WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 7, 2011

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด: เราจะอยู่กับน้ำท่วมต่อไปได้อย่างไร?

ที่มา ประชาไท

น้ำท่วมคราวนี้ วิศวกรอุทกเขาว่าเป็นแค่ซ้อมใหญ่นะคะ ของจริงใหญ่กว่านี้อีก น้ำท่วมใหญ่คาดการณ์ได้ว่าจะมาประมาณ 20-25 ปีครั้ง ซึ่งน้ำท่วมใหญ่ครั้งสุดท้ายของเราเกิดเมื่อปี พ.ศ.2538 ดังนั้นน้ำท่วมใหญ่ของจริงก็น่าจะเกิดประมาณปี พ.ศ.2561 ขนาดน้ำท่วมคราวนี้ถือกันว่าน้ำท่วมแค่มิดหัวเด็กแต่คราวหน้าอาจจะมิดหัว ผู้ใหญ่

ผลกระทบน้ำท่วมคราวนี้ในเชิงเศรษฐกิจแล้วรุนแรงกว่าปี พ.ศ. 2538 หลายเท่า เพราะบ้านเมืองเจริญเติบโตขึ้นมาก ความเสียหายก็เพิ่มขึ้นตามเมืองและอุตสาหกรรมที่ขยายตัวออกไป ถ้าเกิดอีกคราวหน้าความสูญเสียคงเหลือคณานับทีเดียว

คำถามก็คือ เราจะทำอะไรที่จะลดความสูญเสียได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ ถึงจะลดได้ไม่หมดแต่ก็ต้องยอมรับว่าต้องลดผลกระทบที่ กทม.ให้ได้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ เพราะจริงๆแล้ว กทม.ก็ไม่ได้มีรายได้ต่อหัวสูงเท่าระยองด้วยซ้ำ แต่เพราะถ้า กทม.จมน้ำ เราจะส่งกำลังไปช่วยนอกกทม. ได้ยากขึ้น ข้อสำคัญจะเอาคน 5-6 ล้านคนใน กทม.ไปแคมปิ้งได้ที่ไหน? ศูนย์ที่ต้องส่งเสบียงไปช่วยเหลือคนรอบนอกจะจัดการโลจิสติกส์อย่างไร ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจก็คือ การป้องกัน กทม. เป็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียว ถ้าเราสูญเสียพื้นที่แห้งใน กทม.ความสูญเสียในเชิงสังคมจะเลวร้ายทั้งภายใน กทม.และจังหวัดรายรอบที่น้ำกำลังท่วมอยู่ ประเทศไทยก็จะเกิดกลียุค!!

คำถามต่อไปก็คือ แล้วเราจะต้องจัดการกันอย่างไรต่อไปในอนาคต หรือจะยอมยางหัวตกทุกครั้งที่น้ำท่วม เราควรต้องมีการเตรียมการลดผลกระทบจากน้ำหลากอย่างเป็นระบบและบูรณาการ

โดยทั่วไปการจัดการน้ำท่วมจะมี 3 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการและจัดการ (Flood Plain Management) (2) รับมือน้ำหลาก (Flood Fighting)และ (3) การจัดการหลังน้ำท่วม (Post Flood Management) ซึ่งในขณะนี้เราไม่ได้ทำขั้นตอนที่ (1) อย่างเป็นระบบ เราทำขั้นตอนที่ (2) แบบตะลุมบอนไม่คิดชีวิต และขั้นตอนที่ (3) แบบมั่วๆ

การจัดการพื้นที่น้ำท่วมจำเป็นต้องตั้งองค์การบริหารพื้นที่น้ำท่วม (Flood Plain Management Authority) ที่งานหลักคือ แผนแม่บทการจัดการพื้นที่น้ำท่วม ทำการพยากรณ์และจัดการน้ำหลากจากต้นทางถึงปลายทาง โดยประสานงานพยากรณ์อากาศ การปล่อยน้ำจากเขื่อน การระบายน้ำ การฝากน้ำในพื้นที่แก้มลิง จัดทำแผนที่ความเสี่ยง ระดับขั้นความเสี่ยง ออกแบบการจัดการและความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในแต่ละระดับความเสี่ยง ฯลฯ มีอำนาจกำหนดและบังคับการใช้ที่ดิน การจัดการมวลชนด้านความขัดแย้ง วางผังชุมชนในเขตพักน้ำ การกำหนดบทบาทและประสานงานกับหน่วยงานภูมิภาคและท้องถิ่นในกรณีเกิดน้ำท่วม จัดทำดัชนีเตือนภัยพิบัติด้านน้ำ ทำคู่มือและการถ่ายทอดกระบวนการทำงานตั้งแต่การเตรียมการก่อนน้ำท่วม การรับมือน้ำท่วม การสื่อสารกับมวลชนในช่วงน้ำท่วม และการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ฯลฯ งานที่สำคัญก็คือ การหาที่พักน้ำหรือแก้มลิงเพื่อชะลอน้ำไม่ให้ไหลเข้า กทม. เร็วเกินไป

องค์กรนี้ต้องปลอดนักการเมือง ขอมืออาชีพด้านน้ำและด้านการจัดการมวลชนจริงๆ แต่จะต้องขึ้นตรงต่อนายกฯ ซึ่งต้องเป็นประธานคณะกรรมการกำกับ คณะกรรมการนี้จะมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยซึ่งอาจจะเป็นคณะกรรมการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ก็ได้ แต่ต้องมีผู้บริหารมืออาชีพมาเป็นผู้จัดการองค์กรนี้อีกที และต้องมีองค์กรย่อยระดับพื้นที่แก้มลิง ซึ่งต้องมีผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม องค์กรนี้ต้องทำข้อตกลงกับท้องถิ่นที่จะรับเป็นแก้มลิง เพื่อที่จะผันน้ำเข้าพื้นที่เกษตร แต่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อภัยพิบัติเกิดอยู่ในระดับรุนแรงเช่นคราวนี้ ต้องเสนอใช้แผนระดับสูงสุดซึ่งรวมถึงการระดมกำลังทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร

ในพื้นที่แก้มลิงจะต้องมีการปรับโครงสร้างสาธารณูปโภคระยะยาวให้เป็นที่ รับน้ำหลาก มีระบบโลจิสติกส์ทางน้ำ 3 เดือน ในขณะที่น้ำท่วม และมีการสนับสนุนอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง การจักสาน การท่องเที่ยว ฯ อาจต้องมีการจัดระเบียบชุมชนใหม่ในด้านการจัดการของเสีย การจัดทำตลาดน้ำเพื่อให้ชีวิตในแก้มลิงอยู่ได้อย่างปกติที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ ที่สำคัญก็คือ คนในพื้นที่แก้มลิงต้องรู้ว่าตนเป็นผู้แบกรับภาระและยินดียอมรับภาระนั้น

ต่อจากขั้นตอนเตรียมการก็เข้าสู่ขั้นตอนการรับมือกับน้ำ การสื่อสารกับประชาชนต้องเป็นเอกภาพแบบมีส่วนร่วม ยอมรับให้ Social Network เป็นช่องทางสื่อสาร แต่ต้องมีการเข้าไปให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันเวลา ประชาชนควรมีเวลาล่วงหน้า 3-4 วันที่จะย้ายออกจากบ้าน กทม.ควรสื่อสารให้เห็นพื้นที่น้ำท่วมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือ แจ้งพื้นที่ที่น้ำจะท่วมเป็นรายถนนและรายซอยตลอดจนความลึกของน้ำ เพราะระบุเป็นเขตนั้นกว้างเกินไป ทำให้วางแผนไม่ทัน ทั้งเด็กทั้งแก่ถึงได้ทุลักทุเลโกลาหลกันปานนี้

ต่อจากนี้การรับมือก็ถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การเยียวยาและชดเชย ซึ่งผู้เขียนขอแยกแยะระหว่างการสงเคราะห์และการชดเชย สำหรับผู้เขียนแล้ว การสงเคราะห์เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยชั่วคราวให้จมูกพ้นน้ำ ส่วนการเยียวยาเป็นการฟื้นฟูระยะยาวให้ผู้ประสบภัยลุกขึ้นได้อีกครั้ง แต่ทั้งหมดทำกันบนพื้นฐานของมนุษยธรรม แต่การชดเชย ผู้เขียนขอเน้นว่า เป็นการตอบแทนที่เกิดจากจากการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ ผู้ประสบอุทกภัยเป็นผู้ยอมรับน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ของตน ยอมรับการสูญเสียรายได้และความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีข้อตกลงที่จะได้รับการชดเชย เช่น พื้นที่เกษตรยอมรับน้ำหลากน้ำขังแทน กทม. โดยมีรัฐเป็นองค์กรกลางในการจัดเก็บภาษีหรือธรรมเนียมน้ำท่วมจากผู้ได้ ประโยชน์ และจ่ายค่าชดเชยตามเกณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน กระทรวงการคลังต้องเร่งคลอด พ.ร.บ. มาตรการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อมมารับภาษีน้ำท่วมได้แล้ว

สรุปว่า การสูญเสียของประชาชนอันเนื่องมาจากน้ำท่วมน้ำหลากจากภัยธรรมชาติ จะได้รับเงินสงเคราะห์ตามหลักมนุษยธรรม และตามเงื่อนไขของระบบประกันสังคม ซึ่งในอนาคต การขยายระบบประกันสังคมไปยังเกษตรกร หรือแรงงานนอกระบบ อาจจะต้องมุ่งที่เขตน้ำท่วมก่อน ส่วนการชดเชยจะได้เฉพาะผู้ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าจะขอรับภาระการแบกน้ำท่วม เอาไว้ ไม่ใช่ไปซี้ซั้วประชานิยมกับเงินชดเชย ความเสียหายจักไม่รู้จบสิ้น

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ เป็นมารตรการจำเป็นที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เป็นมาตรการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ก็รู้อยู่แก่ใจว่าสำคัญ แต่ที่ผ่านมาผู้บริหาร ผู้วางนโยบายสนใจแต่มาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างเช่นขุดคลองสร้างเขื่อน เพราะใช้เงินเยอะกว่า แต่ปัญหาก็คือ ถึงจะใช้มาตรการสิ่งก่อสร้างแล้วก็ตาม ปัญหาน้ำท่วมขนาดใหญ่อย่างนี้ก็ยังบรรเทาไปได้ไม่มากถ้าไม่มีมาตรการบริหาร จัดการพื้นที่น้ำหลากอย่างบูรณาการที่ดีตามที่กล่าวมาข้างต้น

การแก้ปัญหาน้ำล้อมกรุงอย่าเอาเงินหรือพรรคเป็นตัวตั้ง บ้านเมืองจะล่มสลายก็เพราะพรรคเพราะพวก เพราะสี เพราะอยากออกทีวีนี่แหละ กราบล่ะค่ะ ขอให้เราทุกคนช่วยกันSAVE THAILAND!!