ที่มา ประชาไท
วานนี้ (13 พ.ย. 54) ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐ เปิดการประชุมสุดยอดของที่ประชุมว่าด้วยข้อตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอ เซีย-แปซิฟิกหรือเอเปก ประกาศย้ำแผนการค้าเสรี หรือ ทีพีพี (Trans-Pacific Partnership) ให้เป็นโมเดลการค้าเสรีรูปแบบใหม่
ผู้นำสหรัฐเจ้าภาพจัดการประชุมที่ฮาวายกล่าวว่า ขอให้เขตภูมิภาคนี้ดำเนินการให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวด เร็วเป็นไปแข็งขัน และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้นกว่าเดิมตามความต้องการของประชาชนในขณะ ที่กำลังเกิดภัยพิบัติทางเศรษฐกิจของโลก พร้อมทั้งกล่าวย้ำว่า เขตภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของสหรัฐ
ขณะเดียวกันผู้นำสหรัฐประกาศว่า จะผลักดันแผนความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) หรือแผนการค้าเสรีโดยคาดหวังว่า แผนนี้จะเป็นรูปเป็นร่างภายในปีหน้า ขณะที่ประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีนกล่าวว่าจีนไม่มีความสนใจในแผนการดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่า แผนการทีพีพีเป็นแผนการที่ทะเยอทยานมากเกินไปและไม่รู้ว่าผลลัพธ์หลังจากการ เปิดการเสรีแล้วจะออกมาในรูปใดจึงขอดูท่าทีไปก่อน
ทั้งนี้ แผนทีพีพี หรือแผนการค้าเสรี จะมีผลต่อการลดกำแพงภาษี ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ระเบียบของรัฐวิสาหกิจ และการพิทักษ์ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ปัจจุบัน แผนดังกล่าวมีสมาชิก 9 ประเทศ คือ ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหรัฐ เวียดนาม มาเลเซีย เปรู และบรูไน ส่วนญี่ปุ่นได้แสดงความประสงค์ในการเข้าร่วมแผนดังกล่าวด้วย เนื่องจากมองว่าจะเป็นการยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับชาติต่างๆ และสร้างสมดุลระบบการค้าในเอเชียเพื่อมาถ่วงดุลกับจีน อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นยังคงชะลอการตัดสินใจ เนื่องจากแผนดังกล่าวถูกต่อต้านจากกลุ่มชาวนาในญี่ปุ่น
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 19 ประเทศ และ 2 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น สมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศจากอเมริกาเหนือและใต้
ที่มา: เรียบเรียงจาก สำนักข่าวแห่งชาติ