WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 11, 2009

กรรม(เก่า)ที่"สนธิ"สลัดไม่หลุด...

ที่มา มติชนออนไลน์

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

อ่านพบข่าวเล็กๆชิ้นหนึ่ง(10 กรกฎาคม 2552)ที่ระบุว่า ศาลอาญามีคำสั่งเลื่อนนัดสอบคำให้การจำเลย คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายสุรเดช มุขยางกูร น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ และ น.ส.ยุพิน จันทนา อดีตกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากนายสนธิ กับพวกซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ร่วมกันลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทแมเนเจอร์ ฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2539-30 เมษายน 2540


เหตุที่ศาลสั่งเลื่อนคดีปเป็นวันที่ 12 ตุลาคม 2552 เพราะนายสนธิมอบอำนาจให้ทนายความ ยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดโดยอ้างว่า อยู่ระหว่างพักรักษาอาการบาดเจ็บจากการผ่าตัดบาดแผลถูกลอบยิงที่ศีรษะ


หลังอ่านจบทำให้ระลึกได้ว่า เมื่อ 10 ปีก่อนเคยติดตามข่าวชิ้นหนึ่งซึ่งกลายเป็นชนัก(คดี)ติดหลังนายสนธิมาจนถึงทุกวันนี้ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมอีกด้านหนึ่งของผู้ที่สถาปนาตนเองขึ้นมาเป็นผู้นำการต่อสู้กับระบอบทักษิณ


(นายสนธิอาจอ้างว่า ถูกเล่นงานในคดีนี้เป็นเนื่องจากถูกกลั่นแกล้งจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น เพราะนายสนธิและหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเสนอข่าวโจมตีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอย่างรุนแรง และสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย กำลังถูกสื่อมวลชนเปิดโปงเรื่องซุกหุ้น)


คดีดังกล่าวเริ่มจากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอนจิเนียริง จำกัด(มหาชน)หรือไออีซีค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท เดอะ เอ็มกรุ๊ป(มีนายสนธิ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหาร-บริษัทแม่ของไออีซี)ซึ่งกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย 1,198 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 แต่ทางไออีซีไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบซึ่งเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ


อย่างไรก็ตาม นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ตุลการศาลรัฐธรรมนูญ(ในขณะนั้น)และเป็นประธานกรรมการไออีซีในช่วงที่มีการค้ำประกันเงินกู้ออกมาปฏิเสธว่า คณะกรรมการไออีซีไม่เคยอนุมัติให้ค้ำประกันเงินกู้ให้เดอะ เอ็มกรุ๊ป แต่ผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งของไออีซีปลอมมติคณะกรรมการ


ขณะที่นายสุรเดช มุขยางกูร กรรมการผู้อำนวยการไออีซียอมรับกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ว่า ไออีซีค้ำประกันเงินกู้ให้เดอะ เอ็มกรุ๊ปจริง(คอลัมน์เดินหน้าชน , มติชนรายวัน25 กันยายน 2542)


ต่อมาในเดือนธันวาคม 2542 สำนักงาน ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษนายสุรเดช ต่อพนักงานสอบสวนโดยกล่าวหาว่า ปลอมหรือยินยอมให้มีการปลอมสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทไออีซีเพื่อลวงให้ธนาคารกรุงไทยหลงเชื่อว่า คณะกรรมการบริษัทไออีซีมีมติให้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ในนามบริษัท ไออีซี เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์มาตรา 312 ระหว่างโทษจำคุก 5-10 ปี และยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานปลอมแผลงเอกสารด้วย


สำนักงาน ก.ล.ต.ตรวจสอบข้อมูลกรณีดังกล่าวเพิ่มเติม จนกลางเดือนตุลาคม 2543 (พ.ต.ท.ทักษิณเริ่มถูกเปิดโปงเรื่องซุกหุ้น กันายน 2543) จึงได้กล่าวโทษ นายสนธิ นายสุรเดช นางสาวเสาวลักษณ์ และนางสาวยุพิน อดีตกรรมการบริษัท ร่วมกันปลอมเอกสารในการทำสัญญาร่วมค้ำประกันการกู้จำนวน 1,073 ล้านบาทให้แก่บริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ปจากธนาคารกรุงไทยโดยคณะกรรมการบริษัทแมเนเจอร์ มิได้รับทราบและมิได้มีการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทแมเนอร์เจอร์ฯ


การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์มาตรา 307, 311 312 ซึ่งแต่ละกระทง ระวางโทษจำคุก 5-10 ปีและยังมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268


หลังสำนักงาน ก.ล.ต.กล่าวโทษในครั้งนั้นแล้ว เรื่องราวของนายสนธิและบริษัท เดอะเอ็มกรุ๊ปในคดีนี้ก็เงียบหายไป จนนึกว่า นายสนธิหลุดจากคดีดังกล่าวแล้ว เพราะเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต้นปี 2544 เป็นยุคที่นายสนธิกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง


แต่เมื่อมาอ่านข่าวพบว่า ศาลอาญาเลื่อนนัดสอบปากคำจำเลยซึ่งก็คือนายสนธิในคดีนี้ ทำให้รู้ว่า นายสนธิกำลังเผิชิญกรรม(เก่า)ที่ตนเองก่อไว้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว


คดีนี้จะมีผลกระทบต่อสถานะของ(ว่าที่)หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่หรือไม่ ต้องคอยดูกันต่อไป