ที่มา Thai E-News
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา บอร์ดฟ้าเดียวกัน
9 กรกฎาคม2552
ผมคิดว่า ถ้าจะสรุปแบบรวบยอด สิ่งที่ พวกเขากำลังทำตอนนี้คือ"กราบแผ่นดิน" ครั้งที่ 2
*ถวายฎีกา-หยุดเสนอ"โค่นอำมาตย์" : จตุพร-3 เกลอ กำลังพยายามหันมา"ประจบบางคน"แทนหรือครับ?
3 เกลอประกาศเลิกโค่นอำมาตย์ คุยเร่งปิดเกม รบ.ใน3 เดือน
นายจตุพร ยังกล่าวถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งที่ 2 คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ ภายหลังกระบวนการรวบรวมรายชื่อประชาชน 1 ล้านชื่อ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จสิ้นลงแล้ว เนื่องจากต้องการแยกทั้ง 2 เรื่องออกจากกัน โดยจะเป็นการยกระดับในการชุมนุมจากการเรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภา เป็นการขับไล่รัฐบาล ฐานทำให้สภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมย่อยยับ อีกทั้งยังปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายอย่างนายกษิต ภิรมย์ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อไป ซึ่งเชื่อว่าบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะต้องตื่นตาตื่นใจที่ได้มาร่วมประชุมกับผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน
"การชุมนุมครั้งใหม่ของกลุ่มคนเสื้อแดงจะไม่มีประเด็นโค่นล้มอำมาตย์ เพราะถือว่าได้เรียกร้องให้ 3 องคมนตรีแสดงความรับผิดชอบไปแล้ว จากนี้จึงขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย โดยกลุ่มคนเสื้อแดงจะไม่ก้าวล่วง" นายจตุพรกล่าว
ถ้าคำสัมภาษณ์ของจตุพรนี้ ไม่ใช่การพูดแบบผ่านๆอย่างไม่ซีเรียสอะไร แต่เป็นการพูดที่มาจากการกำหนดวิเคราะห์แล้ว (ผมคิดว่าเป็นอย่างหลัง) ก็อาจจะอธิบายย้อนหลังได้ว่า เหตุใดจึงเกิดข้อเสนอเรื่อง "ถวายฎีกา ทีดินรัชดา" ขึ้นมาได้
ผมยังยืนยันว่าข้อเสนอ "ถวายฎีกา ที่ดินรัชดา" ในบริบทของการเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวที่เพิ่งผ่านไปในเดือนมีนา-เมษา ต้องนับว่าเป็นจังกวะก้าวที่ "แปลก" มากๆ คำอธิบายประเภทว่า นี่เป็นเรื่องที่วีระคิดไว้นานแล้ว เป็นคำอธิบายที่ไม่มีน้ำหนัก (ยิ่งถ้าคิดไว้นานแล้ว ทำไมเพิ่งมาทำตอนนี้?) คำอธิบายประเภทว่า นี่เป็นการ"โยนเผือกร้อน" ก็ไม่มีน้ำหนัก ไม่สอดคล้องกับท่าทีที่เป็นจริงของฎีกานี้แต่อย่างใด สำหรับบางคนที่คิดเช่นนี้เป็นการสะท้อนลักษณะคิดฝัน (wishful thinking) มากกว่า
แต่ถ้าคำสัมภาษณ์ของจตุพรนี้เป็นความจริง ก็สามารถอธิบายได้ว่า การ "ถวายฎีกา ที่ดินรัชดา" หาใช่จังหวะก้าวที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ หรือกระทันหันแต่อย่างใด แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนท่าทีในการเคลื่อนไหวของ "3 เกลอ" (และทักษิณ?) โดยเฉพาะในเรื่องท่าทีต่อ "บางคน"
สิ่งที่ชวนสะดุดใจมากๆในคำสัมภาษณ์ของจตุพรคือ การกล่าวว่า "....จากนี้จึงขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย โดยกลุ่มคนเสื้อแดงจะไม่ก้าวล่วง"
จตุพรกำลังหมายความว่า ต่อไปนี้ ถ้าใครยังชูประเด็น "โค่นอำมาตย์" จะเท่ากับ "ก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย" หรือ?
ถ้าเช่นนั้น การเคลื่อนไหวใหญ่โตของคนเสื้อแดง หลังการชุมนุมมหึมาวันที่ 8 เมษายนเอง ก็ต้องถือเป็นการ "ก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย" ด้วยสิ? อันที่จริง ต้องนับตั้งแต่หลังวันที่ 22 และ 27 มีนาคม เมื่อทักษิณประกาศโจมตี เปรม-สุรยุทธิ์-ชาญชัย อย่างรุนแรง ด้วยซ้ำ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทรงรับทราบแล้วตั้งแต่ตอนนั้น (ไม่ว่า 27 มีนา หรือ 8 เมษา) ว่า คนเสื้อแดงเรียกร้องให้ "โค่นอำมาตย์" ไล่ 3 องคมนตรีนั้นออกไป แต่ตอนนั้น จตุพรและเสื้อแดงอื่นๆ ก็ยังยืนกรานที่จะเคลื่อนไหว "โค่นอำมาตย์" ต่อไป หาได้ ปล่อยให้ "ขึ้นกับพระราชอัธยาศัย" แต่อย่างใดไม่ (และดังที่ทุกคนรู้ดี ตอนนั้น ก็มีเสียงเสนอของพวกที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดงว่า นี่เป็นการ "ก้าวล่วง" ต้องให้ "เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย" ว่าจะให้เปรม ฯลฯ ออกหรือไม่ แต่จตุพรและคนอื่นก็หัวเราะเยาะให้กับความเห็นช่นนี้)
น่าเสียดายที่แกนนำเสื้อแดงตอนนี้ ทำราวกับว่า คนเสื้อแดงเอง และประชาชนโดยทั่วไป เป็นโรคความจำสั้น
ผมรู้สึกว่า พวกเขากำลังกลับไปสู่ โหมด หลัง 23 ธค.50 มากกว่า
คงจำกันได้ว่า หลัง 23 ธค. หลังจากตั้ง รบ.แล้ว ค่ายทักษิณก็พยายามหันมา "เจรจา" หรือ "ประจบเอาใจ" "บางคน" ที่แสดงออกอย่างรวมศูนย์ หรืออย่างเป็นสัญลักษณ์ "ทักษิณ "กราบพื้นดิน"" นั่นแหละ
(รวมทั้งท่าทีรอบๆนั้น คือ ไม่ปลดอนุพงศ์, ยอมให้เพิ่มงบทหาร, ให้จัดการทหารตามใจชอบ, ทักษิณเอง ออกมายอมรับเรื่อง ตุลการ "กระบวนการยุติธรรม" ฯลฯ ฯลฯ)
ที่พยายามเสนอใน กระทุ้นี้ คือ ท่าทีการเสนอฎีกา ที่จำกัดเฉพาะเรื่องทีดินรัชดา ซึ่งดูแปลกมาก ถ้ามองในบริบทของท่าทีที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด นั่นคือ (เช่นเดียวกับหลัง 23 ธค.) ตอนนี พวกเขา กลับมาสู่โหมด "พยายาม reconcile กับ "อีกฝ่าย"
การโจมตีอภิสิทธิ์ต่อนี่เป็นเรื่องธรรมดาและเรื่องเล็ก (คงจำได้ว่า ตลอดช่วง มีนา-เมษา แทบไม่ได้ชูเรื่องอภิสิทธิ์เลย ประกาศซ้ำๆด้วยว่า อภิสิทธิ์เป็นเพียงตัวกระจอก เป็นหุ่นเชิด)
ผมคิดว่า ท่าทีล่าสุดของจตุพรนี้ ยืนยันว่า เรื่อง "ยื่นฎีกาเฉพาะกรณีรัชดา" ไม่ใช่เรื่อง "โยนเผือกร้อน" หรือ tactic "เหนือเมฆ" อะไรที หลายคนเขียนๆแบบ wishful thinking กัน แต่เป็นท่าที พยายาม "อ่อน" ให้ "บางคน" "เห็นใจ" จริงๆ
น่าสังเกตด้วยว่า เรื่องงาน "แซยิด" นั้น แม้จตุพรไม่ได้ออกมา "เบรก" แต่ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยให้จัดสนามหลวง เสนอให้ไปทำบุญตามวัดต่างๆแทน (ผมก็เพิ่งทราบว่า ข้อเสนองานสนามหลวงมาจากฝ่ายแท็กซี่มากกว่า)
ความ"ตลกร้าย"(irony)ของฎีกาครั้งนี้คือ ไม่อยู่ในพระราชอำนาจที่จะทรง"ให้อภัย"ได้ด้วยซ้ำ
คือไม่อยู่ในพระราชอำนาจที่จะทรง"ให้อภัย" คุณทักษิณได้ ตราบเท่าที่คุณทักษิณเองไม่ได้ยื่นขอฎีกา
กระทั่งจะทรงบอกให้รัฐบาลหาทางทำเรื่อง "ให้อภัย" คุณทักษิณ ก็ไม่ได้ด้วย ตราบเท่าที่คุณทักษิณเองไม่ได้ยื่น "ขออภัย"
ในทางกลับกัน เรื่องแบบนี้สิ อยู่ "ในพระราชอำนาจโดยตรง"
- ปลดเปรม
- ปลด สุรยุทธิ์
- ปลด ชาญชัย
(หรือให้อภัยสุวิชา ท่าค้อ ที่ยื่นเรื่องขออภัยไปแล้ว)
กระทั่งเรื่องทำนองเดียวกับที่ชูพงศ์เสนอ (ผมเห็นว่า ไมใช่ทุกอย่างที่คุณชูพงศ์เสนอ อยู่ในพระราชอำนาจ อย่างที่คุณชูพงศ์พูด เช่น เรื่องใหญ่อย่าง "เปลี่ยนระบอบ" เป็นต้น)
เช่น
"ขอให้ทรง "ให้คำแนะนำ, ตักเตือน" รัฐบาล [right to warn, right to encourage] ให้หาทาง "บรรลุการสมานฉันท์" (ด้วยการ "ออก พรบ.นิรโทษ ทั่วไป" หรือ "เลือกตั้งใหม่") เป็นต้น
ผมคิดว่า ถ้าจะสรุปแบบรวบยอด สิ่งที่ พวกเขากำลังทำตอนนี้คือ
(ผมเพิ่งนึกคำออกเมื่อครู่นี้เองหลังจากพูดพาดพิงในอีกกระทู้หนี่ง)
"กราบแผ่นดิน" ครั้งที่ 2
การขอให้พระมหากษัตริย์ทำในสิ่งที่ไม่ทรงมีอำนาจ เท่ากับ(ขอ)เพิ่มอำนาจให้พระมหากษัตริย์
การยื่นฎีกา "ขออภัยโทษให้ทักษิณคดีรัชดา" ครั้งนี้ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีอำนาจที่จะ "ให้อภัย" ได้เลย ตราบเท่าที่ทักษิณไม่ได้ยื่นขอเอง
นั่นคือ การยื่นฎีกานี้ เท่ากับขอให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจที่ไม่ได้ทรงมีอยู่ (ให้อภัยคนที่ไม่ได้ขออภัยเอง) เป็นการขอให้ใช้อำนาจ "ตามพระราชอัธยาศัย" ล้วนๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า มีพระราชอำนาจนั้นตามกฎหมายหรือไม่
ผม "ได้ข่าวมาว่า" คุณทักษิณ "มีวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ" แต่ ....
"ผู้นำทางการเมือง" ที่มี "วิสัยทัศน์" ในบริบทของปัญหาปัจจุบันทีประเทศไทยเผชิญอยู่ คือการล้มระบอบประชาธิปไตย สถาปนาระบอบ"อำมาตยาธิปไตย" ฯลฯ หลัง 19 กันยา นั้น
มิใช่ว่า หากมีผู้สนับสนุนเสนอจะรณรงค์ 1 ล้านคนเพื่อ"ฎีกา เรื่อง ทีดินรัชดา"
มิใชว่า ควรตอบทำนองนี้หรือครับ?
"ผมขอบคุณที่คุณวีระเสนอ แต่เรื่องคดีที่ดินรัชดาของผมเรื่องเล็ก ปัญหาใหญ่กว่านั้น คือเรืองความไม่มีประชาธิปไตย ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างประชาชน การเข้าแทรกแซงทางการเมืองของอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ฯลฯ
ดังนั้น ผมขอเสนอว่า ถ้าจะถวายฎีกา ควรถวายฎีกา ไมใช่ให้ผมคนเดียว ในคดีเดียว
แต่ควรถวายฎีกา ให้เกิดการสมานฉันท์ทั่วไป ให้มี general amnesty (นิรโทษกรรมทั่วไป)
ให้หาทางกลับคืนสูสภาพประชาธิปไตย ก่อน 19 กันยา
เพื่อที่ประเทศไทย จะมีการพัฒนาการทางการเมือง อย่างยั่งยืนต่อไปในระยะยาว...."
ข้อเสนออะไรทำนองนี้ ไมใช่สิ่งที่เรียกว่า "วิสัยทัศน์ผู้นำ" มากกว่าหรือ?
(ถ้าจะเรียกฎีกานี้ว่า อะไร ผมว่า เหมาะที่สุดคือ "ข้อเสนอเฉพาะหน้าเป็นวันๆ" หรือ "เป็นเดือนๆ" เสียมากกว่า ไมใช่ "วิสัยทัศน์" แน่)