WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 6, 2011

ไม่เหมือนเดิม

ที่มา มติชน



โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 6 พฤศจิกายน 2554)


ประเทศไทยใหม่ จะไม่เหมือนเดิม

นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น

ไม่ใช่เพราะ "วิชั่น" ของนักการเมือง นักวิชาการ นักคิด

แต่คือ "ความจริง" ที่ล้อมรอบตัวเราอยู่ขณะนี้

จากเดิมที่เราภูมิใจหนักหนาว่า ประเทศไทย อยู่ในเขตที่ไร้ภัยพิบัติรุนแรงอย่างแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด

หลังจากสึนามิที่ใต้ ก็อาจทำให้ตื่นตัวขึ้นมาอีกนิดว่าภัยพิบัติรุนแรงไม่ไกลตัวเท่าไหร่

แต่ แผล็บเดียว ธรรมชาติ ก็เขกกบาลเราดังโป๊ก ให้ "ตื่นรู้" ว่า น้ำที่สูคุ้นเคยจนบอกว่าตัวเองเป็น "ชาวน้ำ" นี่แหละ คือภัยพิบัติรุนแรงที่อยู่ข้างๆ ตัว

และภัยนี้ จะให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ก่อกำแพงล้อมรอบตัวเอง เพื่อเอาตัวรอดคนเดียวไม่ได้

มีแต่ต้องร่วมกันคิดร่วมกันแก้

จะ ต้องมีแผนรับมือน้ำท่วมประเทศ หรือระดับชาติ ไม่ใช่แผนรับมือน้ำท่วมของกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น นครราชสีมา ฯลฯ แบบต่างคนต่างทำ

ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว

และที่สำคัญ ได้สร้างความบาดหมางทางความรู้สึกแก่คนในสังคม ที่วันนี้ มิใช่แค่คนต่างจังหวัด กับคนกรุงเท่านั้น

ระหว่างพระนคร กับฝั่งธนบุรี ก็กลายเป็นเรื่องความไม่เท่าเทียมขึ้นมาให้ถกเถียงกันแล้ว

นี่คือไฟลนก้นที่กดดันให้สังคมไทยต้องเปลี่ยน

อีกประเด็นที่ต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่ และเร่งด่วน คือเราคงไม่สามารถเนรมิต "นิวไทยแลนด์" ให้ปลอดภัยจากน้ำท่วมได้ภายใน 10 หรือ 20 ปี นี้ ด้วยอภิโปรเจ็กต์ต่างๆ แน่นอน

เรายังอาจต้องเผชิญกับปัญหา "มหาอุทกภัย" เช่นนี้อีก ภายใน 10-20 ปีนี้ หรือปีหน้านี้เลยก็ได้

แผนช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัย จะต้องเร่งรีบคิดกันยกใหญ่

ภาวะอลหม่าน แบบ "ศูนย์บัญชาการช่วยเหลือผู้ประสบภัย" ซึ่งเป็นหัวใจในการแก้ไข จะต้องหนีไปแก้ไปด้วย จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก

คงจะต้องมานั่งคิดแผนที่สามารถแปรไปสู่การปฏิบัติจริงได้ ยามที่ต้องเผชิญภัยร้ายแรง ตั้งแต่ระดับ "หมู่บ้าน" ไปจนถึงระดับ "มหานคร"

เห็นด้วยกับนักวิชาการอย่างอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ที่ตั้งคำถามในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับ 28 ตุลาคม 254 ต่อ "สภาความมั่นคงแห่งชาติ" ที่ดูแลความมั่นคง และความปลอดภัยของชาติว่ามีบทบาทต่อ "ภัย" ของชาติครั้งนี้เพียงใด

แผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและแผนบริหารสภาวะวิกฤต อยู่ที่ไหน?

สภาความมั่นคงแห่งชาติควรจะเป็นหลักในการวางแผนรับมือภัยทุกรูปแบบให้กับ "รัฐบาล"

โมเดล "วิกฤต" ระดับต่างๆ ควรจะอยู่ในแฟ้มข้อมูล ที่สามารถนำมาใช้ หรือปรับใช้ได้ ยามเกิดวิกฤต

เช่นควรจะใช้กฎหมายฉบับไหน

ควรดึงกลไก เช่นกองทัพ ตำรวจ ข้าราชการประจำ มาใช้อย่างไร เวลาใด หรือในระดับความรุนแรงไหน

ควรมีศูนย์อพยพที่ใด ใคร หน่วยงานไหน ต้องรับผิดชอบ

ไม่ควรมีการแก้ไขวิกฤต แบบบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นฮีโร่อีกแล้ว

แต่ควรมีการงัดเอาแผนรับมือมากางบนโต๊ะ เพื่อให้ฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาลตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบใด

ภัยที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับ "มหานคร" อย่างกรุงเทพ โดยธรรมชาติจะสับสนอลหม่านอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้จะลดลงได้หากมีแผนหรือตุ๊กตารองรับ

ภัยพิบัติในอนาคตไม่ใช่แค่การสู้รบกับศัตรู หรือลัทธิการเมืองใดๆ แต่รวมถึงภัยธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะมากและทวีความรุนแรงขึ้น

นี่คือสิ่งที่จะต้อง "เปลี่ยน" ไม่เปลี่ยน เราก็อยู่กันไม่ได้

เมืองไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว