WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 6, 2011

ระดมสมอง′รัฐ-เอกชน′ ทางรอดหลังวิกฤตท่วม

ที่มา มติชน



หมายเหตุ - โครงการหลักสูตรผู้บริหารสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 3 สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาสาธารณะ เรื่อง "ทางรอด วิกฤตเศรษฐกิจไทย หลังภัยน้ำท่วม" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

"ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้

เพราะกรมชลประทานและ กทม. ด่ากันทุกวัน

โยนงานกันไปมา หารือกันแล้วไม่ดำเนินการ

หาก กทม.ทยอยระบายน้ำมาก่อนหน้านี้

ไม่ปิดกั้นประตูระบายน้ำไว้

ปัญหาคงไม่เกิดขึ้น "





นายพิชัย นริพทะพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ต้อง ยอมรับว่าความรุนแรงของน้ำครั้งนี้เยอะจริงๆ ไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าน้ำจะไปทิศทางไหน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วัดปริมาณน้ำฝนในภาคกลางพบว่า มีเพิ่มถึง 250% เมื่อเทียบกับปี 2553 โดยที่ไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ ทำให้แม่น้ำยมที่ไหลมาโดยไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ ไหลมาจนท่วม ขณะนี้น้ำล้อมกรุงเทพฯ 4-5 พันล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เพราะฉะนั้น โจทย์จากนี้ไป น้ำที่มีปริมาณรวมทั้งหมดกว่า 1 หมื่นล้าน ลบ.ม. จะระบายน้ำออกได้อย่างไร เพราะ กทม. มีศักยภาพที่จะระบายได้เพียง 500 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเท่านั้น น้ำท่วมครั้งนี้คาดว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน

จุด แย่ที่สุด อาจเป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน การระบายน้ำต้องดีขึ้น เพื่อให้น้ำไหลออกไป แต่ปริมาณน้ำใน กทม. จะเท่าเดิม ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้เพราะกรมชลประทานและ กทม. ด่ากันทุกวัน โยนงานกันไปมา หารือกันแล้วไม่ดำเนินการ หาก กทม.ทยอยระบายน้ำมาก่อนหน้านี้ไม่ปิดกั้นประตูระบายน้ำไว้ ปัญหาคงไม่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้มีการเล่นการเมืองเกิดขึ้น เห็นชัดๆ คือ เวลานายกฯลงพื้นที่ก็เปิดประตูระบาย พอหันหลังกลับก็ปิด

จึงอยากขอ ความเห็นใจจากทุกฝ่ายให้ช่วยระบายน้ำออกจาก กทม. แต่จะท่วมถึง 50 เขตทั้ง กทม. หรือไม่ ตอบไม่ได้ ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ ก็คือกรมชลประทานกับผู้ว่าฯกทม. มาจากคนละพรรคการเมืองกัน จึงอยากขอให้อย่าเอาประชาชนมาเป็นตัวประกันทางการเมือง ปริมาณน้ำมหาศาลขนาดนี้ก็คงท่วมแน่ แต่ถ้าลองคิดง่ายๆ ถ้าปริมาณน้ำมี 1 หมื่นล้าน ลบ.ม. ระบายได้วันละ 500 ล้าน ลบ.ม. ก็ใช้เวลา 20 วัน น้ำอาจอยู่ใน กทม. ประมาณนั้น

ส่วนกรณีที่ กฟผ.ตกเป็นจำเลย ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปล่อยน้ำทำให้น้ำท่วมประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ขอชี้แจงว่า กฟผ.ทำหน้าที่ดูแลเขื่อนและผลิตไฟฟ้า แต่การปล่อยน้ำจะมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ โดยมีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน และมีกรรมการอีก 8-9 คนที่มาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ตัดสินใจ อยากให้ลองย้อนมองกลับไปถึงช่วงเดือนกรกฎาคม 2554 น้ำในเขื่อนมีปริมาณสูงมาก รัฐบาลก่อนหน้าไม่ได้บริหารจัดการ ผมเชื่อว่าประเด็นน้ำท่วมจะถูกนำไปอภิปรายในสภา ผมมีข้อมูลพร้อมจะชี้แจง และมีข้อมูลตัวเลขต่างๆ ถึงการบริหารจัดการน้ำ

ระยะสั้นเราต้องเร่ง ฟื้นฟูอุตสาหกรรม โดยวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ จะเริ่มสูบน้ำจากเครื่องสูบน้ำ 140 เครื่อง โดยเริ่มจากนิคมสหรัตนนคร และนิคมโรจนะ คาดว่า จะเดินเครื่องการผลิตได้ใน 3-4 เดือนข้างหน้า นายกฯกำลังรวบรวมแผนเยียวยาทุกภาคส่วน โดยจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 พฤศจิกายน

สำหรับโครงการนิวไทยแลนด์ ที่ว่าจะใช้เงินลงทุนสูงถึง 9 แสนล้านบาท ผมอยากให้มองว่า อย่าเพิ่งคิดถึงเงินว่ามันจะเท่าไร แต่อยากให้คิดว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร



นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

เหตุ อุทกภัยที่เกิดขึ้น คาดว่า จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม 6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นความเสียหายต่อภาคเกษตร 10 ล้านไร่ คิดเป็นความเสียหาย 7 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นข้าว 2-3 ล้านตัน จึงคาดว่าราคาข้าวบรรจุถุงน่าจะมีราคาสูงขึ้น ส่วนความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมประมาณ 4-5 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวปีนี้คาดว่าจะเสียหาย 5-6 หมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวลดลงจาก 19 ล้านคนเหลือ 16 ล้านคน แต่ถ้าสถานการณ์น้ำท่วมเข้าเต็มพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในคาดว่าความเสียหายต่อ เศรษฐกิจน่าจะสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท

ขณะนี้ความเสียหายกระเทือน ห่วงโซ่การผลิตในต่างประเทศด้วย ซึ่งหมายความว่าตัวเลขความเสียหายอาจมากกว่าที่ประเมินไว้ รัฐบาลควรจะประกาศให้ชัดว่าต่อจากนี้จะไม่มีน้ำท่วมอีก ขณะที่มาตรการเยียวยาของรัฐบาลคงต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ต้นทุนต้องต่ำ และควรจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีอย่าง เต็มที่ โดยเฉพาะการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำและมาตรการผ่อนปรนด้านภาษีต่างๆ

เร็วๆ นี้ ภาคเอกชนจะเสนอรัฐบาลชะลอการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2555 ออกไป 1 ปี การลดจาก 30% เหลือ 23% ที่มีส่วนต่าง 7% นั้น จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาให้ภาคเอกชนนำเงินดังกล่าวจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ ประกอบการ เช่น ให้กู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการลงทุนร่วมภาคเอกชน ทั้งนี้ ตัวเลข 7% ของส่วนต่างภาษีคิดเป็นเงินจำนวน 7 หมื่นล้านบาท



นายธนวรรธน์ พลวิชัย

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เหตุการณ์ น้ำท่วมครั้งนี้ใหญ่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัย 62 จังหวัด ปัจจุบันที่ยังมีน้ำท่วมขัง 28-30 จังหวัด คิดเป็น 50-60% ของระบบเศรษฐกิจ คาดว่า จะมีความเสียหาย 4-5 แสนล้านบาท หากลากยาวถึงปี 2555 คาดว่า ความเสียหายจะสูงถึง 6-7 แสนล้านบาท ความเสียหายเฉพาะไร่นา ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท เพราะกินพื้นที่ 60 จังหวัด และเกษตรกรต้องใช้เวลา 4 เดือนในการฟื้นฟูไร่นา

ความเสียหายด้านอุตสาหกรรม ประมาณ 2 แสนล้านบาท เฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าปีนี้จะผลิตรถยนต์ลดลง 2 แสนคัน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะได้รับความเสียหายประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ไม่รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีก จึงคาดว่าส่งผลกระทบต่อแรงงาน 6-7 แสนคน

รัฐบาลต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาคท่องเที่ยวด้วย เพราะคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 3-4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับภาคการค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 4 หมื่นล้านบาท แต่หากน้ำท่วมเข้าเขตพื้นที่กรุงเทพฯในคาดว่าความเสียหายจะมากกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท หากผลกระทบลากยาวถึงปีหน้าคาดว่าความเสียหายอาจจะถึง 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลจึงควรจะพิจารณาว่าเศรษฐกิจจะโตได้หรือไม่หลังน้ำลด เพราะคาดว่าเศรษฐกิจไตรมาส 4/2554 จะหดตัว 3% ขณะเดียวกัน ต้องพิจารณาด้วยว่า หนี้สาธารณะหลังการฟื้นฟูจะเป็นอย่างไร อย่าก่อหนี้สาธารณะสูงมากนักและจีดีพีต้องโตพร้อมกับลดความเหลื่อมล้ำการ เข้าถึงบริการทางการเงินของผู้มีรายได้น้อย

รัฐบาลควรจะเข้าไปดูแล สภาพคล่องทางการเงินโดยเฉพาะเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย ขณะที่ระยะยาวควรวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นให้นักลงทุนต่างประเทศ เพราะคาดว่ามีความเสี่ยงไม่เพียงแค่นักลงทุนต่างชาติจะย้ายฐานการผลิต แต่นักลงทุนไทยก็เริ่มหาทางย้ายฐานการผลิตด้วย



นายจิรากรณ์ คชเสนี

ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย

ปี 2538 กทม. เคยเจอวิกฤตน้ำท่วมมาแล้ว ดังนั้น ครั้งนี้อยากให้มองว่า กทม.ท่วมเป็นปกติเพราะเป็นพื้นที่ต่ำ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกัน คือการตั้งผังเมือง ไม่ใช่เฉพาะใน กทม. แต่เป็นผังเมืองประเทศ อยากให้ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมนิคมอุตสาหกรรมถึงไปก่อสร้างในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ลุ่ม

ตอน นี้ไทยได้เวลาที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะคู่แข่งส่งออกข้าวก็ได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าประเทศไทย จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ชาวนาไทยจะขายข้าวได้ราคาดีขึ้น

การวางแผนการ ฟื้นฟูประเทศนอกจากการฟื้นฟูอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องมองไปเรื่องที่ต้นตอของปัญหาที่เกิดจากการฟื้นฟูระบบนิเวศด้วย โดยเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนความมั่นคงทางนิเวศ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติแต่ละปีคิดเป็นเงินกว่า 1 แสนล้านบาท

หลังจากนี้ไม่ใช่จะพูดถึงแต่วิธีป้องกันน้ำท่วมอย่าง เดียว แต่ต่อไปจะเจอปัญหาภัยแล้งอีก ไม่อย่างนั้นเราก็ต้องแก้ไขกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีการวางแผน ซึ่งกองทุนจะเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขได้ โดยระดมเงินส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลและอีกส่วนหนึ่งมาจากภาคประชาชน นำไปฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายฝั่ง

ผม มองว่าขณะนี้รัฐบาลยังมีช่องว่างทำให้เกิดปัญหาคือ การขาดการประสานงานและการรวบรวมข้อมูลที่ให้มารวมกันจุดเดียว จึงอยากให้รัฐบาลมองให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาในจุดนี้



นายอุบล อยู่หว้า

ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรทางเลือก

อยาก เสนอให้รัฐบาลพิจารณาให้ยกหนี้เกษตรกรในรอบการผลิตก่อนเกิดเหตุอุทกภัย เนื่องจากหลังน้ำลดเกษตรกรจำเป็นต้องฟื้นฟูโรงเรือน รัฐบาลต้องผลักดันให้บริษัทเจ้าหนี้ร่วมฟื้นฟูความเสียหายร่วมกับเกษตรกร ด้วย ขณะเดียวกัน ควรเร่งกระจายเมล็ดพันธุ์ให้ถึงมือเกษตรกรโดยเร็วเพื่อให้ทันกับการฟื้นฟู หลังน้ำลด ขณะที่การแก้ปัญหาในระยะยาวควรจัดระบบการสำรองเมล็ดพันธุ์และอาหารในระดับ ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ

คาดว่า หลังน้ำลดภาครัฐจะต้องลงทุนด้านการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ จำนวนมาก แต่ขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินงานเช่นเดียวกับการบริหารจัดการน้ำ