ที่มา Thai E-News
แม้ แต่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯเมื่อเจอ“ธรรมชาติ”เข้าแล้ว ตัวเล็กจิ๊ดเดียว ประธานาธิปดีจอร์ช บุช (คนลูก) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อการปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน ฉะนั้นการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพรรค์นี้นั้น เป็นเรื่องธรรมดา ควรรับฟัง และต้องทำใจ... บุชเจอมาแล้ว(ภาพประกอบ:การ์ตูนจากwww.cartoonstock.com)
โดย สายสัมพันธ์
7 พฤศจิกายน 2554
ในบรรดาเว็บไซท์ภาษาอังกฤษที่สนใจการเมืองไทยโดยเฉพาะกรณีวิกฤติน้ำท่วมนี้ คงไม่มีใครเกิน “บางกอกบัณฑิต”หรือ เรียกย่อๆ ว่า BP
ด้วยเหตุว่า “ตัวเลขไม่โกหก” (Figures don’t lie) นี้กระมังที่ทำให้ BPนำข้อมูลของกรมอุตุฯมาตีแผ่เพื่อชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดของการบริหารจัดการน้ำ ของกรมชลประทาน
แม้ ว่าประเด็น “การบริหารจัดการน้ำ”จะเป็นประเด็นสำคัญและเป็นหลักของข่าวและการถกเถียงใน เว็บ แต่เราก็ไม่สามารถมองข้ามปัจจัยอื่นๆที่ “ส่งเสริม” ให้ภัยพิบัตินี้รุนแรงมากขึ้น
เช่น...การ ตัดไม้ทำลายป่า การปิดกั้นทางเดินโดยธรรมชาติของน้ำ การขยายหมู่บ้านของคนเมืองอย่างไร้แบบแผน การตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง การถมคลองหรือการปล่อยให้แม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยขยะ การวางแผนเมืองที่ผิดพลาด การสร้างเขื่อนและการสร้างคันกั้นน้ำอย่างไร้แบบแผนรอบด้าน
ที่ ผู้เขียนกล่าวถึงปัจจัยอื่น เพราะอยากให้เห็นปัญหานี้ได้รับการถกเถียงรอบด้านมากขึ้น พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อหาข้อเท็จจริงในแง่มุมต่างๆสำหรับเป็นบทเรียน และหาทางออกร่วมกันในอนาคต
คงไม่มีใครอยากที่จะเห็นวิกฤติภัยเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
อย่าลืมว่าภัยพิบัตินี้เกิดมาจาก”พายุฝน” ซึ่งเกินกำลังมนุษย์ที่จะห้ามได้
เมื่อพูดถึงเรื่องภัยวิบัติทำให้นึกถึงพายุโซนร้อนเฮอริเคน “แครททีน่า” เมื่อหกปีที่แล้ว
พายุเฮอริเคนแครททีน่า มีจุดกำเนิดในทะเลใกล้เมืองบาฮามาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ หรือประมาณ ๖ ปีที่แล้ว
พายุนี้ได้หมุนเข้าดินแดนในอเมริกาแถบอ่าวทางใต้ของสหรัฐ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคมและผ่านรัฐมิสซิปซิปปี ลุยส์เซียน่า และ อลาบามา
พายุนี้เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ เพราะมีพลังการทำลายล้างอย่างมหาศาล
ความเสียหายมีมากกว่า “ชิคาโกไฟไหม้” (Chicago Fire) เมื่อปี ๒๔๑๔, “แผ่นดินใหวในซานฟรานซิสโก” (San Francisco Earthquake) ปี ๒๔๔๙, และ พายุเฮอริเคนแอนดรู ในปี ๒๔๔๖
ผู้ เสียชีวิตจากเฮอริเคนนี้มีประมาณ ๑,๓๓๐คน ผู้คนกว่า ๗๗๐,๐๐๐ คนต้องย้ายถิ่นอาศัยเพราะบ้านถูกทำลาย หรือไม่ก็ถูกน้ำท่วม ผลกระทบทางธุรกิจและจิตใจบ้านแตกสาแหรกขาดของประชาชนที่อยู่อาศัย “เขตทำลาย”ประเมินค่าไม่ได้
ค่า เสียหายต่อวัตถุพอประเมินได้ว่า... จากที่อยู่อาศัย ๖๗ พันล้านเหรียญ, ธุรกิจ ๒๐ พันล้านเหรียญ, สถานที่ราชการ ๓ พันล้านเหรียญ, สินค้าอุปโภคบริโภค ๒๐ พันล้านเหรียญ
ประ ธานาธิปดีจอร์ช บุช (คนลูก) หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อการปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนได้สั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหาคณะทำงานวางแผนทบทวนแผนงานการทำงานทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อม ป้องกันตอบสนองภัยธรรมชาติของรัฐ
ซึ่งรวมทั้งสรุปบทเรียนการทำงานกรณีเฮอริเคนแครททีน่าขึ้นมา เพื่อปรับปรุงแผนเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภายใน ๖ เดือนคณะทำงานฯมีข้อเสนอแนะ ๑๒๕ ข้อ ภายใต้กรอบ “สิ่งที่ท้าทายการทำงานที่สำคัญ ๑๗ ประการ” กรอบที่ว่านี้ได้แก่
๑ การเตรียมพร้อมแห่งชาติ
๒ การใช้งานแบบบูรณาการทางการทหาร
๓ การสื่อสารระหว่างหน่วยงาน
๔ การอพยพและหน่วยงานการสนับสนุนการอพยพ
๕ การค้นหาและกู้ภัย
๖ การป้องกันและรักษาความปลอดภัยของประชาชน
๗ สุขภาพอนามัยประชาชนและการสนับสนุนทางการแพทย์
๘ การบริการทั่วไป
๙ การจัดสรรที่อยู่อาศัยของมวลชนจำนวนมาก
๑๐ การสื่อสารต่อสาธารณะ
๑๑ การดูแลโครงสร้างพื้นฐาน
๑๒ การจัดการสารพิษ และการเคลื่อนย้ายซากสลักหักพัง
๑๓ การขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
๑๔ การขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ
๑๕ การฝึกอบรมบ่มซ้อมบทเรียน
๑๖ การฝึกอบรมบุคคลากรด้านความปลอดภัย และ
๑๗ การเตรียมความพร้อมของประชาชน
ที่ ร่ายเรื่องเฮอริเคนแครทที่น่ามายาวเพื่อชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างสหรัฐเมื่อเจอ “ธรรมชาติ” เข้าแล้ว ตัวเล็กจิ๊ดเดียว
ฉะนั้นการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพรรค์นี้นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ควรรับฟัง และต้องทำใจ... บุชเจอมาแล้ว
ทางออกของรัฐบาลคือ มุ่งทำงานเพื่อประชาชนต่อไป ใครเกียร์ว่าง หรือทำงานแบบ “เช้าชามเย็นชาม” ต้องจัดการ
ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันอยู่รอดในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ถ้ายังคงอุดมการณ์การทำงานทัศนคติแบบศตวรรษที่ ๑๙
โลกกำลังมองเราอยู่ สู้ต่อไปครับ