WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 14, 2011

สายน้ำ เชี่ยวกราก โอบอุ้ม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มั่นคง แข็งแกร่ง?

ที่มา มติชน



แม้ไม่ได้ไปร่วมประชุมเอเปกที่เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ตัดสินใจเข้าร่วมประชุมอาเซียน ซัมมิต ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย

เป็นการเข้าร่วมหลังพบและหารือกับ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ

เป็นการเข้าร่วมหลังพบและหารือกับ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา

เป็นการเข้าร่วมหลัง ครม.มีมติเห็นชอบกับการจัดตั้งคณะกรรมการ 2 คณะสำคัญ

1 คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ "กยอ." อันมีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน 1 คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ "กยน." อันมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษา

เป็นงานในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรื้อสร้างครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อนำไปสู่การวางแผนแม่บทให้กับประเทศ

ในที่ประชุมอาเซียน ซัมมิท ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีโอกาสหารือทั้งกับประธานาธิบดีสหรัฐ ประธานาธิบดีรัสเซีย นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นต้น

การเข้าร่วมประชุมอาเซียน ซัมมิท บนเกาะบาหลี อินโดนีเซีย จึงทรงความหมาย

ความหมายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิได้เป็นความหมายในทางส่วนตัว หากประการสำคัญอย่างมากเป็นความหมายในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านการตรวจสอบอย่างรุนแรง ท้าทาย

ประการหนึ่ง เพราะว่าการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นการดำรงตำแหน่งในลักษณะต่อเนื่อง

ต่อเนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทย

ต่อเนื่องจาก นายสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องจาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่อเนื่องจากพรรคพลังประชาชน

ที่สำคัญคือต่อเนื่องความขัดแย้งอันเกิดขึ้นก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ประการหนึ่ง เพราะว่าพื้นฐานเดิมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ พื้นฐานของนักธุรกิจมิได้เป็นพื้นฐานของนักการเมือง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึง "ละอ่อน" อย่างยิ่งในฐานะนักการเมือง

ความละอ่อนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อประสานกับความต่อเนื่องของปัญหาอันเนื่องแต่ความพยายามโค่นล้ม ทำลาย และถอนพิษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงโถมเข้าใส่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างชนิดเรียกว่าจัดเต็ม จัดหนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ "มวลน้ำ" อันหนักหนาสาหัสประหนึ่งเป็น

การต้อนรับน้องใหม่

มีความคาดหมายในเชิงสบประมาทมากมาย

ภายหลังจากการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

คาดหมายถึงอนาคตอันง่อนแง่นอย่างยิ่ง

จำนวนไม่น้อยประเมินว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจประสบชะตากรรมอย่างเดียวกันกับที่ นายสมัคร สุนทรเวช ประสบในเดือนกันยายน 2550 และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ประสบในเดือนธันวาคม 2550

ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตจากปัญหาน้ำท่วม ความเชื่อที่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจมหายไปกับสายน้ำ ยิ่งกระจายไปในวงกว้าง

แต่ 2 เดือนเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ 2 เดือนเศษที่อยู่ท่ามกลางกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากที่ตีโอบล้อมกรุงเทพมหานครจาก พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี แทนที่จะมองเห็นความอ่อนแอ ปวกเปียก

ตรงกันข้าม ทางหนึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียนรู้จากสายน้ำ ขณะเดียวกัน ทางหนึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พิสูจน์ให้เห็นความตั้งใจจริง ความมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน

กลับกลายเป็นว่าสายน้ำและประชาชนหันมาโอบอุ้ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากขึ้น

การจัดตั้งคณะกรรมการในเชิงยุทธศาสตร์ทั้งการบริหารจัดการน้ำ การฟื้นฟูสร้างอนาคตมีความสำคัญยิ่ง

ตรงนี้ต่างหากคือ สายตายาวไกลจากซากปรักหักพัง คือการประสานพลังทางปัญญา พลังทางสังคมเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเริ่มต้นบทบาทก้าวใหม่ให้กับประเทศ

นี่คือ จุดอันนำไปสู่การสร้างแผนแม่บท มาสเตอร์แพลน เพื่อประเทศไทยใหม่อย่างแท้จริง