WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 7, 2011

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต: เกมอำนาจกับการจัดการน้ำ

ที่มา ประชาไท

ในสังคมใด เมื่อมนุษย์ผู้ใดกลุ่มใดโชคดีมีอำนาจขึ้นมา แต่ขาดภูมิปัญญา ใช้อำนาจไม่เป็นและใช้ไปอย่างผิดทาง ก็จะสร้างความหายนะแก่สังคม และท้ายที่สุดอำนาจก็จะหวนกลับมาทำลายตนเอง ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ขณะที่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีฝึกงานกำลังสาละวนและละล้าละลังในการจัดการกับการแก้ปัญหาน้ำ ท่วม ทักษิณ ชินวัตรพี่ชายของเธอก็หมกมุ่นกับการช่วงชิงอำนาจกับฝ่ายทหาร โดยด้านหนึ่งวิพากษ์ทหารว่าเสพติดอำนาจ และอีกด้านหนึ่งก็สนับสนุนให้ ส.ส.ในสังกัดดำเนินการแก้ พ.ร.บ. กลาโหม เพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูงจากเดิมที่อยู่ในรูปแบบของ คณะกรรมการให้มาอยู่ภายใต้นักการเมือง

ด้วยความที่หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาแนวทางและวิธีการที่ช่วยเหลือพี่ชาย ให้กลับสู่ประเทศไทยโดยปราศจากความผิด ความอ่อนหัดไร้ประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดิน ความจำกัดของความรอบรู้ในปัญหาและระบบงานราชการ ความตื้นเขินของพลังทางปัญญาในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง เป็นภาพรวม ผสานกับบารมีที่มีอยู่น้อยนิด ส่งผลให้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาของ “ผู้นำจำเป็น” ของประเทศไทยเกิดความล่าช้าและผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และการใช้อำนาจก็เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆและไร้ทิศทาง

ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปัจจุบัน ได้แสดงตัวออกมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และปรากฎอย่างชัดเจนในเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา พายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศไทยตอนบนก่อให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปี ก่อนๆ ทำให้ หลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนต้องประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายของการถูกน้ำท่วม

ตามมาตรฐานของหลักการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนต่างๆ เมื่อน้ำไหลเข้าเขื่อนจำนวนมากก็ต้องเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกมา แต่ในครั้งนี้หลักการดังกล่าวกลับเกิดขึ้นอย่างล่าช้าเพราะมี “อำนาจ” บางอย่างสั่งให้เจ้าหน้าที่เขื่อนกักน้ำไว้ก่อน และกำหนดให้ระบายน้ำออกมาราวกับว่าเป็นสถานการณ์ปกติ จนกระทั่งถึงจุดที่ใกล้วิกฤติของเขื่อน จึงได้มีการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกจากเขื่อน อำนาจที่ว่านั้นมิใช่อำนาจลึกลับใดๆ แต่เป็นอำนาจซึ่งดำรงอยู่ในคณะรัฐมนตรีนั่นแหละ

เหตุผลที่มีการสั่งกักน้ำไว้ก่อน หากมองในแง่บวก ก็คือ เป็นเจตนาดีที่ไม่ต้องการให้มีมวลน้ำไหลลงสู่แม่น้ำในปริมาณที่มาก น้ำจะได้ไม่ท่วม แล้วค่อยๆทยอยเพิ่มปริมาณการระบายน้ำในภายหลัง แต่เจตนาดีเหล่านี้ย่อมมีแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง นั่นก็คือ การรักษาคะแนนนิยมในกลุ่มประชาชนภาคเหนืออันเป็นฐานเสียงของรัฐบาล และในท้ายที่สุดกลับทำให้เกิดมหาอุทกภัยซึ่งสร้างความหายนะแก่ประเทศ ไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

ความแปลกประหลาดของการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในครั้งนี้มีร่องรอยให้ สืบสาวจากข้อมูลที่ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลสัมภาษณ์เอาไว้ นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลระบุว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2554 มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ย 1,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อเดือน รวมห้าเดือนมีน้ำเข้าไปอยู่ในเขื่อนภูมิพลประมาณ 5, 000 ล้าน ลบ. ม. แต่ในช่วงห้าเดือนนั้นเขื่อนระบายน้ำออกมาเพียงเดือนละ100 กว่าล้าน ลบ. ม. เท่านั้น รวมห้าเดือนก็ระบายออกประมาณ 500 ลบ. ม. หรือ มีน้ำเข้าเขื่อนมากกว่าน้ำที่ระบายออกมาถึงประมาณ 10 เท่า

ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาในช่วง 5 เดือน ปล่อยน้ำออกมาเฉลี่ยประมาณแค่ 5 ล้าน ลบ. ม.ต่อวันเท่านั้น แต่ในเดือนตุลาคมได้มีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วง 1-4 ตุลาคม เพิ่มเป็น 40-60 ล้าน ลบ. ม.ต่อวัน ต่อมาระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม เพิ่มเป็น 100 กว่าล้าน ลบ. ม. ต่อวัน และ ในช่วง 12 -19 ลดลงเหลือประมาณ 50 – 80 ล้าน ลบ. ม. ต่อวัน

รวมอย่างคร่าวๆน้ำในเขื่อนภูมิพลที่ระบายออกมาเฉพาะ 16 วันของเดือนตุลาคมมีประมาณ 1,200 ล้าน ลบ. ม. หรือประมาณ 2 เท่ากว่า ของช่วงห้าเดือน (150วัน) ซึ่งปล่อยออกมาเพียงประมาณ 500 ล้าน ลบ. ม.

สำหรับพายุที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมมี 2 ลูก คือ ปลายเดือนมิถุนายนมีพายุไหหม่า ต่อมาในปลายเดือนกรกฎาคมก็เกิดพายุนกเตน พายุสองลูกนี้นำน้ำจำนวนมหาศาลเข้าประเทศไทย แต่ที่น่าประหลาดใจคือการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลก็ยังปล่อยเท่าๆกับเดือน พฤษภาคม เป็นไปได้ว่า ระหว่างนั้นนักการเมืองผู้ทรงอำนาจทั้งหลายคงไม่มีเวลาเพียงพอในการดูแล จัดการปัญหาเรื่องน้ำในเขื่อน เพราะมัวแต่แข่งขันเลือกตั้งช่วงชิงอำนาจ แม้ว่าน้ำได้ท่วมในบางพื้นที่ บางจังหวัดแล้ว สิ่งที่นักการเมืองทำก็คือ การฉวยโอกาสอาศัยความเดือดร้อนของประชาชนเป็นแหล่งในการหาเสียงสร้างคะแนน นิยมเท่านั้น ไม่มีการเตรียมการใดที่จะรับมือกับมหันตภัยที่กำลังคุกคามอยู่แม้แต่น้อย

รัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้นมาต้นเดือนสิงหาคม ปัญหาเรื่องน้ำก็ยังเป็นเรื่องเล็กสำหรับรัฐบาลส่วนปัญหาใหญ่ที่รัฐบาล ดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ การหาทางในการช่วยเหลือทักษิณชินวัตรให้กลับเข้ามาในประเทศไทยโดยปราศจาก ความผิดติดตัว การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อกระชับอำนาจให้แข็งแกร่ง การเจรจาและจัดงานบันเทิงเฉลิมฉลองเตะฟุตบอลร่วมกับผู้นำประเทศกัมพูชา การสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ การช่วยเหลือเยียวยาสาวกของเสื้อแดง การพยายามแก้ไข พ.ร.บ. กลาโหม และการหาแนวทางต่างๆในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องปัญหาน้ำท่วมก็มีบ้าง เช่น การรับบริจาค การออกไปเยี่ยมเอาของไปแจกผู้ประสบภัยบางคน บางพื้นที่ เพื่อสร้างภาพเป็นนายกนางงามแจกของ แต่ยังไม่เห็นความตระหนักในการแก้ปัญหา และการคิดอย่างเป็นระบบเชิงบูรณาการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมแม้แต่น้อย เราจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆในการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนอื่นๆ ทั้งๆที่เขื่อนเหล่านั้นมีน้ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลจากพายุทั้งสองลูกที่ เข้ามา

ต่อมาในปลายเดือนกันยายนพายุก็ได้เข้ามาประเทศไทยอีก 2 ลูกคือ ไหถ่าง กับ เนสาด และต้นเดือนตุลาคม พายุนาลแก ก็พัดเข้ามา พายุทั้งสามทำให้ฝนตกหนัก และน้ำจำนวนมหาศาลไหลเข้าเขื่อน จากการที่เขื่อนปล่อยน้ำน้อยก่อนหน้านั้น ทำให้ความสามารถในการรับน้ำใหม่ที่เข้ามามีต่ำลง เขื่อนจึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำอย่างมหาศาลตั้งแต่ต้นเดือน ตุลาคมเป็นต้นมา ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยังคงสับสนและมะงุมมะงาหราอยู่ทำอะไรไม่ถูก แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ และเพิ่งมาคิดจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ) ขึ้นมา โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและประกาศแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเป็นหลัก

การตั้งชื่อและกำหนดหน้าที่ของ ศปภ. ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลมีวิธีคิดในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบเสี่ยงเสี้ยวและมีแนวทางในเชิงการ ตั้งรับ คือคิดเพียงแต่ว่าเมื่อน้ำท่วมแล้วจะช่วยอย่างไร ฟื้นฟูอย่างไร รวมทั้งแค่แจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเท่านั้น โดยไม่ได้คิดถึงว่าจะจัดการหรือควบคุมมวลน้ำจำนวนมหาศาลอย่างไร เพื่อบรรเทาความรุนแรงและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม

เมื่อ ศปภ. ทำงานสิ่งที่ปรากฏแก่สาธารณะก็คือผู้ที่รับผิดชอบทำงานไม่เป็น ใช้คนไม่เหมาะกับงาน มีการช่วงชิงบทบาทการนำอย่างเข้มข้น บางคนต้องการเป็นวีรบุรุษแย่งกันเสนอหน้าแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ช่วยเหลือชาวบ้านแบบสร้างภาพหาคะแนน แถลงข่าวผิดๆถูกๆ จนต้องแก้ไขกันหลายครั้งหลายคราว ข่าวสารที่แถลงออกมาก็เชื่อถือไม่ได้ เป็นที่เอือมระอาของประชาชน การทำงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบใน ศปภ. สะท้อนถึงตัวตนที่อ่อนหัด ทำงานไม่เป็นในการรับมือและแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น

ยิ่งกว่านั้นสิ่งสำคัญที่ขาดหายไปจากหน้าที่หลักของคณะกรรมการ ที่จัดตั้งขึ้นมาคือ การจัดการมวลน้ำที่ท่วมอยู่ในวงกว้างหลายพื้นที่ แต่การจัดการกับมวลน้ำมหึมาเช่นนี้ได้หาใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการอย่างรอบด้าน ปัญญาความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการจัดการ การตัดสินใจที่ดีเฉียบขาด และอำนาจสั่งการที่ทรงพลังและเป็นเอกภาพ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏให้เห็นในกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบใน ศปภ.

ในความคิดของผม หลักการสำคัญของการจัดการมวลน้ำที่ท่วมขังมีอยู่ 3 ประการคือ การผลักดันมวลน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การควบคุมน้ำให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งสร้างผลกระทบน้อยที่สุดไว้ชั่วคราว และการป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่สำคัญ การจะดำเนินการตามหลักการทั้งสามนั้นอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนบางกลุ่ม และอาจสร้างความขัดแย้งขึ้นมาได้ ดังนั้นการใช้อำนาจตามปกติจึงไม่สามารถจัดการตามหลักการทั้งสามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เมื่อการจัดการขาดประสิทธิภาพสิ่งที่ตามมาก็คือ น้ำก็จะขังอยู่เป็นเวลานาน และทะลักเข้าไปท่วมในพื้นที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง ดังที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

ยิ่งน้ำท่วมขังนานเท่าไรความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงก็มีมากขึ้นเท่านั้น และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีวี่แววว่าจะจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมี ประสิทธิภาพแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้คะแนนนิยมของรัฐบาลก็ลดลงเรื่อยๆ ขณะที่กองทัพกลับได้รับคะแนนนิยมเพิ่มเติมจากการลงไปช่วยเหลือประชาชนทุกรูป แบบทั้งการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในบางพื้นที่ และการช่วยเหลืออื่นๆแก่ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่แล้ว

แม้ว่ากองทัพจะเป็นกลไกของรัฐ แต่เป็นกลไกที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และแกนนำเสื้อแดงมองด้วยสายตาไม่เป็นมิตร เท่าไรนัก มีความระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าทหารจะทำรัฐประหาร ดังนั้นเมื่อทหารมีคะแนนเพิ่มขึ้นก็สร้างความหวั่นวิตกแก่ทักษิณ ชินวัตร ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาล เป็นเหตุให้เขาต้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทำลายความน่าเชื่อถือของทหารโดยระบุ ว่า “ทหารเสพติดอำนาจ” และ ต่างชาติไม่ยอมรับการรัฐประหาร ทั้งที่ผู้เสพติดอำนาจอย่างโงหัวไม่ขึ้น ทำลายหลักประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาลมากที่สุดคนหนึ่งก็คือตัวทักษิณเองนั่นแหละ

การเดินเกมเพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูงจึง กลายเป็นเกมสำคัญของทักษิณ หากเขาชนะในเกมนี้ ทักษิณก็จะควบคุมการแต่งตั้งโยกย้ายทหารได้ทั้งหมดผ่านน้องสาวที่เป็นหุ่น เชิดของเขา แต่ความฝันของเขาอาจเป็นฝันสลาย เพราะอาจถูกพลังอันมหาศาลของสายน้ำทำลายลงไปก่อนที่จะประสบความสำเร็จ

---------------------------------------------------------