WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 7, 2009

รัฐบาลชั่วคราวฮอนดูรัส สั่งปิดสนามบิน ปธน.พลัดถิ่นกลับลำไปลงเอลซัลวาดอร์

ที่มา ประชาไท

เที่ยวบินเซลายาลงจอดไม่สำเร็จ หลังทหารตำรวจเอารถมาจอดขวางรันเวย์-สั่งยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด ด้านเซลายากลับลำไปลงที่ เอลซัลวาดอร์ ยังวางแผนกลับประเทศ 1-2 วันนี้ วอนทหารอย่าหันปืนมาทางประชาชน มิเชลเลตตีลั่นจะไม่เจรจาใดๆ จนกว่าประเทศจะสงบ ล่าสุดผู้ชุมนุมปะทะกับทหารตำรวจใกล้สนามบิน ถูกยิงเสียชีวิตหนึ่งราย





ภาพวิดีโอรายงานข่าวของ Aljazeera ภาคภาษาอังกฤษ แสดงให้เห็นปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารในเขตสนามบิน ซึ่งได้แสดงภาพของผู้เสียชีวิต จากการถูกทหารยิงใส่
ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมานูเอล เซลายา ตะโกนเชียร์หลังเครื่องบินเจ็ทที่เขาโดยสารบินเหนือท่าอากาศยานนานาชาติ กรุงเตกูซิกัลปา เมื่อ 5 ก.ค. แต่ไม่สามารถลงจอดได้เพราะทหารใช้ยานพาหนะขวางรันเวย์ (ที่มา: AP Photo/Eduardo Verdugo)
ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีเซลายายืนชี้กองเลือด ซึ่งเป็นจุดที่ชายผู้หนึ่งถูกทหารยิง ภายนอกท่าอากาศยานนานาชาติในกรุงเตกูซิกัลปา ฮอนดูรัส เมื่อ 5 ก.ค. (ที่มา: AP Photo/Rodrigo Abd)
หญิงคนหนึ่งกำลังปลอบโยน นางซิลเวียร์ เมนซิลาส (Silvia Mencillas) (ขวามือ) ซึ่งยืนอยู่ข้างโลงของลูกชายนายอิซี มูริลโย่ (Isy Murillo) อายุ 19 ปี ภาพถ่ายเมื่อ 6 ก.ค. โดยมูริลโย่ถูกยิงเมื่อวันอาทิตย์หลังจากที่กองทัพพยายามป้องกันสนามบินระหว่างปะทะกับผู้ชุมนุม (ที่มา: AP Photo/Rodrigo Abd)
ภาพเผยแพร่ของประธานาธิบดีอาเจนติน่า ในภาพคือนางคริสตีนา เฟอร์นันเดช เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาเจนติน่า (Cristina Fernandez de Kirchner) (ขวามือ) และคู่สนทนาคือประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ราฟาเอล คอร์เรอา (Rafael Correa) (ซ้ายมือ) และเลขาธิการองค์การรัฐอเมริกัน (OAS) โฮเซ่ มิเกล อินซุลซา (Jose Miguel Insulza) บนเครื่องบินแทงโก 01 ขณะทำกลางบินอยู่ในน่านฟ้าภูมิภาคอเมริกากลางมุ่งหน้าสู่เอลซัลวาดอร์ เมื่อ 5 ก.ค. (ที่มา: REUTERS/Presidency/Handout)
มานูเอล เซลายา (สวมหมวก แถวนั่งที่ 2 จากซ้าย) แถลงข่าวที่ท่าอากาศยานนานาชชาติโคมาลาปา (Comalapa) ประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อ 5 ก.ค. หลังไม่สามารถร่อนลงจอดที่ฮอนดูรัสได้
ในภาพถัดจากเซลายา คนซ้ายมือคือประธานาธิบดีราฟาเอล คอเรอาแห่งเอกวาดอร์ ส่วนคนที่ััถัดจากเซลายาทางขวา คนที่ 3 จากขวามือคือประธานที่ประชุมสมัยที่ 63 ของสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ มานูเอล เดสคอร์โต (Manuel d'Escoto) ถัดมาคือคริสตีนา เฟอร์นันเดช เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาเจนติน่า ส่วนขวามือสุดคือประธานาธิบดีปารากวัย เฟอร์นันโด ลูโก (Fernando Lugo) (ที่มา: REUTERS/Luis Galdamez)
มิเชลเลตติสั่งปิดสนามบิน “เซลายา” กลับลำไปลงเอลซัลวาดอร์
มานูเอล เซลายา ประธานาธิบดีฮอนดูรัสมีแผนการเดินทางโดยเครื่องบินจากสหรัฐฯ มายังท่าอากาศยานนานาชาติตอนคอนติน กรุงเตกูซิกัลปา อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลชั่วคราวฮอนดูรัสห้ามไม่ให้เซลายานำเครื่องบินลงจอดในประเทศ ทำให้เครื่องบินที่มีประธานาธิบดีผู้ถูกทำรัฐประหารต้องเบี่ยงเส้นทางไปลงจอดในประเทศเอลซัลวาดอร์ แทน
เหตุที่เครื่องบินของเซลายาเปลี่ยนเส้นทางนั้นเนื่องมาจากมีกองทัพของฮอนดูรัสนำยวดยานมาจอดขวางรันเวย์ไว้ไม่ให้เครื่องบินลงจอดได้ โดยขณะที่เครื่องบินกำลังเปลี่ยนเส้นทางบนน่านฟ้าของสนามบินฮอนดูรัส ก็มีประชาชนผู้สนับสนุนเซลายาที่มาชุมนุมพากันส่งเสียงเชียร์
เซลายาระบุว่าเขาอาจพยายามเสี่ยงกลับประเทศอีกครั้งในวันที่ 6 หรือ 7 ก.ค. นี้ และพยายามนำตัวเองคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งที่ยังมีกลุ่มรัฐบาลต่อต้านเขาอยู่
โดยในช่วงเช้าของวันที่ 6 ก.ค.ตำรวจและทหารออกมาตรวจตราตอมท้องถนนของกรุงเตกูซิกัลปาพร้อมกระบองและด้ามพลองเหล็ก นอกจากนี้ทางการยังได้สั่งปิดสนามบินและยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ชุมนุมปะทะทหารที่สนามบิน ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว 1 ราย
โดยในวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมามีกลุ่มผู้สนับสนุนเซลายาที่สนามบินและกลุ่มทหารกำลังปะทะกัน มีอย่างน้อยหนึ่งรายเสียชีวิตจากการปะทะกันในครั้งนี้ โดยเหตุปะทะเริ่มจากการที่กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายากว่าพันคนพังรั้วใกล้ๆ กับรันเวย์เพื่อมาต้อนรับเซลายา
ช่างภาพของสำนักข่าว AP ที่อยู่ในเหตุการณ์รายงานว่า ผู้เสียชีวิตคนดังกล่าวถูกยิงเข้าที่ศีรษะซึ่งยิงมาจากด้านในสนามบินขณะที่ผู้ชุมนุมพยายามพังรั้ว ส่วนสภากาชาดระบุว่าผู้เสียชีวิตคนดังกล่าวว่าเป็นชายอายุ 19 ปีจากเมืองโอลานโช (Olancho) บ้านเกิดของเซลายา
ล่าสุดทราบชื่อ ชายที่เสียชีวิตคนดังกล่าวแล้วคือนายอิซี มูริลโย่ (Isy Murillo)
สภากาชาดยังได้รายงานอีกว่ามีประชาชนอย่างน้อย 30 ราย ได้รับบาดเจ็บหลังจากที่กลุ่มผู้รักษาความสงบยิงปืนขู่และฉีดแก๊สน้ำตา
ขณะที่เครื่องบินของเซลายากำลังกลับลำเพื่อไปยังเอลซัลวาดอร์ นั้น ผู้สนับสนุนเขาร่วมกันประสานเสียงว่า “พวกเราต้องการหมวกเหล็กสีน้ำเงิน” ซึ่งหมายถึงกองกำลังรักษาความสงบของสหประชาชาติ (Peacekeepers) ผู้ชุมนุมบางคนถึงกับร้องไห้
“พวกเรากลัวมาก พวกเราเสียใจเพราะพวกทหารไม่ยอมให้เมล (ชื่อเล่นของมานูเอล เซลายา) กลับมา แต่พวกเราก็จะไม่ยอมพ่ายถอยไป” คาริน อันตูเนซ ผู้ชุมนุมอายุ 27 กล่าว “พวกเราคือประชาชนและพวกเราก็จะเดินขบวนต่อไป เพื่อให้ประธานาธิบดีของพวกเรากลับบ้าน”
โดยหลังจากที่เครื่องบินกลับลำออกไปแล้ว ก็มีรถบรรทุกกลุ่มตำรวจขับเข้ามาสั่งให้ทุกคนออกไปจากพื้นที่
มาติกัส เซาเซดา นักสิทธิมนุษยชนวัย 65 ปี บอกว่านี่คือสงคราม “ลองจินตนาการดูสิว่า มันจะเลวร้ายขนาดไหนหากประธานาธิบดีบินอยู่เหนือน่านฟ้านี้แล้วแต่พวกเขาก็ไม่อนุญาตให้เขาลงจอด”
ขณะเดียวกันประธานาธิบดีมานูเอล เซลายาได้กล่าวขณะอยู่ที่เอลซัลวาดอร์ว่า “ทหารชาวฮอนดูรัส อย่าได้หันปากกระบอกปืนไปยังพี่น้องของพวกเราเองเลย”
เขายังได้ในการแถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ที่ผ่านมาด้วยว่า “ผมขอเรียกร้องให้ทหารฮอนดูรัสวางปืนลงเสีย” ซึ่งในที่ประชุมแถลงข่าวในครั้งนี้มีประธานาธิบดีของเอลซัลวาดอร์, อาร์เจนตินา, ปารากวัย, เอกวาดอร์ และประธาน OAS ที่บินมาจากสหรัฐฯ ร่วมอยู่ด้วย
“ผมต้องเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเพื่อการแก้ปัญหาในครั้งนี้โดยปราศจากความรุนแรง” เซลายากล่าวต่อ โดยเขาวางแผนจะเดินทางไปยังนิคารากัวต่อ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้สหประชาชาติ, องค์การรัฐอเมริกัน, สหรัฐฯ และประเทศในยุโรป “ทำอะไรสักอย่างกับรัฐบาลที่แข็งกร้าวนี้”
มิเชลเลตตีปฏิเสธไม่มีการเจรจาจนกว่าประเทศจะสงบ
ซึ่งโฮเซ่ มิเกล อินซัลซา ประธาน OAS บอกว่าเขากำลังพยายาม "ดำเนินการทางการฑูตอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย"
ขณะที่รักษาการประธานาธิบดีของฮอนดูรัส โรเบอร์โต มิเชลเลตตี กล่าวว่าเขาจะไม่ยอมให้มีการเจรจาใดๆ จนกว่า สิ่งต่างๆ จะกลับสู่สภาพปกติ "พวกเราจะอยู่ที่นี่จนกว่าประเทศจะสงบ" มิเชลเลตตีกล่าว "พวกเราเป็นตัวแทนของประชาชนโดยแท้จริง"
ขณะที่เลขาธิการสหประชาชาติ บัง คี มูน กล่าวเมื่อวันที่ 6 ก.ค. ว่าเขารู้สึกเสียใจกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมในฮอนดูรัส และเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องประชาชน โดยกล่าวว่าพวกเขาควรได้รับสิทธิ์ให้การแสดงความเห็นโดยไม่ถูกข่มขู่
เลขาธิการสหประชาชาติยังได้ย้ำคำเดิมว่า รัฐประหารเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา ฮอนดูรัสก็ถูกองค์การรัฐอเมริกัน (OAS) เพิกถอนสมาชิกภาพ เนื่องจากรัฐบาลชั่วคราวของฮอนดูรัสไม่ยอมคืนตำแหน่งให้กับประธานาธิบดีเซลายาภายในสามวันตามกำหนด ซึ่งการถูกเพิกถอนสมาชิกภาพนี้อาจทำให้ฮอนดูรัสต้องประสบความลำบากด้านเงินทุนกู้ยืมจากพหุภาคี ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ก็ได้ระงับความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ฮอนดูรัส ประเทศที่ยากจนเป็นอันดับสามในเขตซีกโลกตะวันตก รองจากเฮติ และนิคารากัว
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Honduras blocks ousted leader's return, Patrick Markey, Reuters, 06-07-2009
Honduras slides toward greater instability, WILL WEISSERT and JEANNETH VALDIVIESO, AP, 06-07-2009 http://news.yahoo.com/s/ap/20090706/ap_on_re_la_am_ca/lt_honduras_coup_155