ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
สถาบัน พระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงรายงานผลการวิจัยหัวข้อ "มองอดีต แลอนาคต วัดระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจกับบริการของรัฐ พ.ศ. 2546-2553"
โดย น.ส.ถวิลวดี บุรีกุล ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้นำเสนอ
งานวิจัยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปีཪ-53 แต่ละปีจะเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันไป ใช้กลุ่มตัวอย่างปีละประมาณ 3 หมื่นคน
แบ่ง ช่วงรัฐบาลเป็นปีཪ-49 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, ปี รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, ปี รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และปี-53 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จากการสำรวจ ความพึงพอใจต่อนโยบาย สำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการและการเมือง ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ร้อยละ 91.4 พอใจการปฏิรูประบบราชการ
โดย เฉพาะการปราบปรามการ ทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงดังกล่าว ประชาชนพอใจมากที่สุดในปีཫ ถึงร้อยละ 82.6 แต่หลังจากนั้นเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ จนช่วงปี เหลือเพียงร้อยละ 67.1
นโยบาย ทางเศรษฐกิจ ประชาชนพึงพอใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโครงการกองทุนหมู่บ้าน แม้ปี พึงพอใจต่ำสุด แต่ก็มากถึงร้อยละ 84.8 ขณะที่นโยบายแก้จนกลับได้รับความพอใจน้อยลงเป็นลำดับ จนปี เหลือเพียงร้อยละ 57.6
นโยบายสุขภาพของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นโยบายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับความนิยมมาก เกือบร้อยละ 90 ของทุกปี
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ได้รับความนิยมในปีཫ ถึงร้อยละ 87.7 แต่ในปีཬ หลังกลุ่มพันธมิตรเคลื่อนไหว ความพึงพอใจเหลือร้อยละ 43.9 กระทั่งปี ระดับความพอใจเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 87.3
ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ประชาชนพอใจนโยบายหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุถึงร้อยละ 89.7 ตามมาด้วยโครงการเรียนฟรี 15 ปี ร้อยละ 87.2
นโยบายสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีในชาติ พึงพอใจร้อยละ 60.5 แต่น้อยที่สุดคือนโยบายการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 55.2
สำหรับ ความเชื่อมั่นต่อตัวนายกฯ รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณในช่วงปีཫ ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดถึงร้อยละ 92.9 ขณะที่รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ ได้ร้อยละ 45.2
ปี ช่วงรัฐบาลนายสมัครและนายสมชาย ได้ต่ำสุดคือร้อยละ 37.6 ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปีཱ ได้ร้อยละ 61.6
ความ เชื่อมั่นต่อสถาบันพรรคการเมือง ช่วงปี ประชาชนให้ความเชื่อมั่นน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 26.1 ปัจจุบันความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 36.9
ความเชื่อมั่นต่อสมาชิก รัฐสภา ช่วงปีཬ ส.ส.ได้รับความเชื่อมั่นมากกว่าส.ว. แต่ตั้งแต่ปี ความเชื่อมั่นต่อส.ว.เริ่มกลับมามากกว่าส.ส. ปัจจุบันความเชื่อมั่นส.ว.อยู่ที่ร้อยละ 46.4 ขณะที่ส.ส.ร้อยละ 43.9
ความ เชื่อมั่นต่อผู้ว่าฯ ช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 79.5 แต่หลังจากนั้นเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ จนต่ำสุดในช่วงปี ร้อยละ 55.8 ก่อนจะเพิ่มขึ้นในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ จนปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 64.5
ความ เชื่อมั่นในตัวข้าราชการขึ้นลงตามตัวนายกฯ และปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 44.9 แต่ความเชื่อในตัวเจ้าหน้าที่ศุลกากรอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
ความ เชื่อมั่นต่อทหาร ปีཫ-48 รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ทหารได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดถึงร้อยละ 84.8 ปี หลังรัฐประหาร ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 61.8 แต่หลังจากนั้นเพิ่มขึ้น จนปี ได้ร้อยละ 76.3 ก่อนลดลงอีกครั้งในปีཱ เหลือร้อยละ 67.8
ขณะที่ตำรวจได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดในปีཬ ร้อยละ 69.2 จากนั้นลดลงเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันได้ร้อยละ 54.9
ความเชื่อมั่นต่อเอ็นจีโอ ปีཫ เชื่อมั่นสูงสุดถึงร้อยละ 68.4 แต่หลังจากนั้นลดลงตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 25.1
สำหรับความเชื่อมั่นต่อศาล ไม่ว่าศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ความเชื่อมั่นของทั้ง 3 ศาลก็ค่อยๆ ลดลงเช่นกัน
ปีཫ เป็นช่วงที่ทุกศาลได้รับความเชื่อมั่นสูงสุด โดยศาลยุติธรรมได้ร้อยละ 86.7 ศาลรัฐธรรมนูญได้ร้อยละ 84.9 และศาลปกครองได้ร้อยละ 83.1
แต่ หลัง จากนั้นความน่าเชื่อมั่นลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญได้รับความเชื่อมั่นน้อยที่สุดใน 3 ศาล คือร้อยละ 65.1 ขณะที่ศาลยุติธรรมได้รับความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 71.3 และศาลปกครองอยู่ที่ร้อยละ 67.3
ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของสื่อ เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ เริ่มลดลงเรื่อยๆ โดยสื่อที่ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุด คือโทรทัศน์ ร้อยละ 66.4 ส่วนสื่อที่ได้รับความเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ วิทยุชุมชน ร้อยละ 40.3
ความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรด้านการตรวจสอบ กกต.ได้รับสูงสุดในปีཬ ร้อยละ 69.9 จากนั้นลดต่ำลงเรื่อยๆ ก่อนขยับขึ้นมาในปี และปัจจุบันได้รับความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 56
ขณะที่ป.ป.ช.ได้รับความเชื่อมั่นมากสุดในปีཫ ร้อยละ 77.2 ก่อนลดระดับความน่าเชื่อถือลงเรื่อยๆ และปัจจุบันความน่าเชื่อถืออยู่ที่ร้อยละ 52.1
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ความเชื่อมั่นสูงสุดอยู่ที่ปีཫ ร้อยละ 77.5 จากนั้นเริ่มลดลงจนปัจจุบันเหลือร้อยละ 46.8
ขณะที่ความเชื่อมั่นในองค์กรด้านการตรวจสอบและในคำปรึกษา มีเพียงผู้ตรวจการแผ่นดินเท่านั้นที่ปัจจุบันมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ เกินกึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 51.7
ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับความเชื่อถือเพียงร้อยละ 41.8 และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับความเชื่อถือน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 38.8
ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และถนน ล้วนอยู่ในระดับที่เกินร้อยละ 70 ทั้งสิ้น
สำหรับเรื่องคอร์รัปชั่นในรัฐบาล ทุกปีจะมี ประชาชนไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่นเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดคือ ร้อยละ 46-52 ส่วนที่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลมีสัดส่วนที่ไม่มากนัก
โดยมีผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดในปีཬ ร้อยละ 3.9 และน้อยที่สุดในปีཱ ร้อยละ 1.8
นอกจากนี้ประชาชนยังเห็นว่า เรื่องการคอร์รัปชั่นและรับสินบนในการปกครองระดับประเทศมีมากกว่าการปกครอง ในระดับปกครองท้องถิ่น โดยปัจจุบันเห็นว่ามีการคอร์รัปชั่นระดับประเทศร้อยละ 27.9 และระดับท้องถิ่นร้อยละ 16.6
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี ช่วงรัฐบาลพล.อ. สุรยุทธ์ ประชาชนเห็นว่ามีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด โดยเป็นการคอร์รัปชั่นรับสินบนระดับประเทศร้อยละ 32.1 ระดับท้องถิ่นร้อยละ 22.5