WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 15, 2011

พาไปดูกับตาอุโมงค์ยักษ์ชิคาโก้(ไม่ดัมมี่นะจ๊ะ) แผนงานป้องกันน้ำท่วม-ขจัดน้ำเสียอย่่างยั่งยืนของแท้

ที่มา Thai E-News



โดย Maitri
14 พฤศจิกายน 2554

พอดีได้อ่านกระทู้จากกระดานสนทนาของไทยฟรีนิวส์เรื่อง “ ...กล้องดัมมี่ อุโมงค์ดัมมี่ ผู้ว่าฯดัมมี่ จากพรรคดัมมี่...” ทั้งยังได้เห็นรูปของคุณชนินทร์ รุ่งแสง สส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในไทยอีนิวส์ “ช็อตเด็ดวันนี้---“ ยอมรับกลางสภาฯว่า อุโมงค์ยักษ์ “ยังสร้างไม่เสร็จ” ทำให้ผู้เขียนคิดว่าบ้านนี้เมืองนี้เป็นอะไรไปแล้ว ”การแหกตาเล่นปาหี่ระดับชาตินี้เกิดขึ้นได้อย่างไร”


อุโมงค์ยักษ์นี้ ตามแผ่นป้ายโฆษณาว่า จะช่วยคนดอนเมือง คนหลักสี่ คนจตุจักร และคนกรุงเทพฯ “ป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน”

แต่ตอนนี้ “ชวด”แล้วครับ ร้องเพลง “รอ” ไปพลางๆก่อน

ลองคิดดูถ้ามีผู้นำกล้าคิด กล้าทำ กล้าพูดความจริง เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง บ้านเราจะเจริญกว่านี้เยอะ

ภัย ธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อย่างในสหรัฐอเมริกานั้น ชิคาโก้และเมืองใกล้เคียง เช่นเดสเพลน ริเวอร์ ฟอเรส พอเจอฝนตกหนัก น้ำจะท่วมเป็นประจำ

สังคม ยิ่งพัฒนาหรือเจริญมากขึ้นเท่าไหร่ ประชากรเพิ่มมากขึ้นเมื่อใด ปัญหาการป้องกันน้ำท่วม ปัญหาการกำจัดของเสีย ปัญหาการขจัดน้ำเสีย เป็นปัญหาสำคัญเหมือนเงาตามตัวเป็นเรื่องเร่งด่วนของชุมชน

รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา มีแผนงานที่จะแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ขึ้นเมื่อประมาณสามสิบห้าปีที่แล้ว เรียกว่า “ทาร์ป (TARP) หรือTunnel and Reservoir Plan แผนงานนี้ผุดขึ้นมาเพราะวิธีก่อนๆใช้ไม่ได้ผลแล้ว



“ทาร์ป”ฟังดูแล้วคล้ายๆกับ โครงการอุโมงค์ยักษ์ใต้ดินของเรา แต่เพิ่ม “อ่างเก็บน้ำ”เข้าไป

เป็น โครงการขุดท่อ สร้างอุโมงค์และอ่างเก็บน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม ขณะที่เก็บน้ำก็ถือโอกาสกำจัดน้ำเสียไปด้วยในตัวก่อนที่จะปล่อยน้ำลงไปในแม่ น้ำลำคลอง และในทะเลสาปมิชิแกน

เป็นโครงการหนึ่งของ
Metropolitan Water Reclamation District of Greater Chicago หรือแปลไทยอย่างง่ายๆว่า เป็นกรมสุขาภิบาลจัดการน้ำอะไรทำนองนี้ คงจะได้กระมัง

มี เรื่องเล่ากันว่า หน่วยงานนี้เกิดจาก “วัวหายแล้วล้อมคอก” คือประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้วเกิดโรคอหิวาต์ระบาดหนัก ในสมัยนั้นน้ำจากส้วมถูกปล่อยลงแม่น้ำชิคาโก แล้วมันก็ใหลเข้าทะเลสาปมิชิแกนซึ่งเป็นที่ต่ำสุด บังเอิญทะเลสาปมิชิแกนเป็นแหล่งทำน้ำประปา ปรากฎว่ามีคนตายหลายหมื่นคน ทางรัฐอิลลินอยส์ก็เลยตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาเพื่อรักษาสภาพน้ำในทะเลสาป มิชิแกนไม่ให้เน่า

น้ำในทะเลสาปมิชิแกนเป็นหัวใจสำคัญของรัฐทั้งหลายในแถบมิดเวสส์ รวมทั้งชิคาโก้ด้วย เพราะเป็นแหล่งน้ำจืดอันสำคัญ

เมืองชิคาโก้เป็นเมืองเก่าที่ท่อรับน้ำฝนจากหลังคาบ้านกับท่อระบายน้ำเชื่อมติดกัน อย่างที่เขาเรียกว่า “คอมบาย ซิสเต็ม”

โครงการ รุ่นก่อนๆ ก่อนที่จะมาถึง “ทาร์ป” เขาก็จะขุดคลองทำล็อคกั้นน้ำ กั้นไม่ให้น้ำจากแม่น้ำชิคาโก้ซึ่งมีน้ำใช้และน้ำเสียปนอยู่ไหลลงทะเลสาป คลองที่ขุดไว้ก็เพื่อ “ชักน้ำ” ให้น้ำจากแม่น้ำชิคาโกได้ไหลลงไปในแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ และไหลต่อไปยังแม่น้ำอิลลินอยส์ จนสุดท้ายไหลเข้าอ่าวเม็กซิโก

แต่วิธีนี้แก้ปัญหาไม่ได้อีกแล้วเพราะพอฝนตกลงมามากๆ แม่น้ำรับไม่ใหว เกิดน้ำท่วม เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปลดล็อคปล่อยน้ำไหลลงทะเลสาป

ดังนั้น “ทาร์ป” จึงมีจุดประสงค์ที่จะแก้ปัญหา ๒ ปัญหาในเวลาเดียวกัน คือปัญหาน้ำท่วม และปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำลำคลองและทะเลสาป

หลัก การของ “ทาร์ป” ก็คล้ายๆกับเขาไปสร้างแม่น้ำใต้ดินไว้ โดยเมื่อก่อนน้ำใช้จากบ้านจะถูกระบายเข้าท่อระบายน้ำที่ถนน และจะไหลลงแม่น้ำ แต่อันนี้ จะไหลลงอุโมงค์ใต้ดิน เหมือนใหลลงแม่น้ำ ซึ่งจะเป็นการช่วยเรื่องน้ำท่วม

ส่วน เรื่องอ่างเก็บน้ำนั้นมีไว้สำหรับแยกเก็บน้ำเสียเอาไว้ให้ตกตะกอนเสียก่อน แยกเอาน้ำใสออกไปบำบัดก่อน แล้วเอาตะกอนพวกนี้ที่มีแบคทีเรียสกปรกมาบำบัดอีกที

ดัง นั้นโครงการ “ทาร์ป” จึงประกอบไปด้วยสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างท่อและเจาะอุโมงค์ รองรับน้ำใช้ น้ำเสีย น้ำฝน ขั้นตอนสอง สร้างอ่างเก็บน้ำใต้ดินสำหรับนำมาบำบัด ซึ่งทั้งสองขั้นตอนต้องมีเครื่องปั๊มน้ำขนาดยักษ์หลายตัวเป็นตัวช่วยถ่ายเท น้ำ

ถึงแม้ว่าชิคาโก้มี “ทาร์ป” ถ้าฝนตกหนักมากน้ำก็ยังท่วม แต่ไม่หนักหนาเหมือนเดิม

อย่างว่าละครับ”เหนือฟ้ายังมีฟ้า”

เท่าที่ทราบมีตัวแทนจากประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า ๒๐ ประเทศเข้าชมโครงการนี้ ไม่แน่ใจว่าประเทศไทยส่งตัวแทนเข้าชมโครงการนี้หรือเปล่า

ภัย น้ำท่วมครั้งนี้คงทำให้ถึงเวลาแล้วกระมังที่เราคนไทยต้องจัดการปัญหาเรื่อง น้ำอย่างจริงจังสักที การมีกระทรวงใหม่ หรือมีหน่วยงานใหม่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงเป็นความคิดที่ดี น่าทำให้เป็นจริง

วัวหายแล้ว จะล้อมคอกกันรึยัง

ขอมืออาชีพที่มีกึ๋นหน่อยนะครับ

การแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าพ่วงเรื่องการบำบัดน้ำเสีย น้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดถูกอนามัย จะดียิ่งขึ้น

อย่าลืมครับ “ยูอาร์วัทยูอีท (You are What You eat)” ยังไม่รู้ว่าน้ำที่เราดื่มๆกันหลังจากวิกฤตนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง น้ำขวดก็แพงฉิบ...