ที่มา thaifreenews
โดย ภูชี้ฟ้า
ป.ป.ช.ลงมติยกคำร้องมาร์ค-กรณ์รวด ทั้งคดีเอสเอ็มเอส-ตั้งกษิตนั่งรมต.
วัน ที่ 23 ธ.ค. แหล่งข่าวจากป.ป.ช. เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.วันที่ 23 ธ.ค. คณะกรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่ มีมติยกคำร้องกรณีการกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชน โดยขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 3 ราย ส่งเอสเอ็มเอสให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และให้ประชาชนส่งข้อความกลับ คิดค่าบริการครั้งละ 3 บาท ทำให้บริษัทดังกล่าวมีรายได้จำนวนมาก
โดยคณะกรรมการป.ป.ช.เห็นว่า การที่นายกฯและนายกรณ์ขอความร่วมมือให้บริษัทมือถือ 3 แห่งส่งข้อความให้ประชาชน เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในนามภาครัฐ ไม่ใช่ทำในนามส่วนตัวหรือหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งเป็นการขอความร่วมมือเป็นการทำก่อนที่ได้รับการโปรดเกล้าเป็นนายก รัฐมนตรี และรมว.คลัง ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทเอกชนทั้ง 3 แห่ง ก็ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องจากการที่มีประชาชนส่งข้อความกลับมา จึงไม่เข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน นอกจากนี้ได้รับคำชี้แจงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่า การส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปให้ประชาชน ไม่ใช่การกระทำต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น จึงมีมติให้ยกคำร้อง
นอก จากนี้ สำหรับกรณีการกล่าวหานายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ เป็นรมว.ต่างประเทศ ทั้งที่เป็นตัวการสนับสนุนให้ยึดสนามบินนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ยกคำร้องเช่นกัน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:43 น.
******************************
ข้อกล่าวหา
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชน โดยขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 3 ราย ส่งเอสเอ็มเอสให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และให้ประชาชนส่งข้อความกลับ คิดค่าบริการครั้งละ 3 บาท ทำให้บริษัทดังกล่าวมีรายได้จำนวนมาก
ผลการพิจารณาของป.ป.ช.
ประเด็นที่ 1
..การ ที่นายกฯและนายกรณ์ขอความร่วมมือให้บริษัทมือถือ 3 แห่งส่งข้อความให้ประชาชน เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในนามภาครัฐ ไม่ใช่ทำในนามส่วนตัวหรือหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งเป็นการขอความร่วมมือเป็นการทำก่อนที่ได้รับการโปรดเกล้าเป็นนายก รัฐมนตรี และรมว.คลัง .
นี่ถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ขัดแย้งต่อข้อเท็จจริงและความเห็นที่ขัดแย้งของป.ป.ช.เอง นั่นคือ
1. ในวรรคแรก ป.ป.ช. พิจารณาว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์เป็นการกระทำในนามภาครัฐ ไม่ใช่เป็นการกระทำในนามส่วนตัวหรือหาประโยชน์จากการกระทำนั้น
2. แต่วรรคต่อมา ป.ป.ช. กลับพิจารณาว่า เป็นการกระทำในลักษณะขอความร่วมมือก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าเป็นนายกฯและรมว.คลัง
ตรง นี้ ป.ป.ช. พิจารณาด้วยหลักเกณฑ์แห่งข้อกฎหมายที่แท้จริงอันใดมิทราบ เพราะอ้างในตอนแรกว่าเป็นการกระทำในนามภาครัฐ แต่การพิจารณาลำดับต่อมากลับเป็นการกระทำก่อนที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ความขัดแย้งตรงนี้ป.ป.ช.ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า ตกลงในขณะนั้น นายอภิสิทธิ์และนายกรณ์เป็นเจ้าพนักงานรัฐหรือไม่อย่างไร
นั่นคือหากนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์เป็นเจ้าพนักงานรัฐก็จะถือได้ว่า ใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบได้หรือไม่
นั่น คือหากจะถือว่านายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ยังไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานรัฐ ป.ป.ช.ก็ต้องตอบให้ได้ว่าทั้งสองคนใช้อำนาจภาครัฐในฐานะอะไรในการขอความ ร่วมมือกับเอกชนในการนี้
นั่นคือหาก ป.ป.ช. พิจารณาแต่เพียงว่า เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนได้รับโปรดเกล้าเพียงประเด็นเดียว ความสงสัยที่เกิดขึ้นก็คงจะมีน้อยกว่านี้แน่นอน
ประเด็นที่ 2
..ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทเอกชนทั้ง 3 แห่ง ก็ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องจากการ
ที่มีประชาชนส่งข้อความกลับมา จึงไม่เข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน
ทำไม ป.ป.ช.จึงพิจารณาประเด็นนี้อย่างเสียไม่ได้ เพราะด้วยเจตนารมย์ในกฎหมาย ป.ป.ช.เองกำหนดไว้ด้วยเจตนาอย่างชัดเจนว่า การเอื้อประโยชน์หรือได้รับประโยชน์ใดๆ มิได้หมายถึงการที่รัฐได้รับการเสียภาษีอย่างถูกต้องจากบริษัทเอกชน หากแต่มีเจตนารมณ์ทางกฎหมายว่า การที่เอกชนมีรายได้หรือได้รับผลประโยชน์จากการเอื้อประโยชน์จากเจ้า พนักงานรัฐอย่างไรหรือไม่เท่านั้นเอง
ในประเด็นนี้ ในข้อเท็จจริงถือได้ว่า ป.ป.ช.ก็ยอมรับว่า เอกชนทั้ง 3 มีรายได้จากการนี้ ด้วยข้อความที่ว่า ...บริษัทเอกชนทั้ง 3 แห่ง ก็ได้เสียภาษีอย่างถูกต้อง...นั่นหมายถึงเอกชนมีรายได้จากการนี้และเอกชนได้เสียภาษีจากรายได้ในการนี้ครบถ้วนแล้ว
คำ ถามที่ ป.ป.ช.ต้องตอบให้ได้ว่า การเสียภาษีของเอกชนเกี่ยวข้องด้วยข้อกฎหมายใดที่จะยกประโยชน์แห่งความ สงสัยให้แก่นายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ว่า นี่มิใช่การกระทำที่ทำให้เอกชนทั้ง 3 ราย ได้รับประโยชน์จากการกระทำของทั้งสองคนในครั้งนี้
ประเด็นที่ 3
..นอก จากนี้ได้รับคำชี้แจงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่า การส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปให้ประชาชน ไม่ใช่การกระทำต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น จึงมีมติให้ยกคำร้อง..
ใน ความหมายนี้ ยืนยันได้อีกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเองก็ยอมรับ นายอภิสิทธิ์และนายกรณ์เป็นเจ้าพนักงานรัฐ เช่นเดียวกับการพิจารณาของป.ป.ช.ในวรรคแรก แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับข้อสงสัยที่ว่า คำชี้แจงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน นั้น มีศักดิ์และสิทธิ์ที่อยู่เหนือกฎหมายของ ป.ป.ช. ที่ว่าด้วยการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนใช่หรือไม่ นอกจากนี้ อะไรคือการกระทำที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ภาครัฐหรือเจ้าพนักงานรัฐหรือว่าที่เจ้าพนักงานรัฐที่ยังมิได้รับการโปรด เกล้า มีสิทธิที่จะทำการใดโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลหรือประชาชนโดยทั่วไปใช่ หรือไม่
หากจะเทียบเคียงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เซ็นชื่อในนามของเจ้าพนักงานรัฐ ให้คุณหญิงพจมานทำนิติกรรมทางที่ดินจากกองทุนฟื้นฟู กับการที่เอกชนทั้งสามรายมีรายได้จากการนี้ ก็เท่ากับว่า ลายเช็นต์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นด้อยค่าไปเสียสิ้น แต่ ป.ป.ช.กลับเล่นงานเสียจนศาลสั่งจำคุกพ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยเหตุเพียงแค่ปรากฏลายเซ็นต์ในฐานะเจ้าพนักงานรัฐที่ยินยอมให้คู่สมรส สามารถทำนิติกรรมต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการนั้นได้อย่างถูกต้องและ ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้หน่วยงานรัฐก็มีรายได้จากการประมูลครั้งนั้น ซึ่งผู้ประมูลได้เสียภาษีตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมแก่รัฐอย่างถูกต้องเช่น เดียวกันกับเอกชนทั้งสามรายในกรณีข้างต้น
แต่ทำไม ป.ป.ช.จึงเห็นต่างในประเด็นการใช้อำนาจรัฐที่เอื้อประโยชน์ฯราวฟ้ากับเหวได้ถึงเพียงนั้น
ส่วนประเด็นของนายกษิต นั้น หากตรงนี้ไม่มีมูล ต้องต้องบอกว่า สิ่งที่เห็นนั้นเป็นขี้
ป.ป.ช. ถือว่าตัวเองมาจากอำนาจแห่งรัฏฐาธิปัตย์หรืออย่างไร จึงได้ทำตัวโชว์โง่เช่นหน่วยงานอิสระอื่นๆ แบบนี้
ก็ไม่รู้ว่า ระหว่าง ป.ป.ช. กับ ผม ใครโง่กว่ากัน