ครั้ง เว็บบอร์ดเปลี่ยนชื่อ 3 ครั้ง ก่อนที่ประชาไทจะตัดสินใจปิดเวบบอร์ดไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ความพยายามปิดกั้นกระทำทั้งโดยการปิดกั้นชื่อเวบ, การปิดกั้น IP, การ ปิดกั้นที่เซิร์ฟเวอร์ เป็นเหตุให้ประชาไทต้องย้ายไปใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ การจดทะเบียนชื่อเว็บและอื่นๆเกือบทั้งหมดในต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันในการที่เว็บจะสามารถเข้าถึงได้ สำหรับยอดผู้เข้าชมนั้น หลังจากถูกปิดกั้นทำให้จำนวนผู้เข้าชมลดลงถึง 2 ใน 3 จากสถานการณ์ปกติ