WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 7, 2009

"จอน อึ๊งภากรณ์" เปิดเว็บ ' ilaw ' ชวนเขียนกฎหมายของประชาชน

ที่มา Thai E-News

ที่มา เวบไซต์ ประชาไท
7 กรกฎาคม 2552


วันนี้ (7 ก.ค. 52) - จอน อึ๊งภากรณ์ เปิดเว็บไซต์ไอลอว์ (iLaw) http://ilaw.or.th/ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนร่วมเสนอและแก้ไขกฎหมาย และผลักดันด้วยการล่าชื่อให้ครบหมื่น เพื่อเสนอเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา ตามมาตรา 142 และ 193 ของรัฐธรรมนูญ 2550

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าววานนี้ (6 ก.ค.) ว่า เว็บไซต์ไอลอว์ (iLaw) สนใจอยากเห็นและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนทั่วไป ในการเสนอกฎหมาย ซึ่งมากกว่าเพียงแค่ร่วมลงนาม แต่มีส่วนตั้งแต่การออกแบบเนื้อหา

"มักมีคนถามว่า แล้วเว็บไซต์ไอลอว์ จะแก้กฎหมายอะไร คำตอบคือ ไอลอว์จะเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากเสนอกฎหมาย หรือมองเห็นปัญหาแล้วอยากแก้ไขในกฎหมาย มีโอกาสผลักดันข้อเสนอได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยชุมชนช่วยกันบอกข้อเสนอที่อยากแก้ จากนั้นจะมีทีมงานนักกฎหมาย ช่วยปรับให้มันเป็นร่างกฎหมาย" นายจอนกล่าว

นายจอนกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นสมาชิกวุฒิสภา อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ งานหนึ่งที่เป็นหน้าที่หลัก คือการแปรญัตติกฎหมาย แม้พบว่ามีอุปสรรคมากมาย และต้องเจอกระบวนการที่ซับซ้อน แต่ก็เชื่อว่า มันเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ประชาชนทั่วไปก็สามารถทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนนิติศาสตร์มาโดยตรง เพราะแม้แต่ ส.ส. และ ส.ว. เอง ก็มีความหลากหลาย และไม่ใช่ทุกคนที่เป็นนักกฎหมาย

"โดยทั่วไป กว่ากฎหมายจะออกมาได้แต่ละฉบับ ต้องเจอขั้นตอนซับซ้อน แม้ปัจจุบัน กฎหมายจะเอื้อให้ประชาชนครบหมื่นชื่อ เสนอกฎหมายได้ แต่การจะสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมจริงๆ มันต้องมีช่องทางและโอกาส ที่เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงการแก้ไขกฎหมายได้จริง ซึ่งขั้นนี้ น่าจะเป็นช่องทางสำคัญ ก่อนจะนำไปสู่การล่าชื่อให้ครบหมื่นชื่อ"

นายจอนเสริมว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน มันสอดรับกับกระแสโลกออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอินเทอร์เน็ตเป็นแบบจำลองของระบอบประชาธิปไตย ที่ค่อนข้างท้าทายระบอบประชาธิปไตยในการเมืองทั่วโลก

"อยากเชิญชวนให้ทุกคนมาสร้างสรรค์กฎหมาย แม้ว่ากฎหมายจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แต่สิ่งสำคัญคือ มันจะช่วยสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่ประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดี" จอนกล่าว

โดยในวันนี้ (7 ก.ค.) เว็บไซต์ไอลอว์ http://ilaw.or.th/ ซึ่งดำเนินงานโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ภายใต้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนกล่าวว่า เว็บไซต์ไอลอว์ จะสนับสนุนการเสนอกฎหมายที่ไม่ขัดกับจุดยืนเรื่องความเป็นธรรม และเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ และเคารพในระบอบประชาธิปไตย

ปัจจุบัน ในเว็บไซต์ไอลอว์ มีเนื้อหาที่เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของประชาชนว่า มีความ สนใจอยากแก้ไขกฎหมายใดบ้าง ซึ่งสามารถระดมข้อเสนอได้กว่าร้อยประการ นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างการเปิดประเด็น ระดมความเห็น เพื่อแก้ไขกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์