WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 12, 2011

มวลน้ำ แผนที่มวลน้ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ

ที่มา ประชาไท

ประชา แม่จัน
pracha_meachun@yahoo.com

บ้านผมน้ำท่วม 1.5 เมตร แต่ไม่คิดว่าจะต้องให้ที่อื่นต้องท่วมเหมือนของผม ไม่ใช่เพราะผมอยากจะเสียสละให้คนอื่นสุขสบาย แต่มวลน้ำหมื่นล้าน ลบ.ม. ทำให้คิดว่า ถ้าระบายน้ำไป 1 ลบ.ม. ย่อมมีน้ำมาแทนที่ในจำนวนเดียวกัน ไม่ทางที่ความสูงน้ำจะลดลงอย่างง่ายดาย จึงไม่จำเป็นต้องให้ที่อื่นเปียกแบบเดียวกัน ไม่น่าจะต่างจากการเดินเข้าเส้นขอบฟ้า ซึ่งเป็นเส้นในจินตนาการที่เราเดินเข้า 1 ก้าว เส้นนี้จะถอยออกไป 1 ก้าวเช่นกัน
ในเมื่อน้ำท่วมไปแล้ว ผมต้องการรู้แค่ว่า น้ำท่วมได้อย่างไร ถ้าเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นเพราะการจัดการผิดพลาดก็ต้องเอาตัวคนผิดมาลงโทษ
เมื่อผมติดตามสารสนเทศเรื่องน้ำอย่างใกล้ชิด ก็พบว่ามีความแตกต่างในด้านการให้น้ำหนักกับข้อมูล เมื่อเทียบกับผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำที่ปรากฏบนสื่อสาธารณะ รวมถึงบางคนที่สื่อนำข้อเขียนของเขาบนโพสต์บนเว็บไซต์ของสื่อนั้นๆ
แค่ถามว่า “ทำไมน้ำท่วมนนทบุรีฝั่งตะวันตก”
ทันทีที่น้ำท่วมบางบัวทอง บางใหญ่ วันที่ 19 – 20 ต.ค. หลังจากอพยพตัวเองแล้ว ผมได้เข้าสู่เฟซบุ๊ค “เรารักชลประทาน” ของกรมชลประทาน ในวันที่ 20 ต.ค. แล้วตั้งคำถามว่า สถานการณ์แม่น้ำท่าจีนเกิดอะไรขึ้น ทำไมไม่สามารถรับน้ำจากคลองของนนทบุรีฝั่งตะวันตกได้ คำตอบของแอดมินเพจ คือ เราไม่มีเวลาตอบ
คำถามนี้เกิดขึ้นเพราะช่วงสัปดาห์ 10 – 16 ตุลาคม เมื่อท่วมปทุมธานีแต่ยังไม่สามารถพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอบางบัวทอง ยกเว้นพื้นที่ริมคลอง น่าจะเป็นเพราะน้ำยังสามารถระบายไปยังแม่น้ำท่าจีนได้
วันรุ่งขึ้น ผมเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมชลประทานเพื่อดูรายงานที่มี และพบว่ามีรายงานสรุปสถานการณ์ประจำวัน และประจำสัปดาห์ ในรายงานประจำวันที่ 21 ต.ค. ซึ่งเข้าใจว่าเป็นรายงานสถานการณ์น้ำวันที่ 20 ต.ค. ปรากฏว่า กรมชลประทานระบายน้ำมาทางแม่น้ำท่าจีน 60 ล้าน ลบ.ม. เป็นประตูน้ำพลเทพ 30 ล้าน ลบ.ม. ประตูนี้เป็นข้อขัดแย้งระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยโดยนายพายัพ ปั้นเกตุกับนายบรรหารเมื่อต้นเดือนตุลาคม เรื่องนี้เข้าใจว่า นี่เป็นความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยในการเปิดประตูน้ำพลเทพ เมื่อดูรายงานประจำสัปดาห์ พบว่า ประตูน้ำแห่งนี้เปิดมาอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. ผมจึงโพสต์ประเด็นนี้บนเพจนี้ เพื่อทำให้กรมชลประทานรู้ว่าพวกเขากำลังถูกตรวจสอบ
ต่อมาในวันที่ 24 ต.ค. ศศิน ตั้งประเด็นบนเฟซบุ๊คเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำของคลองมหาสวัสดิ์ ผมได้อธิบายพฤติกรรมการท่วมของคลองฝั่งนี้ว่าจะไปทีละคลอง ปริมาณน้ำที่คำนวณได้พื้นที่ท่วมจากแผนที่กับไม้บรรทัด ซึ่งน้ำจะเอ่อท่วมตามจังหวะน้ำขึ้นประมาณ 2 รอบ คาดว่ารอบละ10 – 15 ล้าน ลบ.ม. สองรอบของน้ำขึ้นลงจึงมีปริมาณน้ำเอ่อท่วมวันละ 20 – 30 ล้าน ลบ.ม. และสรุปให้ศศิน น้ำจะข้ามคลองมหาสวัสดิ์ไปทวีวัฒนาใน 2 วัน เขาตอบว่า ถ้าเป็นสองวันตามที่พี่บอก ก็ต้องแจ้งเตือนภัย ขณะที่ วัตถุประสงค์ของติดตามในช่วง 4 – 5 วันนี้ คือ ต้องการทราบสาเหตุเพื่อหาทางแก้ไข สมมติฐานของผมคือ น้ำในแม่น้ำท่าจีนมากเกินไปทำให้น้ำจากคลองของนนทบุรีฝั่งตะวันตกไหลไปไม่ ได้ เพราะน้ำท่วมเกิดด้านปลายคลองออกมาด้านเจ้าพระยา ดังนั้น ต้องลดปริมาณน้ำของแม่น้ำท่าจีนลง เพื่อลดหายนะที่แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ
จนกระทั่ง ดร.เสรี ศุภราทิตย์ นำเสนอประเด็นภาระที่มากเกินไปของแม่น้ำท่าจีน และประเมินว่าฝั่งตะวันตกมีมวลน้ำเข้ามาวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. เมื่อประมาณ 28 ต.ค.
จากรายงานสถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน ได้แสดงให้เห็นว่ามีลดการระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. จนถึงเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ลดเหลือ 16 ล้าน ลบ.ม. ผลที่เกิดขึ้น ระดับน้ำในพื้นที่บางบัวทอง บางใหญ่ ลดลง ประมาณ 20 – 30 ซม. น้ำในฝั่งตะวันตกเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 ต.ค. ควรมีปริมาณสะสมอยู่ประมาณ 360 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น ถ้ากรมชลประทานปรับตัวเองเร็วสัก 1 สัปดาห์ ประมาณช่วงน้ำท่วมแค่บางใหญ่ น้ำท่วมอาจจะลดระดับความรุนแรงในพื้นที่ธนบุรีลง
มวลน้ำแต่ละวันไม่มีความสำคัญ
ในขณะที่ สิ่งที่ผมติดตามคือ มวลน้ำหรือปริมาณน้ำและวิธีจัดการ แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจในการนำเสนอของนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ด้านระบายน้ำ ไม่มีใครพูดถึงตัวเลขของน้ำที่เป็นรูปธรรม มีแต่ตัวเลขรวม เช่น 4,000 ล้าน ลบ.ม. 10,000 ล้าน ลบ.ม. มีเพียง ดร.เสรี ที่พูดถึงปริมาณน้ำที่เอ่อท่วมแต่ละวัน และประมาณปริมาณน้ำในพื้นที่จำกัดลง เช่น ปริมาณน้ำที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำที่ออกหน้าจอโทรทัศน์ บนเว็บไซต์ หรือ บนเฟซบุ๊ค มักจะมาพร้อมกับแผนที่ แล้วบอกว่าน้ำจะไปถึงที่นั่น ที่นี่ในกี่วัน แต่ละเลยปริมาณน้ำที่เข้ามา ที่จะเป็นสารสนเทศสำหรับคนที่บ้านถูกน้ำท่วมไปแล้วสำหรับพวกเขา ในการประเมินว่าน้ำจะลดเมื่อไร ในเพจ “เรารักชลประทาน” จะมีคนถามอยู่เสมอน้ำจะลดเมื่อไร พอๆกับน้ำจะมาถึงเมื่อไร ในระยะหลังคำถามน้ำจะลดเมื่อไร เริ่มมากกว่า
ในกรณี นนทบุรีฝั่งตะวันตก นอกจากจะประเมินปริมาณน้ำให้ศศินแล้ว และจำนวนวันที่จะเข้าถึงเขตทวีวัฒนา ผมได้บอกตั้งแต่วันแรกๆ ของน้ำท่วมบางใหญ่ว่า สาเหตุน้ำท่วมว่าน่าจะมาจากแม่น้ำท่าจีนมีน้ำมากเกินไป เขาตอบเรื่องนี้ยาว ซึ่งผมคาดว่าในฐานะที่เขาออกสื่อบ่อย น่าจะนำไปสู่การแสวงหาทางออกในการลดผลกระทบ จึงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง
เมื่อติดตามเฟซบุ๊คของเขาไประยะหนึ่ง เขาและแฟนคลับมีความมุ่งมั่นที่จะประเมินน้ำจะไปพื้นที่ต่างๆ เมื่อไร เพื่อการเตือนภัยเท่านั้น เมื่อ 1 พ.ย. เขาเขียนว่า “...เดี๋ยวคืนนี้มาสรุปสถานการณ์ตอนดึกๆ ครับ เป็นห่วงคนฝั่งตะวันตกมากครับ” ผมตอบ“ฝั่งตะวันตก ไม่มี (อะไร) น่ากลัวหรอก เพียงแต่น้ำจำนวนวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. จะขยับไปถึงอย่างไร จำนวนที่ อ.เสรีบอกก็ใกล้กับผมประเมิน เมื่อ 10 วันที่แล้ว และสาเหตุก็มาจากสถานการณ์ในแม่น้ำท่าจีนเหมือนกับที่ผมตั้งข้อสังเกตไว้ เมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้ว” ความจริงอยากจะบอกเขาว่า ถ้าเขาทำอะไรกับสารสนเทศของผม แล้วเกิดอภินิหารนำไปสู่การปรับปรุงเหมือนเสียงพูดของ ดร.เสรี เกี่ยวกับเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ที่ผมเข้าใจว่านำไปสู่การปรับปรุงการปล่อยน้ำของกรมชลประทานที่ทำให้ สถานการณ์น้ำท่วมฝั่งตะวันตกดีขึ้น
หลังจากนั้น ผมติดตามเฟซบุ๊คของเขาน้อยลง เพราะหน่วยงานรัฐก็เตือนภัยได้ดีขึ้น ข่าวสารชัดเจนขึ้น เพียงแต่เขาอาจจะตอบได้ดีกว่าในรายละเอียดของพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นยังไม่ต่างกันนักในการใช้แผนที่ บอกเวลาการขยับของมวลน้ำ ซึ่งไม่ตรงกับผมที่ต้องการทราบว่ามีมวลน้ำเท่าไรที่ต้องจัดการ ความสามารถในการระบายเป็นเท่าไรและอย่างไร จะได้รู้ว่า ถ้าจัดการไม่ได้ จะได้ทำใจ และต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้นานแค่ไหน
การแก้ไขปัญหาน้ำโดยผู้เชี่ยวชาญในอนาคต
เมื่อผมติดตามการประเมินสถานการณ์น้ำและข้อเสนอของ ทีมกรุ๊ป ที่เป็นบริษัทด้านแหล่งน้ำ ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญในพื้นที่สื่ออย่างมาก ก็มีเพียงการเตือนภัยอพยพ แต่ไม่ได้ข้อเสนอในการจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบแม้แต่น้อย
ในการสถานการณ์น้ำของกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ก็ไม่แตกต่างจากรายงานของกรมชลประทาน แตกต่างจาก ดร.เสรี ที่มีการประเมินสถานการณ์น้ำท่วมของกรุงเทพฯ มีทั้งภาพรวม ปัจจัยที่ควรระวัง แน่นอน ทีมกรุ๊ป ไม่เข้าตาของผมอย่างแน่นอน ผมคิดว่าศักยภาพของกรมชลประมานสามารถทำได้ โดยไม่ต้องจ้างทีมกรุ๊ป ถ้ามีเงื่อนไขต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นคีย์แมนของ ศปภ. เป็นผู้ที่ออกสื่อบ่อยมาก แน่นอนผมไม่มีความประทับใจเลยแม้แต่น้อย วันที่ 22 ต.ค. ในสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เขาประเมินสถานการณ์น้ำของพื้นที่ธนบุรี น้ำจะท่วมแค่รำคาญ ประมาณ 20 – 30 ซม. ในความจริงคงจะหาได้ยากในเขตบางแค
ผมคงไม่เข้าใจว่า ยุทธศาสตร์บริหารน้ำพวกเขาอาจจะใช้วิธีการกางแผนที่ ดูเส้นคอนทัวร์ ก็พอแล้ว แต่ในการบริหารน้ำยามวิกฤติในครั้งนี้ควรจะแตกต่างออกไป เพราะในความเข้าใจของผมคือ สำหรับลุ่มเจ้าพระยา น่าจะต้องบริหารมวลน้ำ และการระบายออกอย่างเป็นจริง เพราะลุ่มเจ้าพระยามีเครื่องมือในการควบคุมมากมายทั้งเขื่อน คลอง ประตูน้ำ เป็นต้น
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ยกเว้น กรมชลประทาน และสำนักระบายกรุงเทพมหานครที่สามารถบอกได้จะทำอะไรได้บ้าง แต่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ทำได้แค่เตือนภัย เหมือนที่ ศปภ. ทำ ทั้งที่พวกเขาน่าจะมีข้อเสนอในการบริหารมวลน้ำ เพื่อทำให้คนจ่ายภาษีอย่างน้ำมั่นใจว่า การจัดการน้ำมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
ถ้าผู้เชียวชาญด้านของไทยมีศักยภาพในบริหารน้ำตามที่พบเห็นในช่วงนี้ แค่ประกาศเตือนภัย ผมคิดว่า เราก็อย่าท้าทายพระเจ้า ด้วยความคิดว่ามนุษย์เราสามารถควบคุมธรรมชาติ มิฉะนั้น ก็เหมือนกับตำนาน “หอบาเบล”