WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 12, 2011

กยน.เปิดกรอบทำงานสู้วิกฤต"น้ำ"

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


คณะ กรรมการยุทธศาสตร์ 2 ชุด ที่รัฐบาลตั้งขึ้น การสร้างความเชื่อมั่น ฟื้นความมั่งคั่งมั่นคงอย่างยั่งยืน เป็นงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ.

ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากร น้ำ หรือ กยน. มีหน้าที่ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา และจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

กยน.ตั้งมาทันสถานการณ์ มีกรอบการทำงานแค่ไหน การแก้ปัญหาจะกระทบส่วนไหนบ้าง หลังน้ำลดรัฐบาลจะยังฟังข้อเสนอแนะของกยน. หรือไม่

มีคำตอบจาก "กรรมการยุทธศาสตร์น้ำ" ชุดนี้



สมิทธ ธรรมสโรช

ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ


กรอบการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ คงต้องรอการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนร่วมกันก่อน แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน

ใน ส่วนของผมคงจะนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมา ทั้งปริมาณน้ำฝนไปจนถึงสภาวะภูมิอากาศล่วงหน้าในอนาคต เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีเพื่อใช้ในการวางแผนการป้องกันปัญหาอุทกภัย รวมทั้งภัยพิบัติต่างๆ ในอนาคต

หากคณะกรรมการนำข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลล่วงหน้าไปใช้ ก็จะสามารถพิจารณาและคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติใดขึ้นบ้าง จะสามารถวางแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากคาดการณ์สภาพอากาศในปีหน้าโดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัยสภาพอากาศจากทั่วโลก อาทิ สหรัฐ องค์การนาซ่า กรมอุตุนิยมวิทยาโลก เป็นต้น พบว่าจะเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากกว่าในปีนี้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่จะเกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่การเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง การเกิดแผ่นดินไหว ไปจนถึงน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

ส่วนตัวเห็นว่าคณะกรรมการชุดนี้ควรตั้ง ขึ้นมาก่อนในหลายๆ รัฐบาลที่ผ่านมาแล้ว ผมพูดเรื่องนี้มาหลายสิบปีตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเสีย ด้วยซ้ำ เพราะเรามัวแต่ยุ่งกับปัญหาการเมืองมากจนเกินไป โดยไม่สนใจกับภัยธรรมชาติ มาถึงตอนนี้เพิ่งจะมาพูดถึงหรือสนใจกัน

แม้ว่าจะเพิ่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแก้ปัญหาในรัฐบาลนี้ ก็ยังดีกว่าไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเสียเลย

ในส่วนของการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ต้องเริ่มจากการระบายน้ำที่มีอยู่ลงสู่ทะเลทั้งหมดโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ต้องดูแลและเตรียมแก้ปัญหาภัยแล้งที่กำลังจะมาถึงด้วย โดยการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการปลูกข้าวนาปรังในช่วงปีหน้าด้วย ไม่ใช่ระบายน้ำไปจนหมด

ส่วนการแก้ในระยะยาว ต้องดำเนินการวางแผนรับมือภัยธรรมชาติที่จะมาถึง รวมทั้งต้องจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการโครงการต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน หรือการจัดทำ flood way เป็นต้น

ที่หลายฝ่ายหวั่น เกรงว่าที่สุดแล้วคณะกรรมการชุดนี้ อาจเป็นได้แค่ตรายางให้กับรัฐบาล ผมอยากให้มองถึงตัวบุคคลที่มาเป็นคณะกรรมการ อย่างเช่นผมหรือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ก็ไม่มีใครมีสีหรือมีพรรค

หลายๆ ท่าน เช่น นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ก็ทำงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานานหลายสิบปี และทำงานเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด

ดังนั้น คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพราะปัญหาการเมือง หรือเพื่อแก้หน้าให้กับนายกฯ อย่างแน่นอน



อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

เลขาธิการ สศช.


ใน ฐานะที่สภาพัฒน์ถือเป็นฝ่ายดำเนินการ และเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ทั้งของ กยอ. และกยน. นายกฯ ย้ำว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมนี้มี 4 ระยะด้วยกัน

ระยะแรกคือระยะเฉพาะหน้า ตอนที่น้ำไหลมา หรือสิ่งที่ศปภ. ทำอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ระยะที่สอง คือช่วง 4-6 สัปดาห์ ช่วงที่น้ำยังท่วมขังอยู่ไม่ได้ระบายไปไหน ถือเป็นระยะที่เราต้องอยู่กับน้ำให้ได้

ระยะที่สาม 0-1 ปี คือช่วงระยะที่น้ำลดลงแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี ต้องทำอะไรบ้าง

ระยะที่สี่ การแก้ไขปัญหาระยะยาว คือการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ชุดขึ้นมา

เป็น ขั้นตอนที่แบ่งตามระยะเวลาความเหมาะสม การตั้งกรรมการทั้ง 2 ชุด จึงไม่ได้ชักช้าอะไรเลย โดยเฉพาะระยะที่ 3 ช่วงน้ำลด เจ้าหน้าที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ในการเข้าไปฟื้นฟู หรือเยียวยาในเรื่องต่างๆ

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ 2 ชุดนี้ ต้องมองในระยะยาวไปเลย โดยเฉพาะปีหน้าถ้าน้ำมามากอย่างปีนี้ต้องป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดซ้ำอีก

นอกจากนี้ ต้องมองปีต่อๆ ไปอีกว่าต้องลงทุนทำอะไรเพิ่มเติมอีก ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมอีกในปีที่ 2-10 ปี หรือ 20-30 ปี ซึ่งอาจต้องมีแผนแม่บทหรือมาสเตอร์แพลนออกมา ในการพัฒนาหรือฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

คณะกรรมการยุทธศาสตร์น้ำก็ต้องไปดูตั้งแต่ต้นน้ำเป็นต้นมา มองทั้งระบบว่ามีปัญหาตรงไหน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อาจต้องใช้เวลาบ้างเพื่อทำแผนแม่บทออกมา

นอกจากนี้ ทางระบายน้ำหรือที่เรียกว่า Flood Way ควรจะดีไซน์อย่างไร มีผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมอย่างไร ต้องมีทางออกตรงนี้ด้วย

หรือว่าในระยะยาว ถนนหนทางทั้งหลายจะปรับปรุงใหม่หรือไม่เพื่อไม่ให้ไปขวางทางน้ำ เพิ่มเส้นทางหรือถนนใหม่หรือไม่ หรือปรับปรุงถนนเส้นเดิมไม่ให้เป็นอุปสรรคทางน้ำไหล

พื้นที่อุตสาหกรรมจะปรับปรุงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีการขยายต่อ เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มป้องกันน้ำท่วมยาก

การป้องกันต้องมองเป็นแผนในระยะยาว อย่างที่ญี่ปุ่นการวางแผนระยะยาวไม่ใช่แค่ 5 ปี แต่เขาวางแผนกัน 50 ปี 100 ปี ซึ่งมันมีตัวเลขชี้วัดอยู่แล้วว่าเราคงหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ กรรมการ 2 ชุด ต้องมองแผนการลงทุนในระยะยาวจริงๆ

เจตนารมณ์การตั้งกรรมการยุทธ ศาสตร์ 2 ชุดนี้ เพื่อผลักดันแผนแม่บทที่ชัดเจนออกมา จึงไม่ต้องห่วงว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแล้วแผนดังกล่าวจะหายไป เพราะเมื่อกำหนดเป็นแผนแม่บทออกมาแล้วไม่ว่ารัฐบาลไหนมานั่งบริหารประ เทศก็ต้องทำต่อไป

ระยะเวลาในการออกเป็นแผนแม่บทก็ควรจะออกมาภายใน 1-2 ปีนี้ นอกจากนี้ ต้องนำผลการศึกษา หรือแผนเดิมๆ ที่เคยทำไว้หยิบขึ้นมาดูด้วย

อาทิ ผลการศึกษา 25 ลุ่มน้ำที่พูดกันมาก หรือกรณีลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็เคยมีการศึกษาไว้ 2-3 แผน ก็ต้องเอามาดูว่าต้องปรับปรุงข้อมูลใหม่หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การลงทุนแผนป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวด้วย

ต้องใช้เวลาในการศึกษาให้รอบคอบพร้อมกำหนดเป็นแผนแม่บทในระยะยาว แต่ไม่ได้ทิ้งระยะสั้น ปีหน้าถ้าฝนมาน้ำมากก็จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบปีนี้อีก แต่เรื่องน้ำท่วมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ในระยะยาวต้องมีระบบที่ดีกว่าระยะสั้น 1 ปี

เจตนารมณ์การตั้งกรรมการยุทธศาสตร์ 2 ชุดนี้ คือการบูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ จากเดิมที่มีหลายกระทรวงมาเกี่ยวข้องทำให้การทำงานไม่เป็นเอกภาพ

ส่วนจะไปสู่ข้อเสนอในการบูรณาการปรับปรุงโครงสร้างระบบ ราชการส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหรือไม่ เรายังไม่พูดกันตอนนี้ ต้องดูผลการศึกษาตรงนี้ก่อน ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่กรรมการยุทธศาสตร์ ทั้ง 2 คณะต้องเป็นผู้เสนอออกมา

รัฐบาลต้องการให้มีข้อยุติว่าถ้าจะเดินแผนระยะยาวในการบริหารจัดการน้ำ ต้องมาพูดกันแล้วออกมาเป็นแผนแม่บท ส่วนข้อเสนอแนะในเรื่ององค์กรค่อยมาว่ากันในที่ประชุม คงต้องศึกษาให้ละเอียดพอสมควร

วิกฤตจากน้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้เราต้องซีเรียสกับแผนป้องกันในระยะ 1 ปีข้างหน้า และแผนในระยะยาว ต้องเอากันจริงจังกันแล้วในตรงนี้ และสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นให้ได้ว่าปีหน้าน้ำมาอีกเราป้องกันได้ หรือเอาอยู่ ไม่มีปัญหาเหมือนปีนี้

แต่น้ำไม่ได้มาปีเดียว แล้วปีต่อไปละ อีก 5 ปีน้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือเปล่า จากการศึกษาก็พบว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุก 5 ปี ทุก 10 ปี

เราต้องมีการพยากรณ์ที่ค่อนข้างแม่นยำ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ การพยากรณ์อากาศและการพยากรณ์ในเรื่องน้ำ หลายประเทศก็ทำได้ดี เช่น ญี่ปุ่น มีการพยากรณ์เรื่องน้ำท่วมด้วย เราก็ต้องสร้างระบบพยากรณ์น้ำได้ด้วยว่าปีต่อปี สภาพน้ำของเราเป็นอย่างไร

เราต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าระบบข้อมูลของเราสามารถที่จะตอบสนองและสามารถ เตือนภัยล่วงหน้าได้ ซึ่งส่วนนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเหมือนกัน เป็นหน้าที่ของกรรมการชุด นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ต้องมีหน้าที่เสนอแนะว่าจะต้องลงทุนอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้และต้องทำทันทีหลังน้ำลด คือเตรียมแผนระยะสั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมในทันที เพราะไม่ถึง 6 เดือนฝนก็มาอีกแล้ว