ที่มา ข่าวสด
รายงานพิเศษ
นโยบาย ประชาวิวัฒน์ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ปล่อยออกมาเป็นชุดๆ นับตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์รอดพ้นจากคดียุบพรรค และเดินหน้าเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวาง ไม่แต่เฉพาะฝ่ายค้าน ว่าลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยมสมัยรัฐบาลทักษิณ เผลอๆ อาจจะหนักยิ่งกว่าตัวต้นตำรับเสียอีก
ทั้งที่เมื่อครั้งประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านเคยโจมตีนโยบายนี้อย่างเสียๆ หายๆ
อีกทั้งในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ชื่อว่ามีความเข้มงวด ละเอียดรอบคอบในเรื่องการจัดสรรงบประมาณการใช้เงิน
แต่ครั้งนี้กลับมุ่งหวังแต่คะแนนเสียงระยะสั้น ที่ทำ ง่ายได้คะแนนเสียงเร็ว จึงสุ่มเสี่ยงต่อการขาดวินัยการใช้เงินได้
นัก วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ติดตามนโยบาย 'แจกแหลก' มาตั้งแต่ต้น ฝากคำเตือนไปถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่กำลังเดินตามรอยรัฐบาลไทยรักไทย ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและกลยุทธ์ธุรกิจ
จากการวิเคราะห์ของผม นโยบายประชาวิวัฒน์มีทั้งผลดีและผลเสีย
ผลดีจะเห็นได้ว่าโครงสร้างของประเทศไทยเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ โดยเฉพาะชนชั้นล่าง มีช่องว่างระหว่างชนชั้นบนถึง 12 เท่า
นโยบายตรงนี้อาจช่วยบรรเทาได้เท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหา เป็นเพียงทำให้คนชั้นล่างลำบากน้อยลง ก็เท่านั้นเอง
แต่ในแง่ที่ต้องระวัง คือการดำเนินการนโยบายในลักษณะเช่นนี้ จะกระทบต่อระบบเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากระยะกลางไปจนถึงระยะยาว
ต้องยอมรับว่าแนวโน้มขณะนี้จนถึงแนวโน้มข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์แน่นอน
เท่า ที่ดูจากรายจ่ายของรัฐบาล หดเหลือเพียง 16-35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น งบตรงนี้จะต่อเนื่องไปถึงงบที่ต้องไปใช้ในการลงทุน ถามว่ารัฐบาลจะนำเงินจากส่วนไหน
ผาสุก พงษ์ไพจิตร
การที่รัฐบาลบอกว่าภายใน 5 ปีจะหาเงินมาเพิ่มตรงนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล ผมไม่เชื่อ เพราะรัฐบาลไม่ใช่เทวดาและไม่มีทางทำได้
ถ้ารัฐบาลจะทำ ต้องกล้าตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะการเพิ่มฐานภาษีมรดกและภาษีที่ดิน ถามว่ารัฐบาลกล้าทำตรงนี้หรือไม่
ที่ผ่านมารัฐบาลบอกจะทำ แต่ยังไม่มีความชัดเจน หรือถ้าทำแล้วมีขอบเขตแค่ไหน หรือถ้าคิดแล้วที่จะทำก็ไม่ควรผลักภาระไปยังรัฐบาลชุดใหม่
ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าการออกนโยบายเช่นนี้เป็นการหาเสียงตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ทางที่ดีรัฐบาลควรแก้ปัญหาในระยะยาวดีกว่า โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการจัดการ เพิ่มศักยภาพในการผลิต รวมถึงการแข่งขันในตลาดโลก
ที่สำคัญการจัดการ การเบิกจ่าย เงินตรงนี้ต้องโปร่งใส อย่าให้รั่วไหล โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีส่วนสัมพันธ์กับงบประมาณ
เพราะถ้าทำได้จะเป็นสิ่งที่ถาวร
สิ่ง ที่ควรปรับปรุงที่เห็นชัดสุด คือมาตรการ การใช้รถเมล์ฟรี ควรกำหนดเป็นระยะยาวไปเลยว่าผู้สูงอายุ และเด็กที่เรียนหนังสือ ควรใช้รถเมล์ฟรีไปเลย เพราะบางคนเขาก็ไม่จำเป็นที่จะใช้
ไม่ใช่นำนโยบายนี้มามอมเมาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
ฝากถึงรัฐบาลว่าการใช้นโยบายประชาวิวัฒน์ มันก็เหมือนกับประชานิยม แค่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น
รัฐบาลไม่ต้องอายว่าไปลอกเขามา การเปลี่ยนชื่อมันไม่สำคัญ ถ้าเจตนาดีต้องการให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ
ที่ สำคัญการใช้ประชานิยมที่ว่านี้ รัฐบาลควรใช้อย่างมีขอบเขต เพราะถ้าใช้พร่ำเพรื่อ ชนิดหว่านไป อาจมองได้ว่าเป็นเพียงยาเสพติด มอมเมาชั่วคราว
ควรทำแบบต่อยอด ให้ประชาชนคิดเอง ทำเอง สร้างงาน
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะยาว
ผาสุก พงษ์ไพจิตร
ประธานศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
รัฐบาลผลักดันนโยบายประชาวิวัฒน์ออกมามากในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องทางการเมืองที่เตรียมพร้อมจะมีการเลือกตั้ง
พรรครัฐบาลอาจไม่แน่ใจว่าเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ จะได้รับเลือกกลับมาอีก จึงต้องพยายามหาคะแนนนิยม
ไม่คิดว่านโยบายประชานิยมแบบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือประชาวิวัฒน์แบบประชาธิปัตย์ จะเสียหายอะไร หากเป็นนโยบายที่ดี
แต่ประเด็นอยู่ที่จะทำได้จริงหรือไม่ และคิดถึงมาตรการที่จะจัดหาค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบหรือไม่
การ ช่วยเหลือกิจการนอกระบบ เช่น หาบเร่ แผงลอย มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นที่รู้กันว่ามีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเก็บค่าหัวคิว และผู้มีอิทธิพลเหล่านี้มักจะโยงอยู่กับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ทั้งที่มีตำแหน่งอยู่และที่เกษียณไปแล้ว
รัฐบาลจะแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ได้จริงหรือเปล่า
มาตรการ ช่วยเหลือต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีเงิน มันต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น การเสนอนโยบายจึงต้องเสนอมาตรการที่จะหาเงินมาใช้สำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ด้วย
เช่น มาตรการปฏิรูประบบภาษี มาตรการหารายได้ของรัฐบาล ถ้าจะให้ธนาคารของภาครัฐเป็นคนให้ไฟแนนซ์อาจมีปัญหาทีหลังในแง่ของหนี้สาธารณะ
ขณะ นี้ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลมีแนวทางเรื่องนี้อย่างไร แต่เท่าที่ดูยังไม่เห็นว่ามีมาตรการเรื่องปฏิรูประบบภาษี หรือการหารายได้ที่ชัดเจน
จึงเป็นเพียงราคาคุยมากกว่าของจริง
ตอนนี้มีข้อเสนอมากมายเพื่อดึงดูดผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง แต่ความเป็นไปได้ต้องดูกันต่อไป
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนอยากเห็นรัฐบาลนึกถึงภาระการใช้จ่ายและควรมีมาตรการปฏิรูประบบภาษีเพื่อจัดหารายได้ด้วย
ส่วนที่ว่าการใช้เงินจำนวนมากในขณะนี้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่นั้น
ต้องดูว่าถ้าเป็นการใช้เงินเพื่อสร้างผลผลิต สร้างงาน ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องมีมาตรการบ่งชี้ด้วยว่ามีความเป็นไปได้สูงแค่ไหน
เช่น เรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น ดิฉันเห็นด้วยกับมาตรการนี้เพราะผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ค่าจ้างจริงของเขาไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มฉุดตัวสูงขึ้น
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในระดับใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อจึงเป็นสิ่งสมควรกระทำ
แต่ ทั้งนี้ การปรับขึ้นเงินเดือน ส.ว. ส.ส. อีก 14-17 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปรับขึ้นให้ผู้ใช้แรงงานในอัตราที่ต่ำกว่า คือ 6 เปอร์เซ็นต�กว่าๆ ชี้ให้เห็นถึงความลักลั่นของนโยบาย
สิ่งที่รัฐบาลต้องระวังมากที่สุดในการทำนโยบายประชาวิวัฒน์
คือ อย่าทำให้ประชาชนผิดหวัง เมื่อพูดออกมาแล้วต้องทำให้ได้และให้ประสบความสำเร็จ และต้องมีมาตรการไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะสูงเกินไปจนภาคธุรกิจรับไม่ได้
อาจ ต้องมีการปฏิรูปภาษีหรือประหยัดในส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น งบประมาณของกองทัพ ซึ่งขณะนี้สูงถึง 9 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมด ทั้งที่ในอดีตอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
รัฐบาลต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นเรื่องสมควรหรือไม่
ส่วน การจัดเก็บภาษีของเรา ขณะนี้เก็บได้ 17 เปอร์ เซ็นต์ของจีดีพี ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศที่ฐานะพอๆ กับเรา เช่น ตุรกี บราซิล แอฟริกาใต้ เขาเก็บได้ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูว่าทำไมถึงเก็บภาษีได้เพียงเท่านี้
นอกจากนี้ เรื่องภาษีสุราก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้มากกว่านี้
แต่เรายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น