WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 8, 2009

สื่อในบริบทความเป็นจริง: ความเป็นอิสระและสำนึก “พลเมือง”

ที่มา ประชาไท

ความเป็นจริงของความขัดแย้งทางการเมืองของบ้านเราที่ปรากฏเด่นชัด คือ มีการประกาศจุดยืนในทางการเมืองอยู่ 3 ฝ่าย

1.ฝ่ายเสื้อเหลือง ไม่เอาทักษิณ ไม่เอาการเมืองเก่า (แต่ไม่ปฏิเสธอำมาตยาธิปไตย?) จะสร้างการเมืองใหม่เป็นการเมืองที่สะอาดโปร่งใส ไร้ทุจริตคอร์รัปชั่น
2.ฝ่ายเสื้อแดง มีทั้งเอาและไม่เอาทักษิณ (แต่น่าจะเอาเป็นส่วนใหญ่?) ไม่เอาอำมาตยาธิปไตย ต้องการประชาธิปไตยที่พ้นไปจากการครอบงำกำกับของอำมาตยาธิปไตย ประชาธิปไตยเพื่อสร้างสังคมที่เสมอภาค เป็นธรรม หรือรัฐสวัสดิการ
3.ฝ่ายที่เคยประกาศตัวเป็นกลาง เคยชูคำขวัญ “หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง”

ปรากฏการณ์ความเป็นจริง 3 จุดยืนดังกล่าว ซ้อนอยู่ในความเป็นจริงอื่นๆ ที่เป็นปัญหาอีกมากมาย เช่น การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 วิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ วิกฤต 3 จังหวัดภาคใต้ วิกฤตคุณภาพนักการเมืองทั้งในเชิงจริยธรรมและความสามารถบริหารประเทศ วิกฤตความน่าเชื่อถือของทุกสถาบันไม่ว่าจะเป็นสถาบันรัฐสภา กองทัพ ศาล ศาสน์ กษัตริย์ สื่อมวลชน มหาวิทยาลัย นักวิชาการ

นอกจากนี้เรายังอยู่ในยุคที่ “จินตนาการความเป็นไทย” ที่วางอยู่บนอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” กำลังถูกท้าทายอย่างเข้มข้น เกิดกระแสการสร้างจินตนาการความเป็นไทยแบบใหม่ที่อยู่บนอุดมการณ์ประชาธิปไตยสากล รัฐสวัสดิการ รัฐประชาชาติที่เคารพสิทธิอำนาจในการจัดการกับวิถีชีวิตของตนเองของประชาชนตามความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ

ในขณะที่ความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อีกด้านหนึ่ง คือ เราอยู่ในยุคเศรษฐกิจกระแสโลกาภิวัตน์ที่ความเจริญ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการแข่งขันกับนานาชาติ อำนาจของทุนข้ามชาติมีบทบาทต่อการตัดสินใจในนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมากกว่าความต้องการของประชาชนในชาติเสียอีก

และกลุ่มทุนต่างชาติกับกลุ่มทุนภายในประเทศ กลุ่มนักการเมืองที่ยึดกุมอำนาจรัฐ ข้าราชการบางส่วนก็ฉ้อฉลชาติโดยที่ประชาชนรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ประชาชนก็ทำอะไรไม่ได้ ซ้าร้ายกว่านั้นสงครามระหว่าง “กลุ่นทุนเก่า” กับ “กลุ่มทุนใหม่” ในประเทศก็ยังคุกรุ่นไม่สิ้นสุด

ในท่ามกลางความเป็นจริงที่ซับซ้อนดังกล่าว “ความเป็นกลาง” ของสื่อมวลชนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีบางคนบอกว่าถ้าสื่อมวลชนวางตัวเป็นกลางจะไม่กล้าเสนอความจริงด้านลบของข้างใดๆ เพราะกลัวว่าจะกระทบกระทั่งกับข้างนั้นข้างนี้ ดังนั้น สื่อมวลชนต้องมุ่งเสนอความจริง ต้องไม่ติด “กับดัก” ของ “ความเป็นกลาง”

ในความเข้าใจของผู้เขียน สื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอความจริงอยู่แล้ว การยึดจุดยืนความเป็นกลางไม่ได้หมายความว่าต้องไม่ทำหน้าที่แสวงหาหรือเสนอความจริงทุกด้านของทุกข้าง แต่การเป็นกลางต่างหากที่จะทำให้สื่อสามารถแสวงหาและเสนอความจริงทั้งด้านดีด้านร้ายของข้างใดๆ ได้อย่างเป็นอิสระ

ดังนั้น ความหมายสำคัญของ “ความเป็นกลาง” จึงหมายถึง “ความเป็นอิสระ” ไม่ถูกพันธนาการด้วย “อคติ” ของ “ความเป็นข้าง” หรือความเป็นฝักฝ่ายใดๆ เมื่อมีอิสระ สื่อจึงสามารถที่จะแสวงหาและเสนอความจริงทุกด้านของทุกข้าง

และสามารถที่จะบอกสังคมตรงๆ ด้วยว่าไม่เห็นด้วยกับด้านที่เป็นข้อเสีย หรือเห็นด้วยกันด้านที่เป็นข้อดีของทุกข้าง รวมทั้งเสนอทางเลือกที่เห็นว่าดีกว่าข้อเสนอของข้างใดๆ ก็ได้อย่างมีเหตุผลเป็นตัวของตัวเอง

ที่ต้องตราไว้เป็นพิเศษคือ สื่อมวลชนต้องยืนอยู่บน “ความถูกต้อง” ที่ว่า “การต่อสู้ใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยจะต้องใช้เหตุผล ไม่ใช้ความรุนแรง” ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยรัฐประหาร โดยม็อบ หรือโดยอำนาจที่ไม่เปิดเผยใดๆ

ดังนั้น ความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของสื่อที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือการเป็นช่องทางให้ประชาชนรู้เท่าทันกลเกมความรุนแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้วจากฝ่ายใดๆ ก็ตาม

นอกจากนี้ ความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของสื่อ ยังหมายถึง การทำหน้าที่เป็น “เวทีสาธารณะ” เปิดให้กับความเห็นต่างจากทุกฝ่ายได้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในประเด็นสาธารณะต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เพราะบทบาทนี้ของสื่อ คือบทบาทส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้เหตุผลในการอยู่ร่วมกันของพลเมืองแห่งรัฐที่รักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และยึดมั่นในความเสมอภาคความเป็นธรรมภายใต้กฎหมายเดียวกัน

พลเมืองนั้นต่างจาก ไพร่ ทาส และราษฎร เพราะไพร่ ทาส ไม่มีอิสระเสรี ไม่มีอำนาจในการปกครองตนเอง ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้านาย ส่วนราษฎรคือคนที่เชื่อฟังคำสั่งของผู้ปกครอง ไม่กล้าคิดเอง รอคอยผู้ปกครองที่เก่งกล้าสามารถจะมา “เนรมิต” ความเจริญต่างๆ ให้

แต่ “พลเมือง” (civil) คือ ผู้รักในเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และกระตือรือร้นสนใจปัญหาบ้านเมือง ถือเป็นหน้าที่ของตนเองที่จะมีส่วนร่วมคิดร่วมทำในกิจกรรมทางสังคมการเมืองทั้งปวงที่จะช่วยสร้างสังคมให้เป็นธรรมและผาสุก

โดยถือว่าการทำหน้าที่เช่นนั้นเป็นความรับผิดชอบ เป็นความมีเกียรติ เป็นความสุข หรือเป็นความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ในฐานะสมาชิกแห่งรัฐ และหรือสมาชิกแห่งมนุษยชาติ

กล่าวโดยสรุป สื่อที่เป็นกลางและเป็นอิสระจะต้องเข้าใจ “ความเป็นจริงที่ซับซ้อน” มีความรับผิดชอบใน “หน้าที่สื่อความจริงรอบด้าน” สำนึกใน “ความเป็นพลเมือง” ของตนเอง

และสามารถเป็น “เวทีสาธารณะ” ที่มุ่งส่งเสริมความเป็นพลเมืองของคนในชาติให้รักในเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมืองบนวิถีทางของการใช้เหตุผล การมีขันติธรรม และการเคารพความเห็นต่างหรือยอมรับความแตกต่างหลากหลายในการอยู่ร่วมกัน