ที่มา ประชาไท
ที่มา: http://ilaw.or.th/node/648
เมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2553 เวลาประมาณ 9.30 น. ตัวแทนเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางเข้าพบตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เทเวศน์ เพื่อยื่นหนังสือแสดงความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น
ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 บังคับใช้อยู่ ซึ่งกำหนดว่าในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ประชาชนเสียหาย ประชาชนสามารถฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐให้จ่ายค่าชดเชยได้ที่ศาลปกครอง แต่พบปัญหาการบังคับคดีในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้รัฐได้รับความเสีย หายเพราะศาลปกครองยังไม่มีระบบบังคับคดีที่ชัดเจน และปัญหาในทางเทคนิคอื่นๆ อีกหลายประการ คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงดำเนินการร่างกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ขึ้นมาใหม่ โดยประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองคือร่างฉบับใหม่กำหนดให้การพิจารณาคดีเป็น อำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลแพ่งแทนที่อำนาจศาลปกครอง ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
เครือ ข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนจึงได้ทำความ เห็นคัดค้านยื่นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนอำนาจพิจารณาคดีให้เป็นของศาลยุติธรรม เพราะกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องทางปกครอง ไม่ใช่เรื่องทางแพ่ง การกำหนดเช่นนี้อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก่อให้เกิดความสับสน ทั้งยังทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้ยากลำบากขึ้น
นางสาวพูน สุข พูนสุขเจริญ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชาการเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การโอนอำนาจในการพิจารณาคดีจากศาลปกครองไปยังศาลยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหาจะ ทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้ยากลำบากมาก เนื่องจากคู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ความสามารถในการหยิบยกประเด็นขึ้นมาต่อสู้และโอกาสในการเข้าถึงพยาน หลักฐานน้อยลง ขณะที่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองเป็นระบบไต่สวนเปิดโอกาสให้ศาลสามารถ แสวงหาข้อเท็จจริงได้กว้างขวางกว่า หากถูกโอนไปยังศาลยุติธรรมจริงจะทำให้หลายคดีไม่สามารถเรียกร้องความเป็น ธรรมได้
นางสาวพูนสุข ยังกล่าวอีกว่า หน่วยงานรัฐมีปัญหาในการเรียกชำระเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำความผิด แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยโอนคดีมายังศาลยุติธรมเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูก จุดและจะทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการยุติธรรมมากยิ่งขึ้น
นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมารับหนังสือ พร้อมแสดงความเห็นว่า ประเด็นนี้มีเสียงคัดค้านมาจากหลายฝ่าย ขณะนี้อยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการร่างกฎหมายจะรวบรวมและนำไปพิจารณาอีกครั้งในเดือนมกราคมปี หน้า (2554)