WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 6, 2011

อียิปต์-ตัวอย่างลบ? โดย กาหลิบ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เรียบเรียงโดย Nangfa




คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง อียิปต์-ตัวอย่างลบ?

โดย กาหลิบ

ลุ้นระทึกกันจนถึงนาทีนี้ว่า
การลุกขึ้นสู้ในอียิปต์จะลงเอยด้วยชัยชนะอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายประชาชนหรือไม่
หรือฝ่ายศักดินา-อำมาตย์อียิปต์ที่กุมอำนาจสูงสุดมาตั้งแต่ได้รับเอกราช
จะยังครองอำนาจอันล้นพ้นต่อไปด้วยรูปแบบเดิม
หรือรูปแบบใหม่ที่ดูเสมือนว่าเป็นประชาธิปไตยกว่า


เราในฝ่ายประชาธิปไตยได้รับกำลังใจจาก “ชัยชนะ” ในตูนิเซียเพียงสองสัปดาห์ก่อน
คำถามในวันนี้คือเราจะยังคงกำลังใจเอาไว้ได้ไหมในกรณีอียิปต์
หรืออย่างน้อยเราจะได้รับบทเรียนอย่างไรจากการชุมนุมประท้วง
ทั้งที่กรุงไคโรและนครอเล็กซานเดรีย


อาจเร็วเกินไปที่จะพูดว่าฝ่ายประชาชนจะไม่ “ชนะ” ในอียิปต์
แต่ชนะหรือแพ้ หรือชนะในรูปแบบและพ่ายแพ้ในเนื้อหาสาระก็ตาม
เราสามารถนำกรณีนี้มาศึกษาเพื่อเทียบเคียงกับการรณรงค์ในเมืองไทยได้ในหลายแง่มุม
เพื่อให้เกิดประโยชน์ในฐานะพลโลก

ขณะนี้ฝ่ายประชาชนก็ยังไม่ยอมลดราวาศอก
การประท้วงถึงจะแผ่วลงแต่ก็ยังดำเนินต่อไป
แต่น้ำหนักในการประท้วง (momentum) อย่างที่เราเห็นในวันแรกๆ
และได้เห็นก่อนหน้านั้นที่ตูนิเซีย จนประธานาธิบดีเบนอาลีกับอำนาจ
๒๓ ปีต้องล่มสลายลง รู้สึกว่าจะลดลงมาก

ผู้สังเกตการณ์บางคนอาจโทษว่าผู้กุมอำนาจรัฐร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมอียิปต์
(ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างจากกลุ่มนวพล กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน อภิรักษ์จักรี ฯลฯ ในเมืองไทย) คือ
เหตุสำคัญที่ทำให้มวลชนต้องล่าถอยและลดพลังลง
บางคนกำลังกล่าวหาสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลโอบาม่าว่า
หวงแหนผลประโยชน์ร่วมกันกับรัฐบาลประธานาธิบดีมูบารัคของอียิปต์
จนไม่ยอมแทรกแซงในเวลาอันควร
จนฝ่ายศักดินา-อำมาตย์ของอียิปต์โงหัวขึ้นมาต่อกรกับประชาชนได้อีก
และบางคนกำลังมองไปที่ความอ่อนแอขององค์กรที่กำลังรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยที่ไร้เดียงสา
และตกหลุมพรางของฝ่ายรัฐที่ช่ำชองกว่าในเกมช่วงชิงอำนาจ

แต่เมื่อมองทะลุแล้วจะพบว่า
ความ (ที่ยัง) ไม่สำเร็จของฝ่ายประชาธิปไตยในอียิปต์
เกิดขึ้นจากการเสียจังหวะในการช่วงชิงอำนาจรัฐนั่นเอง

ตูนิเซียลุกฮือในลักษณะเดียวกับอียิปต์เกือบทุกอย่าง
แต่การลุกฮือนั้นมีลักษณะฉับพลัน (sudden)
ไม่รีรอแบบรุกไปข้างหน้าแล้วกลับถอยไปข้างหลังเหมือนกรณีอียิปต์
เวลาที่ใช้ในตูนิเซียจึงสั้นกว่า
และสุดท้ายก็เกิดผลอย่างเดียวกับการรักษาโรคด้วยการช็อค (shock therapy)

นั่นคือไม่ปล่อยให้ใครหรืออะไรได้ตั้งตัวทัน

ในขณะที่ประธานาธิบดีเบนอาลีของตูนิเซียประกาศปลดนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
ฝูงชนก็รุกคืบไปข้างหน้า และไม่หยุดประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้นกับผู้มีอำนาจรัฐ
จนโค่นประมุขของระบอบลงได้
แต่กรณีอียิปต์ มวลชนกลับถูกชี้นำให้หยุดเคลื่อนและรอคอยผล
ในขณะที่ประธานาธิบดีมูบารัคฉวยเอาจังหวะนั้น
ประกาศตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
แม้ขณะที่ออกข่าวว่าตัวมูบารัคจะออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์
ผู้คนก็บอกกันต่อๆ ให้หยุดนิ่งและคอยฟัง เพราะเชื่อว่า
จะเป็นคำแถลงลาออกจากตำแหน่งของผู้เป็นประธานาธิบดี
หรือไม่ก็ประกาศเดินทางออกนอกประเทศอย่างผู้แพ้


สุดท้ายการประท้วงก็ต้องมาตั้งต้นใหม่และลดพลังลงตามธรรมชาติ
จนนาทีนี้ยังไม่รู้ว่าจะผลักดันให้ระบอบศักดินา-อำมาตย์ของอียิปต์
ภายใต้มูบารัคพ้นจากอำนาจอันล้นพ้นได้หรือไม่


กลับมามองที่เมืองไทย เราเคยผ่านประสบการณ์คุ้นหูแบบนี้บ้างไหม

เมื่อมีผู้ประกาศ “ดีเดย์” หรือวันเผด็จศึก ในวันที่ ๘ เมษายน ของปี พ.ศ.๒๕๕๒
จนผู้คนหลั่งไหลมาชุมนุมหลายแสนคน
ปรากฏว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นพิเศษให้สมกับพลัง
ไม่มีการลุกฮือ
ไม่มีการเข้าช่วงชิงอำนาจรัฐใดๆ คืนอันเป็นประวัติศาสตร์นั้น
ก็จบลงอย่างเงื่องหงอยท่ามกลางความเจ็บปวดทางใจของคนเป็นจำนวนมาก


ยังจำได้ไหม

เมื่อมวลชนเสื้อแดงกรีธาทัพแสดงพลังไปทั่วกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันเสาร์หนึ่ง คนเข้าร่วมหลายแสนคน จนหัวใจสีแดงเต็มไปด้วยความปลื้มปีติ
สุดท้ายก็เดินเป็นวงกลมกลับไปสู่ที่เก่า
และร้องรำทำเพลงกันต่อไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นในเชิงอำนาจรัฐ

ยังจำได้ไหม

เมื่อคนไทยเหยียบล้านเดินเท้าไปสู่ที่ตั้งชั่วคราวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ฯ ที่ ร.๑๑
ขนาดหัวแถวถึงแล้วปลายแถวยังอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าจนมืดฟ้ามัวดินนั้น
วันนั้นก็จบสิ้นลงด้วยการเดินกลับโดยไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น
รุ่งขึ้นก็ประกาศสร้าง “ประวัติศาสตร์” กันด้วยกิจกรรมกรีดเลือดแล้วเอาเลือดไปเททิ้ง

ยังจำได้ไหม

ถ้าจำวันเหล่านี้ได้ จะสงสารคนอียิปต์ในวันนี้เป็นเท่าทวีคูณ.


http://democracy100percent.blogspot.com/2011/02/blog-post_05.html