ที่มา Thai E-News
หยุดยิง-พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่2ของไทย(ซ้าย)กับพลเอกเจียมอน แม่ทัพภาค4ของกัมพูชา(ขวา)นั่งโต๊ะเจรจาที่เมืองอัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย และได้ข้อตกลงหยุดยิง หลังเกิดข้อพิพาทสู้รบกันในวันก่อนนี้ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย(ภาพข่าว:ซินหัว)
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 กุมภาพันธ์ 2554
เมื่อเวลาราว 20.45 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองขวาจัดราชาชาตินิยม ได้ออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชา และได้กล่าวโจมตีว่ารัฐบาลคอรัปชั่นหลายเรื่อง รวมทั้งผิดสัญญากับพันธมิตรหลายเรื่อง ไม่รับฟังความเห็นของพันธมิตร จึงไม่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกฯต่อไป ขอให้ลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะ และเปิดทางให้คนดีมีคุณธรรมปกป้องแผ่นดินมาทำหน้าที่รัฐบาลแทน
ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจในการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติ มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในชาติให้หมดสิ้น มีวุฒิภาวะและมีความเป็นผู้นำที่ ซื่อสัตย์ต่อชาติ ต่อประชาชนไม่โกหกหลอกลวงประชาชน มีคุณธรรม ศีลธรรม เข้ามาบริหารชาติบ้านเมืองต่อไป
กระหายสงครามVSเหยื่อสงคราม-พันธมิตรชุมนุมยืนคำขาดให้นายอภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางคนดีมีคุณธรรมปกป้องชายแดนมาเป็นรัฐบาลแทน เหตุไม่พอใจหลายเรื่อง ขณะที่ชาวบ้านแนวชายแดนไทย-กัมพูชาพากันอพยพลี้ภัยมาอยู่ในที่พักพิงฉุกเฉินด้วยความยากลำบาก(ภาพ:AP)
ชาญวิทย์นำนักวิชาการออกแถลงการณ์เรียกร้องยุตินำข้อพิพาทแสวงผลประโยชน์ทางการเมือง
นักวิชาการในนาม"สันติประชาธรรม"นำโดยดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีธรรมศาสตร์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร นักวิชาการ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์ลงนามในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เกี่ยวกับข้อพิพาทไทย-กัมพูชา โดยมีเนื้อหารายละเอียดดังต่อไปนี้
จากสถานการณ์การสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจังหวัดศรีสะเกษ บริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง จนก่อให้เกิดความสูญเสียทางทหารและพลเรือนตามแนวชายแดนของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมานั้น
ทางกลุ่มสันติประชาธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มคณาจารย์ นักวิชาการ และบุคคลทั่วไป ผู้มีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติและสันติสุขของภูมิภาคอุษาคเนย์และอาเซียน ใคร่ขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของทั้งสองฝ่าย
2. ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน
3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆตามแนวชายแดน
4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543
5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้
(แถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษ)
The Santi-prachatham Announcement on Peace not War between Thailand and Cambodia
5 February 2011
The Santi-prachatham group, consisting of professors, academics, and members of the public, who have a strong commitment to democracy and peace for Southeast Asia and the ASEAN Community, urgently request all parties involved to bear in mind the following considerations.
1. We urge the armed forces on both sides immediately to exercise patience and restraint, to preserve the lives and property of the people and the armed forces on both sides.
2. We urge the mutual withdrawal of armed forces from disputed areas as quickly as possible, in order to diminish tension and confrontations between those responsible for both countries' border security.
3. We urge both sides to cease the movement of armed forces into other areas under dispute, in order to prevent the spread of clashes elsewhere along the border.
4. We urge that the border disputes, especially those related to the Preah Vihear and its surroundings, be solved by bilateral negotiations, through the Joint Boundary Commission set up by the terms of the MOU of June 14, 2000.
5. We urge all sides to stand firm on the principle of ahimsa: non-violence, and to stop using the border problem for domestic and international political purposes, since this path will increasingly lead to a war that will be difficult to bring to an end.