WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 11, 2011

บางกอกบัณฑิต วิเคราะห์ปริมาณน้ำเข้า-ออกเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

ที่มา ประชาไท

บล็อกเกอร์ ‘บางกอกบัณฑิต’ (Bangkok Pundit) วิเคราะห์ปริมาณน้ำเข้า-ออกเขื่อนหลักทั้งสองแห่ง โดยพล็อตกราฟแสดงข้อมูล 6 ปีย้อนหลัง ชี้ การปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์น่าจะมีผลต่อน้ำท่วมไม่มากก็น้อย

‘บางกอกบัณฑิต’ (Bangkok Pundit) บล็อกเกอร์ด้านการเมืองไทย นำเสนอบทวิเคราะห์ปริมาณน้ำเข้า-ออกในเขื่อนภูมิพล ในเว็บไซต์ Asian Correspondent โดยประมวลข้อมูลจากน้ำในเขื่อนภูมิพล 6 ปีย้อนหลัง และพล็อตกราฟเพื่อเปรียบเทียบและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมได้ อย่างน่าสนใจ ประชาไท จึงนำมาแปลเป็นภาษาไทยและนำเสนอ ดังนี้

0000

เขื่อนภูมิพล: น้ำเข้า-ออก และความจุเขื่อน

ผู้เขียนได้ตามหาตัวเลขต่างๆเกี่ยวกับเขื่อนภูมิพลในรูปแบบที่อ่านเข้าใจ ง่ายและสามารถเทียบกับตัวเลขของปีอื่นๆในตัวด้วยเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้เราจะพิจารณา 3 กราฟพร้อมๆ กันไป คือ กราฟที่ 1 ปริมาตรน้ำที่เก็บกักในเขื่อนภูมิพล กราฟที่ 2 คือปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในเขื่อนภูมิพลของแต่ละปีตั้งแต่ปี 2548-2554 และสุดท้าย กราฟที่ 3 คือปริมาณน้ำระบายสะสมในแต่ละปีของเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ปี 2548-2554

กราฟที่ 1 ปริมาตรน้ำที่กักเก็บในเขื่อนภูมิพล ระหว่างปี 2548-2554

BP Bhumibol 1

ที่มา Bangkok Pundit

ที่มา: กรมชลประทาน – เมื่อลองคลิ๊กที่เพจนี้ดูจะมีกราฟฟิกที่น่าสนใจมากให้ชม และเมื่อเอาเมาส์ไปวางบนเส้นในกราฟนั้น จะแสดงผลปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนของวันนั้นๆด้วย

หมายเหตุ: แกนกราฟแนวตั้งทางซ้ายมือแสดงตัวเลขหน่วยเป็น ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่ผู้เขียนเขียนไว้ว่า normal คือระดับความจุเต็มที่ของเขื่อน

บางกอกบัณฑิต: ว่ากันจริงๆแล้วตอนช่วงต้นปีไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้นมาก แต่สังเกตว่าพอถึงเดือนมีนาคม 2554 แทนที่น้ำจะลดลงเพราะเขื่อนปล่อยน้ำตามตัวเลขในปีก่อนๆหน้า ปริมาณน้ำกลับยังคงเดิมเป็นแนวราบในกราฟ จนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคมก็เริ่มพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

กราฟที่ 2 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในเขื่อนภูมิพลของแต่ละปี ระหว่างปี 2548-2554

BP Bhumibol 2

ที่มา Bangkok Pundit

ที่มา: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แต่ในเว็บไซต์ระบุไว้ว่าได้ข้อมูลมาจากกรมชลประทานอีกต่อหนึ่ง

หมายเหตุ: แกนกราฟแนวตั้งทางซ้ายมือแสดงตัวเลขหน่วยเป็น ล้านลูกบาศก์เมตร แกนแนวนอนคือวันที่ โดยแสดงวันที่ทุกๆ 26 วัน (ไม่รู้ว่าทำไมเป็นแบบนั้น!) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ข้อมูลแบบเต็มสามารถดูได้เฉพาะ 7 ปีที่ผ่านนี้เท่านั้น

บางกอกบัณฑิต: ปี 2554 เป็นปีที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บกักน้ำของเขื่อนมากที่สุด เห็นได้จากในกราฟอย่างชัดเจนเลยว่า ปี 2554 นี้มีปริมาณน้ำไหลเข้าในเชื่อนเป็นจำนวนถึง 2 เท่าของปริมาณน้ำปกติในปีอื่นๆ (2548, 2549-2552) น้ำในเขื่อนของปี 2554 เริ่มมีจำนวนมากกว่าปีอื่นๆเมื่อประมาณวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่เราเห็นได้ว่าเส้นกราฟของปีนี้นั้นพุ่งขึ้นเร็วกว่าเส้นกราฟของปีอื่นๆ ตั้งแต่ตอนต้นปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ต้องพึงสังเกตด้วยว่าแม้แต่ในปีที่แห้งแล้งที่สุด (2553) ก็ยังมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเป็นปริมาณถึง 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร หมายความว่าแม้แต่ในปีที่น้ำน้อย ก็ยังมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเยอะอยู่ดี ในวันที่ 1 สิงหาคม (อันเป็นจุดที่กราฟของปีนี้เริ่มพุ่งทะยานขึ้น) น้ำในเขื่อนเพิ่มจาก 3.353 พันล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 11.689 พันล้านลูกบาศก์เมตรในวันที่ 1 พฤศจิกายน เท่ากับ 8.336 พันล้านลูกบาศก์เมตรในเวลาเพียง 3 เดือน หรือคือ 90 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

หมายเหตุ: มีความล่าช้าอยู่บ้างจากวันที่มีฝนตกจนถึงวันที่น้ำไหลเข้าเขื่อน ดังนั้น ไม่ได้แปลว่าจู่ๆมีฝนตกในเดือนมิถุนายน แต่สังเกตดูว่าหน้าฝนเริ่นต้นขึ้นค่อนข้างเร็ว คือเริ่มในเดือนมีนาคม ดูโพสต์นี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคอีสาน

กราฟที่ 3 ปริมาณน้ำระบายสะสมในแต่ละปีของเขื่อนภูมิพล ระหว่างปี 2548-2554

BP Bhumibol 3

ที่มา Bangkok Pundit

ที่มา: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แต่ในเว็บไซต์ระบุว่าได้ข้อมูลมาจากกรมชลประทานอีกต่อหนึ่ง

หมายเหตุ: แกนกราฟแนวตั้งทางซ้ายมือแสดงตัวเลขหน่วยเป็น ล้านลูกบาศก์เมตร แกนแนวนอนคือวันที่ โดยแสดงวันที่ทุกๆ 25 วัน (ไม่รู้ว่าทำไมเป็นแบบนั้น!) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ข้อมูลแบบเต็มสามารถดูได้เฉพาะ 7 ปีที่ผ่านนี้เท่านั้น

บางกอกบัณฑิต: โปรดสังเกตดูว่ามีการระบายน้ำในระยะแรกน้อยเพียงใด ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 มีการระบายน้ำไปเพียง 1.545 พันล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น (ดูตรงเส้น 1500 ในกราฟ) ซึ่งเป็นจุดที่ปริมาณการระบายน้ำเริ่มเปลี่ยนไปจากปริมาณเฉลี่ยที่ระบายออก ในปีอื่นๆ หลังจากนั้น เมื่อถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ปริมาณน้ำที่ระบายออกทั้งหมดคือ 2.5 พันล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น และกราฟก็เป็นแนวราบไปเลยหากเทียบกับค่าเฉลี่ยของปีอื่นๆ โดยในปี 2550-2553 มีการระบายน้ำออกถึง 3 พันล้านลูกบาศก์เมตรเมื่อถึงต้น/กลางเดือนเมษายน แต่ในปี 2554 นั้น กว่าจะระบายได้ 3 พันล้านลูกบาศก์เมตรก็ปาเข้าไปตั้งวันที่ 16 สิงหาคม

ตามจริงแล้ว เมื่อถึงวันที่ 2 สิงหาคม – เมื่อมีการระบายน้ำไปแล้ว 2.838 พันล้านลูกบาศก์เมตร – ปริมาณน้ำที่ระบายออกทั้งหมดที่ผ่านมาของปี 2554 ก็ยังน้อยกว่าทั้งปี 2548 อยู่ดี และ ถือว่าเป็นปริมาณการระบายน้ำที่น้อยที่สุดในรอบ 7 ปีที่บันทึกไว้เลยด้วยซ้ำ ทั้งที่ปี 2554 เป็นปีที่มีน้ำเก็บกักในเขื่อนเยอะที่สุดในรอบปีที่ผ่านมาอีกต่างหาก การระบายน้ำเพิ่งจะมาระบายจริงจังกันหลังจากวันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งก็คงเป็นความพยายามที่จะไม่ให้น้ำล้นปริมาตรสูงสุด 100% ของเขื่อนนั่นเอง

ดังนั้น ปัญหาก็คือแบบที่ ดร. สมิทธ ได้กล่าวไว้แล้วว่า ไม่มีการระบายน้ำที่เพียงพอในระยะต้นของหน้าฝนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง มีนาคม-กรกฎาคม ก่อนที่อุทกภัยจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อวานนี้ ผู้ว่าการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ให้สัมภาษณ์อธิบายไว้ใน บางกอกโพสต์ ว่า

ช่วงเวลาที่วิกฤติจริงคือเดือนกรกฎาคม หรือเมื่อระดับน้ำเริ่มที่จะสูงขึ้นมากๆ ในขณะที่ความสนใจของประเทศกับฝ่ายราชการไปอยู่กับการเลือกตั้งและการตั้ง รัฐบาลเพื่อไทยกันหมด แต่นายสุทัศน์กล่าวว่า จะไม่เป็นธรรมนักหากจะลากเอาหน่วยงานของเขาเข้ามาเกลือกกลั้วในการสาดโคลน ทางการเมืองกันว่า เป็นต้นเหตุของน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ โดยนายสุทัศน์ชี้ว่าสาเหตุมาจากฝนที่ตกหนักเกินปกติในปีนี้ต่างหาก

“ประเทศนี้กำลังอยู่ในระหว่างวิกฤติภัยธรรมชาติ แทนที่เราจะมาใส่ร้ายกัน เรามาช่วยกันร่วมมือแก้ไขปัญหาดีกว่า” นายสุทัศน์กล่าว

นายสุทัศน์กล่าวด้วยว่า ที่พูดๆ กันทั่วเมืองว่าน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนทางตอนเหนือทำให้เกิดน้ำท่วมนั้น ผิดถนัด

เขายืนยันว่าความจริงคือตรงข้ามกันเลยต่างหาก ถ้าหากไม่มีเขื่อนใหญ่ทั้งสองเขื่อน ที่ลุ่มภาคกลางก็จะถูกน้ำท่วมถึง 30 พันล้านลูกบาศก์เมตรเรียบร้อยแล้ว หรือเท่ากับสองหรือสามเท่าของปริมาณน้ำที่ท่วมอยู่ทุกวันนี้

กรมชลประทานยังให้ข้อมูลด้วยว่า ในรอบ 10 เดือนของปีนี้ เขื่อนภูมิพลได้สะสมน้ำมาทั้งหมด 11.488 พันล้านลูกบาศก์เมตร และระบายออกไป 4.085 ล้านลูกบาศก์เมตร [บางกอกบัณฑิต: ไม่จริง มีการระบายน้ำออกไป 6.163 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่างหาก ดูที่นี่สำหรับหลักฐาน]

เขื่อนสิริกิติ์ สะสมน้ำมาทั้งหมด 10.3 พันล้านลูกบาศก์เมตร และระบายออก 6.573 พันล้านลูกบาศก์เมตร

ที่ลุ่มภาคกลางในขณะนี้ถูกท่วมจากน้ำที่เอ่อล้นมาจากแม่น้ำ 5 สาย คือ ปิง วัง ยม เจ้าพระยา และ สะแกกรัง

เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตเป็นแหล่งจ่ายน้ำสำหรับทำการชลประทานให้แก่ จังหวัดภาคกลางถึง 20% ทั้งสองเชื่อนมีน้ำอยู่ในเขื่อนน้อยมาก หรือเพียง 45-50% ของความจุเต็มที่เท่านั้น ตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องด้วยจากภัยแล้ง

เมื่อพายุโซนร้อนไหหม่าพัดเข้าถล่มในเดือนมิถุนายนนั้น แม่น้ำสายต่างๆในประเทศ รวมทั้งสะแกกรัง ยม และวัง ต่างก็มีระดับน้ำเอ่อล้นจนทะลักตลิ่ง และเกิดเป็นอุทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และนครสวรรค์

ทั้งเขื่อนภูมิพลที่มีความจุ 13.46 พันล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนสิริกิตที่มีความจุ 9.51 พันล้านลูกบาศก์เมตร ต่างก็หยุดการระบายน้ำออกในช่วงเวลานี้

ตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนที่แล้ว มีพายุลูกใหญ่ๆพัดเข้าประเทศไทยอีกถึง 4 ลูก ส่งผลให้เขื่อนเกือบทุกแห่งในประเทศเต็มความจุ รวมทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตด้วย

กฟผ. ต้องจำใจเปิดประตูระบายน้ำ (สปิลเวย์) ของเขื่อนสิริกิตตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคมจนถึงต้นเดือนกันยายน ในขณะที่เขื่อนภูมิพลต้องเปิดประตูระบายน้ำเมื่อเดือนที่แล้ว

“ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยปกติจะโดนพายุใหญ่เข้า 2 หรือ 3 ลูกต่อปี” นายสุทัศนน์ชี้แจง “แต่ปีนี้ เราโดนถึง 5 ลูก ทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะให้น้ำไหลไปลงอ่าวไทยได้ทัน”

บางกอกบัณฑิต: เห็น การใช้ตรรกะวิบัติไหม? เราไม่ได้วิจารณ์เลยว่าปัญหาคือเรา “มี” เขื่อน แต่วิจารณ์ว่าน่าจะระบายน้ำได้มากกว่านี้และเร็วกว่านี้ต่างหาก คน ที่อ่านคำสัมภาษณ์ของนายสุทัศน์คงต้องงงเป็นไก่ตาแตกเป็นแน่เมื่ออ่านถึงตอน ที่นายสุทัศน์บอกว่า “ที่พูดๆกันทั่วเมืองว่าน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนทางตอนเหนือทำให้เกิดน้ำท่วม นั้น ผิดถนัด” เพราะว่า ถ้านายสุทัศน์พูดแบบนี้ แสดงว่าการระบายน้ำจากเขื่อนไม่ได้ส่งผลให้มีน้ำท่วมมากขึ้นเลยหรือ? การปล่อยน้ำลงมาไม่ได้เพิ่มระดับน้ำท่วมหรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำ ท่วมเลยจริงหรือ?

โอเค ข้ออ้างที่ว่ามีพายุโซนร้อนไหหม่าพัดเข้าประเทศไทยเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2554 ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำได้เพราะถ้าปล่อยน้ำไปอาจจะเสี่ยงให้น้ำท่วมทวีความ รุนแรงเข้าไปอีกน่ะ พอฟังขึ้นได้แน่นอน แต่ข้ออ้างดังกล่าว มันขัดกับข้ออ้างที่ว่า การระบายน้ำไม่ได้ส่งผลต่อน้ำท่วมใดๆเลยมิใช่หรือ??? อย่างไรก็ตาม หากดูจากปริมาณน้ำที่ระบายออกในปี 2554 นี้ ไม่ได้มีแค่เดือนมิถุนายนเท่านั้นที่ปล่อยน้ำน้อยเกินไป เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2554 ก็ยังระบายน้ำได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของที่ปกติระบายกันในปีก่อนๆ ผู้เขียนเข้าใจว่าคงมีปัจจัยอื่นๆด้วย และปริมาณน้ำฝนจากภาคเหนือสูงเป็นพิเศษจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา แต่การปล่อยน้ำเพียงน้อยนิดเช่นนี้ มีแต่จะทวีความรุนแรงของอุทกภัยเท่านั้นเอง

000

จากนั้น บางกอกบัณฑิต ได้โพสต์ข้อสังเกตเกี่ยวกับปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ดังนี้....

โพสต์ก่อนหน้านี้ ได้วิเคราะห์ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลไปแล้ว แต่ในโพสต์นี้ จะพิจารณาถึงเขื่อนหลักๆ อีกเขื่อนหนึ่งนั่นคือเขื่อนสิริกิติ์ โดยมีสามกราฟที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์พร้อมกัน ประกอบไปด้วย 1. ปริมาตรน้ำที่ถูกเก็บกักอยู่ในเขื่อนสิริกิติ์ 2. ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างสะสมลงเขื่อนสิริกิติ์ในแต่ละปี ระหว่างปี 2548-2554 และ 3. ปริมาณที่ถูกระบายออกสะสมจากเขื่อนสิริกิติ์ในแต่ละปี ระหว่างปี 2548-2554

กราฟที่ 1 ปริมาตรน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในเขื่อนสิริกิติ์ระหว่างปี 2548-2554

BP Sirikit 1

ภาพโดย Bangkokpundit

ที่มาของข้อมูล: กรมชลประทาน – เมื่อคุณคลิกเข้าไปดูในหน้าเพจ จะมีกราฟิกที่น่าสนใจอยู่ และเมื่อคุณเอาเมาส์ไปวางเหนือเส้นบนกราฟ จะปรากฎปริมาณน้ำที่แน่นอนในเขื่อนของแต่ละวัน

หมายเหตุ: แกนแนวตั้งมีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) และการอ้างอิงโดยปกติคิดจาก 100 เปอร์เซ็นต์ของความจุ แกนแนวนอน ซ้ายไปขวาคือปี 2548 ถึง 2554 นี่เป็นปีที่มีข้อมูลแบบเต็ม

บางกอกบัณฑิต: จะเห็นว่า ในช่วงเดือนแรกๆ ของปี ยังไม่มีอะไรที่ผิดสังเกตมากนัก ถึงแม้เมื่อถึงเดือนเมษายน 2554 จะเริ่มเห็นแนวโน้มการคงที่ของปริมาณน้ำ แต่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนของปี 2554 เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และกราฟก็พุ่งสูงขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในวันที่ 25 มิถุนายน มีน้ำปริมาณ 5.201 พันล้าน ลบ.ม.และเพิ่มขึ้นเป็น 6.140 พันล้าน ลบ.ม. เมื่อถึงวันที่ 2 กรกฎาคม ซึ่งนับเป็นเกือบหนึ่งพันล้าน ลบ.ม.ในระยะเวลาเพียงอาทิตย์เดียว เห็นได้ชัดว่า การเพิ่มขึ้นสูงของปริมาณน้ำในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ทำให้เขื่อนกักเก็บปริมาณน้ำที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับ 6 ปีที่ผ่านมา

กราฟที่ 2 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในเขื่อนสิริกิติ์ของแต่ละปี ระหว่างปี 2548-2554

BP Sirikit 2

ภาพโดย Bangkokpundit

ที่มาของข้อมูล: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แต่ก็ได้ระบุไว้ว่าข้อมูลตัวเลขที่ได้มาจากกรมชลประทาน

หมายเหตุ: แกนแนวตั้งมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร แกนแนวนอนเป็นวันที่ มีรอบทุกๆ 26 วัน (ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม) และเริ่มจากเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนธันวาคม ข้อมูลเต็มๆ มีเฉพาะ 7 ปีนี้เท่านั้น

บางกอกบัณฑิต: ปี 2554 เป็นปีที่มีปริมาณน้ำมากที่สุดที่ไหลเข้าสูอ่างเก็บน้ำ โดยน้ำที่ไหลเข้ามาในเวลาเดียวกันของปี 2554 คิดเป็น 2 เท่าของปริมาณน้ำที่เคยมีมา 6 ทั้งปีก่อนหน้า และเมื่อปลายเดือนมิถุนายนก็ปรากฎปริมาณน้ำที่พุ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายนนั้นเอง ปริมาณน้ำก็เริ่มพิสดารขึ้น น้ำในเขื่อนยังเพิ่มสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ และเพิ่งมาในตอนนี้เองที่ระดับน้ำจะดูคงที่มากขึ้น

หมายเหตุ: มันมีความเหลื่อมกันอยู่บ้างระหว่างวันที่ฝนตก และวันที่น้ำไหลเข้าสู่เขื่อน ดังนั้น มันจึงไม่ได้หมายความว่าฝนเริ่มตกในเดือนมิถุนายนโดยทันที ถึงแม้ว่ามันจะมีพายุโซนร้อนในปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งสามารถอธิบายสาหตุถึงปริมาณน้ำจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่เขื่อนในช่วงนี้ แต่คุณจะเห็นด้วยว่า ฤดูฝนได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว ตามโพสต์นี้ ที่ว่าด้วยปริมาณน้ำฝนในภาคเหนือ

กราฟที่ 3 ปริมาณน้ำระบายสะสมในแต่ละปีของเขื่อนสิริกิติ์ ระหว่างปี 2548-2554

BP Sirikit 3

ภาพโดย Bangkokpundit

ที่มาของข้อมูล: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แต่ก็ได้ระบุไว้ว่าข้อมูลตัวเลขที่ได้มาจากกรมชลประทาน

หมายเหตุ: แกนแนวตั้งทางซ้ายมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร แกนแนวนอนเป็นวันที่ ซึ่งมีรอบทุกๆ 25 วัน และเริ่มจากเดือนมกราคมถึงธันวาคม ข้อมูล “ฉบับเต็ม” สามารถหาได้แค่ 7 ปีนี้เท่านั้น

บางกอกบัณฑิต: เราจะเห็นว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 มีการพร่องน้ำ 2.503 พันล้านลบ.ม. นับเป็นปริมาณน้ำที่ถูกพร่องมากที่สุดในจุดเดียวกันเมื่อเทียบกับ 6 ปีก่อนๆ แต่แทนที่จะยังคงปล่อยน้ำในระดับเดิมต่อไป มันกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัดในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งมีการพร้องน้ำจำนวน 3.167 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นการปล่อยน้ำที่น้อยที่สุดเป็นลำดับสองเมื่อเทียบกับระยะเวลาหกปี ก่อนๆ การพร่องน้ำในปริมาณน้อยนี้ยังคงเป็นต่อมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งในจุดนี้ มีเพียงจำนวน 3.542 ลบ.ม. เท่านั้นที่ถูกปล่อย และหลัง จากนั้น ปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยก็เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อถึงวันที่ 5 สิงหาคมก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก โดยพร่องน้ำจำนวน 3.967 ลบ.ม. จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม มีการปล่อยน้ำถึง 5.280 ลบ.ม. ซึ่งนับเป็นการปล่อยน้ำที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี

เราคงต้องตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงมีการปล่อยน้ำน้อยผิดปรกติระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึง 13 กรกฎาคม? มีการพร่องน้ำเพียง 1 พันล้านลบ.ม. เท่านั้นในช่วงนี้ ซึ่งน้อยกว่าถึง 1-2 พันล้าน ลบ.ม. ในช่วงเดียวกันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา ยกเว้นปี 2553 ทั้งนี้ เมื่อถึงสิ้นเดือนมิถุนายน เราเข้าใจได้ว่ามันลดน้อยลงอย่างกะทันหันเนื่องจากมีพายุโซนร้อนเข้ามา แต่ในช่วงเดือนก่อนหน้านี้เล่า มันเป็นเพราะเหตุใด? ซึ่งนั่นก็ทำให้เราจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการพร่องน้ำเมื่อน้ำได้ท่วมแล้ว

สุดท้ายนี้ เมื่อคำนึงถึงปริมาณฝนในปีนี้ ผู้เขียนคิดว่า ถึงแม้เราจะมีระบบการจัดการน้ำที่ดีกว่านี้ เราก็ยังประสบน้ำท่วมอยู่ดี เพราะมันมีน้ำจำนวนมากเกินกว่าที่ระบบจะจัดการได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า การพร่องน้ำออกจากเขื่อนช้า ทำให้ปัญหาน้ำท่วมแย่ลง เนื่องจากมันบังคับให้ปริมาณมากต้องถูกปล่อยตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา 5 ใน 6 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นปี 2553 (ซึ่งมีการปล่อยน้ำที่น้อยกว่านั้นอีก) มีการปล่อยน้ำต่ำกว่า 1 พันล้าน ลบ.ม. ระหว่างช่วงวันที่ 1 สิงหาคมถึง 31 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2554 มีการปล่อยน้ำสูงถึง 4 พันล้าน ลบ.ม. – จาก 3.946 พันล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 1 สิงหาคม เป็น 8.206 พันล้านลบ.ม. ในวันที่ 31 สิงหาคม มวลน้ำที่ปล่อยออกมานี้เองที่ทำให้ปัญหาน้ำท่วมถูกซ้ำเติมเข้าไปอีก มันอาจจะระบุได้อยากว่า ควรจะมีการปล่อยน้ำก่อนหน้านี้เท่าใดกันแน่ แต่มันเป็นความผิดพลาดแน่ที่มีการกักเก็บน้ำไว้มากจนต้องปล่อยออกมาในเดือน สิงหาคม ซึ่งน้ำได้ท่วมไปแล้ว

มาถึงตอนนี้ ผู้เขียนคิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะทำมากกว่านี้ได้ในการป้องกันน้ำท่วม ด้วยระบบเตือนภัยที่ทันเวลาและเตรียมพร้อมในการรับมือความเสียหายที่ดีกว่า และ กทม. ก็เช่นเดียวกัน แต่เมื่อดูจากปริมาณน้ำฝนและน้ำที่ถูกปล่อยออกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ตัวเลือกที่มีอยู่ ก็คงต้องเป็นการตัดสินใจว่าจะให้น้ำเข้าท่วมที่ไหน และรักษาที่ไหนให้ได้มากกว่า