ที่มา Thai E-News
10 พฤศจิกายน 2554
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ทีม ข่าวไทยอีนิวส์ ขอนำเสนอภาพ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบอุทกภัยในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง จากเวบ Thaiflood ณ วันที่ 10 พ.ย. 2554 และพร้อมกับข้อเสนอ "แนวทางในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ" ของศูนย์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และนิเวศวิทยาด้านน้ำ ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ
ภาพ ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
พื้นที่่ประสบภัยทั้งหมด 64 จังหวัด เสียชีวิต 533 ราย สูญหาย 2 ราย
ยังมีพื้นที่่ประสบอุทกภัย 24 จังหวัด อยู่ระหว่างฟื้นฟู 40 จังหวัด
ข้อมูลจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - 10 พ.ย. 54
พื้นที่่ประสบภัยทั้งหมด 64 จังหวัด เสียชีวิต 533 ราย สูญหาย 2 ราย
ยังมีพื้นที่่ประสบอุทกภัย 24 จังหวัด อยู่ระหว่างฟื้นฟู 40 จังหวัด
ข้อมูลจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - 10 พ.ย. 54
* * * * * * * * *
โดย ศูนย์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และนิเวศวิทยาด้านน้ำ ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ
“Natural hazards are an essential part of how many systems function.
They become natural disasters when they collide with people and property.”
(Stedinger 2004)
They become natural disasters when they collide with people and property.”
(Stedinger 2004)
ตั้งแต่ ช่วงเดือนสิงหาคมของปี 2554 เป็นต้นมา พื้นที่ส่วนหนึ่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทยทะยอยถูกน้ำท่วมหนักเบาต่างกันไปตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการได้อย่างเป็นระบบ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2554) พื้นที่ในหลายจังหวัดยังคงเผชิญกับอุทกภัย รวมถึงหลายเขตของกรุงเทพมหานคร น้ำท่วมในปีนี้ถือว่าหนักที่สุดในคาบ (Return period) 50 ปี เมื่อพิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนใน ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละครั้งที่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ เกิดขึ้น ใช่จะมีแต่สิ่งที่เลวร้าย ความสูญเสีย ความเดือดร้อนและเสียหายเกิดขึ้นเท่านั้น หากยังสะท้อนถึงสัจธรรมที่ว่า
“มนุษย์ ไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติได้ และเราทุกคนมีส่วนไม่มากก็น้อยในการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติหรือทำลายสิ่งแวด ล้อม ส่งผลให้การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่ละครั้งหนักหนาสาหัสกว่าที่ควรจะ เป็นหรือยากจะจัดการแก้ไข”
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องใช้สติทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ และปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันมากเกินไป
ผลจากการขาดความจริงจังในการเรียน รู้และทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางน้ำ ทำให้ประเทศไทยและคนไทยต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม – น้ำแล้งซ้ำซากอยู่ทุกปีหนักเบาต่างกันไป แต่มีแนวโน้มจะเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น (Global warming)
ถึงแม้เราจะ ไม่สามารถหยุดยั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ (เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว พายุหิมะ น้ำท่วม น้ำแล้ง ฯลฯ) แต่เราสามารถเรียนรู้จากภัยพิบัตินั้นๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อให้เกิดความเข้าใจปัญหาอย่างท่องแท้และนำไปสู่การจัด ทำแนวทางในการจัดการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อลดหรือบรรเทาความสูญเสียต่อชีวิต ทรัทย์สิน ของมนุษย์ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถึง แม้ว่าการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปนัก หากคนไทยทุกคน รัฐบาล และหน่วยงานจากทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมแรงใจกัน หลังจากผ่านอุทกภัยใหญ่ครั้งนี้ไปแล้ว รัฐบาลควรดำเนินการอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
เนื่อง จากอุทกภัยและจัดทำแนวทางรับมือปัญหานี้ที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป โดยประสานหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ และประชาชน ให้เข้ามาร่วมจัดทำแนวทางในการรับมือภัยพิบัติจากธรรมชาติเชิงบูรณาการทั้ง ระดับประเทศ (แผนหลัก) และระดับพื้นที่ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติชนิดต่างๆ สำหรับแนวทางทั่วไปในการรับมือภัยพิบัติจากธรรมชาติประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ชนิดของภัยพิบัติ (Disaster)
ชนิด ของภัยพิบัติทางธรรมชาติจะแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ของแต่ละพื้นที่บนโลก เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลมพายุ ไฟป่าที่ควบคุมไม่ได้ โคลนถล่ม สินามิ เป็นต้น
การจะรับมือกับภัย พิบัติแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะและธรรมชาติของภัยพิบัติแต่ละชนิดเป็นอย่างดี ตลอดจนความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดภัยพิบัติชนิดนั้นๆ เชิงพื้นที่และเวลา (Spatial and temporal scales) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
2. การรับมือในภาวะฉุกเฉิน (Emergency response)
การ รับมือในภาวะฉุกเฉินจัดเป็นแนวทางเร่งด่วนในระยะสั้น เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน องค์กรต่างๆ และประชาชนทั่วไป ควรสามารถตอบสนองหรือรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดนั้นๆ ในภาวะฉุกเฉิน ได้เป็นอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน สอดคล้องกันทุกภาคส่วน เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้ เพื่อให้การรับมือในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติชนิดต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ และ
ประชาชน ควรร่วมกันจัดทำแนวทางพร้อมขั้นตอนในการรับมือในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัย พิบัติทางธรรมชาติแต่ละชนิด ตัวอย่างเช่น กรณีการอุทกภัยในประเทศไทยในขณะนี้
ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน คือ
ประกาศให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมรับทราบสถานการณ์อย่างถูกต้อง
และ ดำเนินการอพยพผู้ประสบอุทกภัยออกจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงฯ อย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบโดยเร็วที่สุดไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราวที่ ปลอดภัย
พร้อมให้การดูแลผู้อพยพเหล่านี้ในด้านความเป็นอยู่ อาหารการกิน การรักษาโรคเมื่อบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่างๆ เป็นต้น
ขั้น ตอนเหล่านี้ ปัจจุบัน รัฐบาล เอกชน องค์กรต่างๆ ตลอดจนถึงอาสาสมัครที่เป็นประชาชนทั่วไปกำลังดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะการทำงานให้สอดคล้อง ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเรายังไม่มีแนวทางรับมือภัยพิบัติชนิดต่างๆ ในภาวะฉุกเฉินอย่างเป็นขั้นตอน ขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางต่างๆ อย่างจริงจังให้ทุกภาคส่วนรับทราบและเข้าใจตรงกันเพื่อให้สามารถรับมือ พิบัติทางธรรมชาติชนิดต่างๆ ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง มีสติ และทันท่วงที เพื่อลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินให้มากที่สุด
3. การฟื้นฟู (Recovery)
การ ฟื้นฟูจัดเป็นอีกหนึ่งในแนวทางระยะสั้น และอาจขยายต่อไปในระยะกลาง และระยะยาว หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาอันสั้นหลังการเกิดภัย พิบัติทางธรรมชาติชนิดนั้นๆ หลักการฟื้นฟูจำเป็นต้องอาศัยความรู้เชิงบูรณาการจากทุกสาขาวิชาที่เกี่ยว ข้องต่อระบบนิเวศที่เสียหาย คุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสภาพจิตใจ
ทั้งนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการประสานผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่การร่วมกันจัดทำแนวทางฟื้นฟูระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบบนพื้นฐานทางวิชาการที่รอบคอบและถูกต้อง เพื่อให้สามารถฟื้นฟูความเสียหายในด้านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ หรือใกล้เคียงกับสภาพปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ ควรจัดทำแนวทางฟื้นฟูทั้งระดับชาติ (National measure) และระดับท้องถิ่น (local measures) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสียหายในแต่ละพื้นที่ และไปในทิศทางเดียวกันในภาพรวม
4. การประเมินความเสี่ยง(Risk assessment)
การ ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งใน ประเทศไทย เช่นภัยพิบัติจากน้ำท่วม – น้ำแล้ง เป็นงานวิชาการเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องดำเนินการ โดยประสานผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการศึกษา วิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแนวทางรับมือภัยพิบัติ ทางธรรมชาติชนิดต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การศึกษาวิจัยและประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยในอนาคต ที่ครอบคลุมความน่าจะเป็น (Probability) ของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ช่วงเวลาที่จะเกิด ความรุนแรงและศักยภาพในการเกิด (Potential and magnitude) และความอ่อนไหว (Vulnerability and exposure) ของชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เป็นต้น
นอก จากนี้ รัฐบาลควรดำเนินการหรือสนับสนุนการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมไปถึงวิธีการ ประเมินความเสียหายในด้านต่างๆ (เช่น ชีวิต ทรัพย์สิน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ฯลฯ) ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจากธรรมชาติชนิดต่างๆ เชิงปริมาณ (เป็นตัวเงิน) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟู และเยียวยาประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว อย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม
งานวิจัยอีกด้านที่รัฐบาล ควรดำเนินการหรือให้การสนับสนุน ได้แก่การจัดทำระบบประกันภัยพิบัติจากธรรมชาติครอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ใช่เฉพาะภาคเอกชนหรืออุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงภาคเกษตรกรรม ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมสามารถขับเคลื่อนไปได้พร้อมๆ กัน หลังประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติในแต่ละครั้ง
อย่างไรก็ตาม การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดต่างๆ การประเมินความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการจัดทำระบบประกันภัยพิบัติจากธรรมชาติชนิดต่างๆ จะดำเนินการจนได้ผลสรุปที่เชื่อถือออกมาไม่ได้หากไม่ได้ตั้งอยู่บนข้อมูลที่ ถูกต้องที่ได้จากการศึกษาวิจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การจะประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยออกมาได้ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ ไทยนั้น จำเป็นต้องเข้าใจระบบนิเวศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดจนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made environment) ในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ จำเป็นต้องศึกษาวิจัยทุกระบบน้ำที่เกี่ยวข้อง เช่นน้ำผิวดิน (มีทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย 48 แม่น้ำหลัก และ 4 แหล่งน้ำนิ่ง) น้ำใต้ดิน (แหล่งน้ำที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต) และน้ำทะเล ให้ครอบคลุมทั้งมิติเชิงปริมาณ (เช่น น้ำท่วม – น้ำแล้ง) และคุณภาพ (เช่น คุณภาพน้ำ มลภาวะทางน้ำ และคุณภาพชีวิต)
และควรศึกษาวิจัยเชิง บูรณาการให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ เพื่อให้ได้ภาพรวม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนแม่บทในการบริหารจัดการน้ำระดับประเทศ และประเมินความเสี่ยงและความสูญเสียต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิด ต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
5. การเตรียมพร้อมและลดความสูญเสีย (Preparation & mitigation)
การ เตรียมพร้อมและลดความสูญเสียเป็นแนวทางเชิงรุกเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความ สูญเสียที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ แนวทางในขั้นตอนนี้ จะจัดทำขึ้นอย่างเหมาะสมไม่ได้หากขาดข้อมูลที่เป็นผลการศึกษาวิจัยในข้อ 4 (การประเมินความเสี่ยง) และการจัดทำแนวทางในข้อ 2 (การรับมือในภาวะฉุกเฉิน)
จากอดีตถึงปัจจุบัน คนไทยต้องยอมรับว่าเราขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดต่างๆ ที่ชัดเจน
ทั้ง นี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าเราเกิดในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีความ เสี่ยงต่อการเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ อื่นๆ ในโลก
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไปและในอนาคตประเทศไทยอาจไม่ได้เผชิญแค่น้ำ ท่วม – น้ำแล้ง หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดสินามึเท่านั้น เพราะเรากำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแปรปรวนของฤดูกาล ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย ทั้งในมิติของความหลากหลาย ความถี่ และความรุนแรงเชิงพื้นที่
ดัง นั้นการจัดเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านที่ศักยภาพของมนุษย์สามารถจะทำได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning systems) ต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่ละชนิด การให้ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรต่างๆ และประชาชนในการรับมือในสภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
การ ปรับปรุงหลักสูตรการเรียน-การสอนในทุกระดับโดยเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับภัย พิบัติทางธรรมชาติ การรับมือในสภาวะฉุกเฉิน และการให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยในด้านที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนการฝึกอบรมด้านการสื่อสารเกี่ยวกับความเสี่ยง (Communications in risk) กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดย เฉพาะสื่อสารมวลชน ให้มีความรู้ ทัศนคติ (Attitude) ความเข้าใจ (Perception) ที่ถูกต้อง ตลอดจนความรับผิดชอบ (Accountability) ในการนำเสนอข้อมูลหรือรายงานข่าวด้านนี้ต่อสาธารณะ ด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นการให้ข้อมูลเกินกว่าเหตุ หรือใช้ความรู้สึก ประสบการณ์ส่วนตัวในคาดเดาสถานการณ์ไปต่างๆ โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง จนสร้างความสับสน หรือแตกตื่นแก่ผู้คนในสังคม เป็นต้น
ท้ายสุด ขอเป็นกำลังใจให้คนไทยและประเทศไทยฝ่าฟันอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้ไปใก้ได้ นอกจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในขั้นตอนที่ 2 (การรับมือในภาวะฉุกเฉิน) และการฟื้นฟู (ในขั้นตอนที่ 3) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่แล้ว
สิ่ง ที่คาดหวังและต้องการเห็นจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นคือ ความสามารถในการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการดำเนินงานศึกษาวิจัยอย่างเป็น ระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแนวทางต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น และไม่เพียงแต่รองรับภัยพิบัติจากน้ำท่วมเท่านั้น ควรจัดทำแนวทางสำหรับรับมือกับภัยพิบัติจากน้ำแล้งซึ่งกำลังจะมาเยือน พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศอีกในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ด้วยเช่นกัน