WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 12, 2011

รายงาน: เปิดบ้านหลังใหญ่ที่ชลบุรีของผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ที่มา ประชาไท

กว่าสามพันชีวิตในศูนย์พักพิงแห่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดชลบุรี พวกเขาอยู่อย่างไร สภาพชีวิตเป็นเช่นไร สภาพจิตใจยังไหวไหม การจัดการในบ้านหลังใหญ่เป็นอย่างไร

น้ำมาแล้ว !

หลายคนอพยพไปหาที่พักตากอากาศต่างจังหวัด หลายคนไปอาศัยอยู่กับเพื่อนฝูง ญาติมิตร ใช้ชีวิตแบบเหงาๆ งงๆ ตามหัวเมืองแหล่งท่องเที่ยว แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่น้ำมาถึงก่อนใคร ท่วมลึกกว่าใครเพราะอยู่ชานกรุง ไม่มีทางเลือกเช่นนั้น พวกเขาต้องขนย้ายตัวเองและลูกหลานอย่างทุลักทุเล ไปอยู่บ้านหลังมหึมา พร้อมเพื่อนบ้านนับพันๆ คน

ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยที่ สถาบันการพลศึกษาชลบุรี เป็นแหล่งใหญ่ที่เปิดรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาตั้งแต่ 27 ต.ค. และรองรับประชาชนจากศูนย์พักพิงแหล่งอื่นที่จมน้ำไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นดอนเมือง ธรรมศาสตร์ รังสิต บางเขน ฯ

ณ วันที่ 10 พ.ย. สถาบันการพลศึกษาชลบุรี รองรับผู้ประสบภัยแล้ว 3,500 คน กระจายกันอยู่ตามอาคารต่างๆ ราว 10 อาคาร และหากรวมกับศูนย์พักพิงอื่นๆ ในจังหวัดชลบุรีอีกกว่าสิบแห่ง ก็จะมีผู้ประสบภัยถึง 8,052 คน

สภาพที่นอนที่วางเรียงรายในอาคารและเต๊นท์ที่กางอยู่เต็มพื้นที่รอบๆ ตึก เป็นภาพชินตาที่หลายคนเห็นบ่อยๆ จากทีวี อย่างไรก็ตาม การรองรับผู้คนหลายพันในสถาบันการพลศึกษามีการบริหารจัดการที่น่าสนใจ เพราะเปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี เข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการ ดูแลผู้ประสบภัย ที่กระจายอยู่ในอาคารต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 300-700 คนในแต่ละอาคาร โดยมีตึกศูนย์อำนวยการเป็นศูนย์กลาง

การให้เทศบาล หรือ อบต. แต่ละแห่งแบ่งกันดูแลแต่ละอาคาร ทำให้การดูแลค่อนข้างทั่วถึง และแต่ละตึกก็จะมีกฎระเบียบที่เข้มงวดแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ดูแล

อาหารการกินที่นี่ไม่ได้ขาด มีหลายหน่วยงานคอยเข้ามาบริจาค จนต้องมีการจัดคิวเพื่อไม่ให้ชนกัน ส่วนงบประมาณนั้น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นเจ้าภาพหลัก แต่ดูเหมือนยังได้มาเพียงน้อยนิด ส่วนมากอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานนอกภาครัฐ และ อปท. แม้ว่า อปท.หลายพื้นที่จะกังวลการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแห่งชาติ (สตง.) เพราะตามกฎระเบียบแล้วท้องถิ่นไม่สามารถใช้งบประมาณในการช่วยเหลือนอก พื้นที่ได้ กระนั้น ก็มีความพยายามออกหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยให้เข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ได้

กอบชัย บุญอรณะ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชลบุรี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันได้งบประมาณจาก พม.แล้ว 4 ล้าน และกำลังจะได้มาอีก 6 ล้าน ขณะที่ค่าใช้จ่ายจริงๆ นั้นสูงกว่านั้นมาก อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดได้ของบประมาณกับรัฐบาลไปอีก 35 ล้าน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการตอบกลับ




ถัดจากศูนย์อำนวยการมีเต๊นท์ฝึกอาชีพให้กับผู้ประสบภัย
มีคนให้ความสนใจฝึกตัดผม นวดฝ่าเท้ากันไม่น้อย
นอกจากนี้ยังมีซุ้มให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ

====

อาคารยิม G อยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองแสนสุข อาคารนี้มีผู้พักพิงกว่า 400 คน มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้ประสบภัยแต่ละคนจะได้ฟูกคนละแผ่น มีหมอนและผ้าห่ม ส่วนทรัพย์สมบัติก็วางอยู่หัวนอน ส่วนมากจะเป็นตะกร้าผ้า ลังใส่ของ คนส่วนใหญ่หนีน้ำฉุกละหุก ไม่มีใครเอาได้เอาอะไรมามากนัก

เด็กๆ เล่นกันเจี๊ยวจ๊าว ผู้ปกครองเด็กๆ เล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่กำลังจะจัดกำลังครูมาสอนพิเศษให้เด็กๆ ที่ยังเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อที่เมื่อโรงเรียนเปิดหลังน้ำรด พวกเขาจะสามารถเรียนได้อย่างรวดเร็ว โดยทางศูนย์ฯ จะออกใบรับรองการเรียนให้ด้วย

ขณะที่เด็กหลายคนสนใจลงทะเบียนไปกับรถที่ทางศูนย์จัดไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ บางวันก็ไปทะเล บางวันไปไหว้พระ

สำหรับคนหนุ่มสาว พวกเขาสามารถหางานทำเป็นรายวันได้ เพราะสถานประกอบการ บริษัท ห้างร้าน จะมาเปิดโต๊ะลงทะเบียนรับสมัครงานอยู่ที่ศูนย์อำนวยการ กระนั้น ผู้ประสบภัยบางรายบอกว่า บริษัทส่วนใหญ่รับสมัครผู้ที่มีวุฒิการศึกษา และจำกัดอายุไม่เกิน 35 ปี ทำให้ป้าๆ ลุงๆ หรือแม่ยังสาวที่มีลูกต้องดูแล ถูกคัดออก

“เราเสนอกับเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่า อยากให้ช่วยหางานที่เอามาทำที่นี่ได้ พวกโอท็อป ดอกไม้ประดิษฐ์ หรืออะไรก็ได้ ที่นั่งทำอยู่นี้ พวกป้าๆ เขาก็อยากทำงาน นั่งเฉยๆ ทั้งวันมันก็เบื่อมันก็เครียด ” ปวริศา ภูมิแก้ว คุณแม่ลูกสาวเล่า และว่าเจ้าหน้าที่รับปากจะเสนอในที่ประชุมแต่ยังไม่มีความคืบหน้า

ปวริศา อาศัยอยู่ย่านสายไหม เธอออกมาอยู่ศูนย์พักพิงที่ชลบุรีได้สองอาทิตย์แล้ว พร้อมลูก 3 คน วัย 3 ปี 9 ปี และ 11 ปีตามลำดับ โดยที่สามียังทำงานเป็น รปภ.อยู่ที่หมู่บ้านย่านสายไหมที่น้ำยังไม่ท่วม

“พอลูกเมียมาอยู่นี่แล้ว เขาก็สบายใจ ทำงานได้ เพราะคู่กะเขาน้ำท่วม ลากันหมด เหลือแต่เขานั่นแหละ”

แม้จะอยู่ในสภาวะยากลำบาก แต่ปวริศายืนยันว่าเธอไม่เครียด และสามารถทำใจได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

“ไม่ได้เครียดอะไร เดี๋ยวค่อยคิดหลังน้ำลด ชีวิตเราดูแลตัวเองมาตั้งแต่ 10 ขวบ แย่กว่านี้ก็เจอมาแล้ว ลูกก็อยู่ได้สบายเพราะเราเลี้ยงเขาให้อยู่ได้ทุกสถานการณ์” ว่าพลางหันมองลูกชายคนเล็กวัย 3 ปีที่นอนดูดนมอยู่บนฟูก

“แต่บางคนเขาก็เครียดมาก สองอาทิตย์แล้วยังทำใจไม่ได้เลย นั่งเหม่อลอย เห็นอย่างนั้นเราก็พยายามเข้าไปคุย คุยไปคุยมาเขาก็สบายใจขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนมีอายุ”

ครอบครัวของปวริศา 4 ชีวิต นอนรวมกันบนฟูกสองผืน ด้านบนเป็นลังสมบัติส่วนตัว
แยกเป็นของลูกคนต่างๆ เพื่อจะได้เก็บขนมที่ได้รับแจกของใครของมัน ไม่ทะเลาะกัน
เธอว่า 4 คนนอนได้สบาย เพราะอยู่บ้านก็นอนเรียงกันใกล้ชิดอยู่แล้ว

ระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ประกาศเสียงแข็งว่าใครเป็นประจำเดือน ไม่มีใครยกมือ บรรยากาศตึงเครียด เจ้าหน้าที่สาวพูดต่อว่ามีคนนำผ้าอนามัยใช้แล้วไปเสียบไว้ตรงก๊อกน้ำในห้อง น้ำ พร้อมกับต่อว่าและเรียกร้องให้ทุกคนช่วยกันดูแลความสะอาดของส่วนรวม

“เรื่องมันเยอะ อยู่กันร้อยพ่อพันแม่ บางคนเขาก็ไม่ให้ความร่วมมือเลย นึกจะทำอะไรทำ นึกจะทิ้งอะไรทิ้ง อย่างจัดเวรทำความสะอาดแถวตัวเองนี่ คนที่ทำก็หน้าเดิมๆ ไม่เคยเปลี่ยนหน้า” ปวริศาหันมาอธิบาย

========

ป้าแจ๊ว หญิงวัยกลางคนร่างอวบ เสียงดัง นั่งสรวลเสเฮฮากับเพื่อนๆ อยู่ด้านหน้า เธอแต่งหน้า ใส่ขนตาปลอมเต็มยศดูสดใสเหมือนเสียงหัวเราะของเธอ

ป๊าแจ๊วแอนด์เดอะแก๊งค์อพยพมาจากลำลูกกา พวกเขาตั้งวงเล่าให้ฟังถึงสภาพน้ำท่วมที่มาเร็ว มาแรง และสูงถึงคอภายในครึ่งวันอย่างออกรส โดยเฉพาะป๊าแจ๊วซึ่งเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่ต้องเดินลุยน้ำเท่าอกจูงเรือไปรับคนป่วย คนแก่ในซอยจนนาทีสุดท้าย ก่อนจะย้ายมาศูนย์พักพิง เธอว่าน้ำพุ่งออกตามท่อในบ้านชนิดที่เอาถุงทรายวางทับยังไม่อยู่

ชาวบ้านแถบนั้นอพยพตัวเองออกมาอย่างทุลักทุเล ไม่นึกว่าน้ำจะมาเยอะและมาเร็วเท่านี้ พวกเขาออกมานั่งอยู่บนเกาะกลางถนนนับพันคนเพื่อรอรถมารับหนีน้ำ น้ำ อาหาร ต้องขอเอาจากคนที่ขับรถใหญ่ผ่าน ป้าแจ๊วว่าเธอรอตั้งแต่เที่ยงจนเย็นว่าจะได้รถทหารมาขนคน และเดินทางไปขึ้นรถต่อที่คลอง 7 ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงกว่า และกว่าจะเดินทางถึงชลบุรีก็ 4 ทุ่มกว่า

“มันสุดๆ เลยจิงๆ จะว่าสนุกมันก็สนุกนะอีตอนนั้น ตอนนี้พูดได้แล้ว แต่ตอนมานี่ใหม่ๆ ไม่อาบน้ำเลย 3 วันใส่ชุดเดิม เครียดมาก นั่งอยู่อย่างนั้นแหละ ใครมาพูดด้วยก็ไม่พูด ใครยุ่งมากแม่พาลด่าหมด หลังๆ เริ่มมีเพื่อน คุยกันได้เฮฮา”

“สภาพจิตใจตอนนี้จะให้ดีเลย มันคงไม่ได้ ยังไงมันก็ไม่ใช่บ้านเรา แต่ก็ดีฝ่าตอนแรกๆ มาก” ป๊าแจ๊วว่า “แต่ยังไงก็ต้องขอบคุณคนชลบุรี”

ป้าแจ๊วหอบลูกหลานมาอยู่ทั้งหมด 6 คน ส่วนเพื่อนป้าแจ๊วบางคนที่มาจากชุมชนเดียวกัน เจอหมาตัวเล็กติดอยู่บนหลังคา ไม่รู้ของใครทิ้งไว้ ก็เก็บมาอยู่ที่นี่ด้วย เพราะที่นี่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงมาพักด้วยได้ แต่เจ้าของจะต้องกางเต๊นท์นอนข้างนอก

ป้าแจ๊วว่า ในวันที่หนีน้ำออกมา คนในชุมชนโดนไฟดูดเสียชีวิตไป 3 คน เนื่องจากไปจับสื่อกลางที่เป็นเหล็กขณะอยู่ในน้ำ ขณะที่แม่บ้านลำลูกกาอีกคนบอกว่าซอยของเธอก็มีคนถูกไฟดูดเสียชีวิตยกครัว พ่อ แม่ ลูก

======

อารีย์ อ่วมนับถือ อาศัยอยู่ย่านดอนเมือง อาชีพรับจ้างซักรีด พาหลานๆ 3 คนและพ่อชรามาอยู่ที่นี่หลายวันแล้ว ส่วนพี่สาวของเธออยู่อีกอาคารหนึ่งกับน้องชายที่เป็นอัมพฤกษ์

“น้ำมาตอนยังไม่สิ้นเดือน เขายังไม่จ่ายค่าซักผ้า ออกมาเลยไม่มีเงินติดตัวมาเลย ปกติจะได้เดือนละหกเจ็ดพัน มันเล็กน้อยสำหรับคนอื่น แต่มันมากสำหรับเรา ไหนจากทรัพย์สินเราอีก เครื่องซักผ้าไปหมด” อารีย์เล่า

สิ่งที่สะเทือนใจเธอมากที่สุดคือวันหนีน้ำ เธอบอกว่าได้โทรแจ้งหลายหน่วยให้เข้ามาช่วยเคลื่อนย้ายน้องชายที่นอนขยับไม่ ได้บนเตียงนอน ทั้ง ศปภ. สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง และเอ็นจีโออีกแห่งหนึ่ง ทุกหน่วยงานรับปาก แต่ไม่มีใครมา

“ส.ส.ดอนเมืองก็ไม่มีมามอง เรารอหน่วยงานที่รับปากตั้งแต่เช้าจนหกโมงเย็น ก็ไม่มีใครมา สุดท้ายโทรบอกว่ารถเสีย เรือเสีย สุดท้ายพี่สาวลุยน้ำมาวัดดอน หาตามทหารไปช่วยน้อง เหลืออีกนิดเดียวน้ำจะถึงเตียงนอนเขาแล้ว”

“สำนักนายกฯ ทุกวันนี้เขาก็โทรมาขอโทษ วันนั้นเราโกรธมาก เราเสียใจ เพราะเรามีความหวังกับเขา แต่ตอนนี้เราพอทำใจได้ก็เข้าใจ”

อารีย์เล่าต่อว่าเมื่ออพยพไปถึงวัดดอน พวกเขากลับพบเจ้าหน้าที่เขตดอนเมืองที่นั่นที่คอยบอกว่าให้ย้ายไปที่อื่น เพราะที่นี่ไม่ให้ศูนย์อพยพ ชาวบ้านพยายามขอร้องเพราะน้ำท่วมสูงล้อมไว้หมด หลายคนถึงกับร้องไห้ แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ยอม ชาวบ้านจึงยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมเช่นกัน ท้ายที่สุด พระที่วัดต้องออกหาเรี่ยไรเงินมาหุงหาอาหารเลี้ยงผู้อพยพฉุกเฉินนับร้อย

สำหรับสภาพความเป็นอยู่ที่นี่ เธอว่าค่อนข้างดี มีบริการตั้งพัดลมตัวใหญ่หลายจุด มีทีวีให้ดู ที่สำคัญ มีเครื่องซักผ้าไว้บริการอีก 3 เครื่อง พร้อมผงซักฟอก

“ดีมากเลย แต่เห็นแล้วคิดถึงเครื่องซักผ้าที่บ้าน” เธอกล่าวทิ้งท้ายพร้อมหัวเราะขื่นๆ