WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 7, 2011

มองผ่านโพล'น้ำท่วม'ฉุดเรตติ้งรัฐบาล

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ



เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ไทยกำลังประสบอยู่ขณะนี้ กระทบทั้งต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและภาคธุรกิจ

และยังส่งผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลที่สะท้อนผ่านการสำรวจของโพลสำนักต่างๆ

เดือนก.ย. น้ำเหนือไหลบ่าลงสู่จังหวัดด้านล่างและเกิดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นระหว่างวันที่ 19-24 ก.ย. พบว่า 'หน่วยงาน' ที่ประชาชนพอใจในการให้ความช่วยเหลือ 3 อันดับแรกคือ สื่อมวลชนร้อยละ 26.88 รัฐบาลร้อยละ 25.50 เอกชน/บริษัท/ห้างร้าน ร้อยละ 18.52

'จุดเด่น' ของการช่วยเหลือที่ประชาชนพอใจ ส่วนมากร้อยละ 39.49 พอใจภาครัฐและเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รวดเร็วขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.67 พอใจเรื่องของบริจาค ขณะที่ 'จุดด้อย' ร้อยละ 56.70 ระบุความช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.58 คิดว่าการรับมือน้ำท่วมในกทม. น่าจะป้องกันได้บ้าง ร้อยละ 24.49 เชื่อว่าป้องกันได้แน่นอน ส่วนน้อยร้อยละ 11.77 ที่เห็นว่าไม่น่าจะป้องกันได้ และแค่ร้อยละ 3.89 ที่เห็นว่าป้องกันไม่ได้

แต่เมื่อมวลน้ำจากเหนือมากขึ้น น้ำท่วมจากจังหวัดหนึ่งเข้าสู่จังหวัดหนึ่ง จากที่มั่นใจก็ชักไม�แน�ใจ

เข้าสู่ต้นต.ค. เอแบคโพลล์สุ่มสำรวจจากกลุ่มผู้นำชุมชนในพื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ไล่ตั้งแต่เหนือมาถึงปทุมธานี ระหว่างวันที่ 1-8ต.ค. ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 ระบุการช่วยเหลือผู้ประสบภัยยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 76.3 การช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ทั่วถึง

ขณะที่สวนดุสิตโพลเจาะกลุ่มสำรวจไปที่คนกรุงที่กำลังลุ้นกระแสน้ำจะทะลัก เข้าเมืองหลวงหรือไม่ ระหว่าง 4-8 ต.ค. พบคนกทม. ร้อยละ 56.26 ไม่มั่นใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพราะปริมาณน้ำที่เข้ามามีมาก พื้นที่ต่างๆ ไม่ได้เตรียมความพร้อม

แต่อีกร้อยละ 43.38 ยังมั่นใจ เพราะรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ โดยที่ร้อยละ 52.03 ไม่มั่นใจการแก้ปัญหาของกทม. เพราะปริมาณน้ำในปีนี้มีมากกว่าทุกปี ร้อยละ 47.97 ระบุว่ามั่นใจ

ถาม ถึงความประทับใจต่อการช่วยเหลือของฝ่ายต่างๆ ร้อยละ 29.31 ประทับใจสื่อมวลชน ร้อยละ 21.73 ประชาชน ร้อยละ 20.40 หน่วยกู้ภัย มูลนิธิต่างๆ มีเพียงร้อยละ 16.59 ที่ประทับใจรัฐบาล/หน่วยงานภาครัฐ

ประเด็นความพอใจในการช่วยเหลือนี้ เอแบคโพลล์สำรวจต่อเนื่องระหว่าง 1-15 ต.ค. ให้คะแนนความพอใจต่อหน่วยงานและคณะบุคคล


จาก คะแนนเต็ม 10 พบว่าสื่อมวลชน อาสาสมัครและสื่อมวลชน ได้คะแนนสูสีกันตามลำดับคือ 9.47, 9.44 และ 9.12 โดยมีรัฐบาล ตำรวจ ฝ่ายค้าน รั้งท้าย

อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยความเห็นใจและให้กำลังใจนายกฯ ยังสูงถึง 9 คะแนน

และร้อยละ 56.8 ยังต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานจนครบวาระ

กลางต.ค. วิกฤตน้ำท่วมร้ายแรงมากขึ้น ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลช่วงวันที่ 10-15 ต.ค. พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 44.36 ค่อนข้างเครียดเพราะกลัวน้ำท่วมบ้าน ร้อยละ 29.37 เครียดมาก เพราะรับรู้ข่าวมาต่อเนื่องนานนับเดือน มีเพียงร้อยละ 9.55 ที่ไม่เครียด ร้อยละ 16.69 ไม่ค่อยเครียด

และร้อยละ 42.33 ไม่แน่ใจว่าเหตุน้ำท่วมจะเป็นจุดเริ่มต้นของความปรองดองระหว่างรัฐบาล-ฝ่าย ค้าน ด้วยเหตุผลน้ำท่วมกับการเมืองคนละเรื่องกัน และยังไม่เห็น 2 ฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง

เมื่อสถานการณ์เขม็งเกลียวมากขึ้นประชาชนกลับรู้สึกว่าการสื่อสารของภาครัฐตะกุกตะกัก ไม�ชัดเจน

การสำรวจระหว่าง 17-18 ต.ค. ของเอแบคโพลล์ต่อการแถลงข่าวของศปภ. ส่วนมากร้อยละ 86.2 ระบุไม่ชัดเจน ร้อยละ 89.3 สับสนกับข้อมูลที่ได้รับ ร้อยละ 87.2 ไม่วางใจ ไม่เชื่อถือต่อการให้ข้อมูลข่าวน้ำท่วมของศปภ.

และให้คะแนนความพอใจต่อการให้ข้อมูลของศปภ.แค่ 3.36 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พอใจต่อการแจ้งเตือนประชาชนเพียง 3.08 คะแนน

ประชาชนยังรู้สึกว่าฝ่ายการเมืองได้ซ้ำเติมสถานการณ์โดยนำเรื่องน้ำท่วมมาเล่นเกมการเมือง

เอแบคโพลล์สุมสำรวจชาวกทม. ระหว่าง 15-22 ต.ค. พบว่าร้อยละ 83.6 ทุกข์ใจมากถึงมากที่สุดเมื่อได้ข่าวความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ประชาชน ประสบอุทกภัย ร้อยละ 81.1 อยากเห็นความร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย กับผู้ว่าฯ กทม.

ช่วงเวลาเดียวกัน 19-22 ต.ค. สวนดุสิตโพลสำรวจความเห็น 'น้ำท่วมกับการเมือง' ร้อยละ 76.52 เชื่อว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะต่างฝ่ายต่างป้องกันพื้นที่ฐานเสียงของตัวเอง

และร้อยละ 70.02 มองว่าเมื่อมีการนำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้การแก้ปัญหายิ่งยากขึ้นเพราะมีแต่ความขัดแย้ง ชิงดีชิงเด่น

ร้อยละ 67.10 เห็นว่าพรรคที่นำการเมืองเข้ามาแทรกจะมีผลทำให้คะแนนนิยมลดลง

ส่งผลถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือโดยไม่หวังผลทางการเมือง 3 อันดับแรกคือ หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายในหลวง นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยกู้ภัย/อาสาสมัคร/มูลนิธิ

เข้าสู่ปลายต.ค น้ำท่วมขยายวงเข้าในหลายเขตของกทม. และปริมณฑล สวนดุสิตโพลสำรวจระหว่าง 26-29 ต.ค. ถามซ้ำเรื่องข้อมูลน้ำท่วมที่รัฐบาลสื่อสารถึงประชาชน ร้อยละ 37.27 ระบุข้อมูลสับสน ไม่ชัดเจน ขาดความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 24.20 เห็นว่าข้อมูลแต่ละหน่วยงาน/บุคคล สับสนจนไม่รู้จะเชื่อข้อมูลจากหน่วยไหนดี

ร้อยละ 19.34 เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง 12.92 ข้อมูลที่มีการนำเสนอไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องการรู้ ร้อยละ 6.27 ไม่มีข้อมูลจากผู้รู้จริง ทำให้ชะล่าใจหรือตื่นตระหนกเกินไป

สำหรับความมั่นใจต่อความช่วยเหลือ ส่วนมากร้อยละ 84.88 มั่นใจทหาร เพราะมีกำลังพลมาก มีเครื่องมืออุปกรณ์ ร้อยละ 80.24 สื่อมวลชน เพราะมีศักยภาพด้านการประชาสัมพันธ์และระดมสิ่งของบริจาค

อันดับ 3 ร้อยละ 71.11 รัฐบาล เพราะเห็นว่านายกฯ เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 70.22 ผู้ว่าฯ กทม.

ความมั่นใจดังกล่าวสอดรับกับความเห็นใจในความเสียสละของหน่วยงานที่เข้ามา ช่วยน้ำท่วม ซึ่งทหารได้ความเห็นใจสูงถึงร้อยละ 93.16 นายกฯ เกาะติดมาที่ ร้อยละ 91.06 สื่อมวลชน ร้อยละ 88.48 ผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ 73.97

ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ สำรวจคนกทม. ระหว่าง 28-29 ต.ค. ผลที่ออกมาไม่ต่างกัน ร้อยละ 74.9 ระบุความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่อผู้ประสบภัยยังไม่ทั่วถึง

และว่าสิ่งที่นายกฯ ต้องเร่งช่วยเหลือ ร้อยละ 73.3 ระบุต้องปรับปรุงการทำงานของตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปาเป็นการด่วน ร้อยละ 70.2 ให้ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 61.5 ให้ปรับปรุงศูนย์ฮอตไลน์

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสนายกฯ แก้ปัญหาภัยพิบัติต่อไป

เข้าสู่เดือนพ.ย. หลายจังหวัดในปริมณฑลยังจมน้ำ ขณะที่กระแสน้ำในกทม.กินพื้นที่เพิ่มขึ้นในหลายเขต สวนดุสิตโพล สำรวจดัชนีการเมืองระหว่างวันที่ 25 ต.ค.-4 พ.ย. เปรียบเทียบเดือนก.ย. และต.ค.

พบว่าพิษน้ำท่วมทำดัชนีการเมืองรูดลงเหลือ 4.44 จากคะแนนเต็ม 10

ผลงานนายกฯ ลดลงจาก 6.05 เหลือ 5.05 ผลงานรัฐบาล 5.76 เหลือ 4.72 ฝ่ายค้าน 5.42 เหลือ 4.94 ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย 5.12 เหลือ 4.69

เทียบแล้วพบคะแนนในเดือนต.ค. ลดลงจากเดือนก.ย. ทุกด้าน

1-5 พ.ย. สวนดุสิตโพล สำรวจภาพรวมการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล คนที่อยู่ในศูนย์พักพิงและไม่ได้อยู่ในศูนย์ คิดไม่ต่างกันว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลไม่ได้ผลเท่าที่ควร

โดยพบว่า คนที่อยู่ในศูนย์ ร้อยละ 46.90 เห็นว่ารัฐบาลยังขาดการเตรียมพร้อมที่ดี ร้อยละ 24.39 การสื่อสารและแจ้งข้อมูลไม่ชัดเจน ขณะที่ร้อยละ 24.39 เห็นว่าน่าพอใจระดับหนึ่ง

คนที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์ ร้อยละ 41.53 เห็นว่าการให้ความช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง ร้อยละ 20.56 เห็นว่าการแก้ปัญหาขาดประสิทธิภาพ ขาดผู้รู้จริง ร้อยละ 20.56 ข้อมูลสับสน การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน

เอแบคโพลล์ สำรวจ ระหว่างเสียงสะท้อนของผู้ประสบภัยต่อผู้ให้ความช่วยเหลือ 1-5 พ.ย. เช่นกัน พบคะแนนความพอใจต่อศูนย์ร้องทุกข์ หรือสายด่วนต่างๆ จากเต็ม 10

สายด่วนบริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 มาเป็นที่ 1 ด้วยคะแนน 6.83 ขณะที่ ศปภ.โทร. 1111 กด 5 มาเป็นที่ 5 ได้ 5.51 คะแนน

ส่วน ความพอใจในการรับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน/บุคคล ทหารยังครองใจผู้ประสบภัยมากที่สุด ได้ 9.56 คะแนน ตามด้วยอาสาสมัคร 9.10 คะแนน สื่อมวลชน 9.08 คะแนน ตำรวจ 9.05 คะแนน

ขณะที่ความพอใจต่อกทม. และรัฐบาล ได้ 8.34 และ 8.3 คะแนน

นี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จะเห็นได้ว่าความ 'มั่นใจ' และความ 'พอใจ' ต่อการแก้ปัญหาและความช่วยเหลือของรัฐบาลลดน้อยลง

วันนี้ยังพอมีเวลาที่รัฐบาลจะพลิกวิกฤต ขึ้นอยู่กับว่าจะทำได้หรือไม่