ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
8 มกราคม 2554
สินค้าเผด็จการ-ลังมาม่าที่ผู้บริหารเครือสหพัฒน์ส่งไปบำรุงพันธมิตรในช่วงยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
8 ธันวาคม 2553 คิกออฟคว่ำบาตรมาม่า-เครือข่ายผู้บริโภคสีแดง ได้ประกาศเริ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อองค์กรธุรกิจที่ให้การสนับสนุนระบอบปกครองเผด็จการอำมาตย์ และได้รับการเกื้อหนุนจากฝ่ายเผด็จการ โดยประกาศเริ่มต้นคว่ำบาตรเศรษฐกิจต่อสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ของบริษัท ไทยเพรสซิเด้นต์ฟู้ดส์ ในเครือสหพัฒนพิบูล ของตระกูลโชควัฒนา ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของประเทศ
9 ธันวาคม 2553 มั่นใจเกิน 20 ล้านคนร่วมคว่ำบาตร-โดยเครือข่ายผู้บริโภคสีแดงกำหนดเวลาการคว่ำบาตร ไม่ซื้อ ไม่บริโภคเป็นเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ถึง 8 มกราคม 2554 โดยตั้งเป้าหมายเชิญชวนให้ผู้ที่เคยสนับสนุนพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล และถูกระบอบอำมาตย์กับกลุ่มทุนบริวารโค่นล้ม ไม่น้อยกว่า 20 ล้านคนทั่วประเทศเข้าร่วมการรณรงค์ครั้งนี้
13 ธันวาคม 2553 มาม่าเอะใจทำไมส่วนแบ่งการตลาดวูบ10%-ช่วงเดียวกันนี้มีการศึกษาวิจัยหัวข้อเรื่อง "เหตุใด ส่วนแบ่งทางการตลาดของมาม่าจึงมีสัดส่วนที่ลดลง" ทั้งนี้กลุ่มผู้ทำการศึกษาวิจัยได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลlearners ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า ส่วนแบ่งการตลาดของมาม่าที่เคยสูงถึงง 60%ในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ลดวูบลงมาเหลือราว 50%ในปัจจุบัน
รายงานระบุว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของ “มาม่า” ลดลงอย่างต่อเนื่อง และค่อนข้างคงที่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ”มาม่า” จึงต้องทำการวิจัยศึกษาว่า เพราะเหตุใด “มาม่า”จึงมีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง และจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร เพื่อให้ตนเองนั้นได้กลับมามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมได้
15 ธันวาคม 2553 ผู้บริหารมาม่าไหวตัวโดนรุมต้าน กระจายข่าวบิ๊กบริษัท-นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายส่งออกของมาม่า และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพรสซิเด้นท์อินเตอร์ฟู้ด บริษัทในเครือของมาม่า ได้แจ้งต่อผู้ถือหุ้รายย่อยของบริษัทที่ร้องเรียนไปยังบริษัทมาม่าให้ชี้แจง หลังถูกบอยคอตว่า ขอขอบคุณที่ผู้ถือหุ้นไทยเพรสซิเดนท์ฟู้ดส์แจ้งข่าวการบอยคอตคว่ำบาตรมา ดิฉันจะส่งต่อ Link ข่าว ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
18 ธันวาคม 2553 ผู้บริหารกราดใส่คนบอยคอตไร้การศึกษา-มีรายงานว่า บิ๊กของบริษัทระดับการศึกษาสูงได้แสดงปฏิกริยาในทางลบหลังจากได้รับหนังสือเวียนจากนางสาวพจนา โดยระบุว่า
"ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลที่แจ้งมา
ฉันคิดว่า คุณคงทราบดี อะไรจริงไม่จริง ฉันไม่ได้สนใจหรอกว่า จะถูกประชาชนบอยคอตหากว่ามันมีเหตุผลที่ถูกต้อง หากกล่าวอย่างเกือบที่สุดแล้วก็คือว่า บริษัทของเรามีเอกลักษณ์ที่เป็นของตัวเอง หากเพียงเพราะว่ามาม่าเป็นส่วนหนึ่งของเครือสหพัฒนพิบูล แล้วพาเราไปสู่ความยุ่งยาก เราก็จะไม่ออกไปข้างนอกเพื่อแก้ไขความเข้าใจที่ผิดๆนี้
ฉันหวังว่า ผู้ที่มีการศึกษาจะสามารถทำในสิ่งที่ดีที่สุด และเลือกในสิ่งที่เป็นทางเลือกดีที่สุด"
ซึ่งได้สร้างปฏิกริยาต่อต้านให้ขยายวงออกไป เนื่องจากผู้บริโภคมาม่าส่วนใหญ่ไม่ได้มีดีกรีการศึกษาสูงระดับด๊อกเตอร์ แต่เป็นคนจน เกษตรกร แรงงาน นักศึกษา และผู้มีรายได้น้อย เป็นส่วนใหญ่
20 ธันวาคม 2553 สามนักวิชาการสาวชี้คว่ำบาตรมาม่าเทียบเคียงคานธีบอยคอตอังกฤษ-3 นักวิชาการสาว ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์หวาน) ,รศ.ดร.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อาจารย์ตุ้ม) และ ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อาจารย์จา)ดำเนินรายการที่นี่ความจริง ทางโทรทัศน์ Asia Update-DNN กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในแคมเปญการรณรงค์คว่ำบาตรมาม่า-สินค้ากลุ่มทุนที่สนับสนุนเผด็จการ
ทั้งนี้นักวิชาการทั้งสามชี้ว่า หากใครเห็นว่าเรื่องนี้ตลก หรือคงไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ขอให้ลองย้อนมองไปถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญกรณีหนึ่ง คือกรณีที่ มหาตมะ คานธี เคยรณรงค์ในด้านเศรษฐกิจเพื่อเรียกร้องเอกราชอินเดียจากอังกฤษ
โดยมหาตมะ คานธี ใช้การดื้อแพ่งนำพาชาวอินเดียผลิตเกลือบริโภคเอง แม้อังกฤษจะมีกฎหมายบังคับให้ซื้อเกลือจากอังกฤษเท่านั้น และเป็นกรณีสำคัญที่นำไปสู่เอกราชของอินเดียในที่สุด