ที่มา Thai E-News
"มีนโยบายให้กล่าวโทษคนเสื้อแดงในทุกกรณีเท่าที่จะเป็นไปได้ ยังมีความพยายามจะออกคำสั่งว่า หากไม่พบผู้กระทำผิดให้โยนข้อกล่าวหาำไปให้ฝา่ยเสื้อแดง อธิบดี DSI เป็นผู้ออกคำสั่งนั้น มีคำสั่งว่า หากไม่สามารถหาบุคคลที่เหนี่ยวไกปืนได้ เราจะต้องสันนิษฐานว่า ฝ่ายเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเป็นคนทำ "-เจ้าหน้าที่DSIให้สัมภาษณ์BBC(ดูในช่วงนาทีที่33-35ในคลิปนี้)
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
8 พฤศจิกายน 2554
มีผู้นำสารคดี Thailand - Justice Under Fire (ประเทศไทย-ความยุติธรรมที่ปลายกระบอกปืน)ออกเผยแพร่อีกครั้่งทางYoutube(ดูที่ http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=bIjfD4_EnVo#! อัพโหลดโดย minitau1)ความน่าสนใจในคราวนี้คือการมีซับไตเติ้ล หรือแปลเป็นภาษาไทยด้วย
ความน่าสนใจของสารคดีชุดนี้ที่จัดทำโดยสถานีโทรทัศน์BBCก็คือว่า แม้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า หากพบหลักฐานทหารสังหารประชาชน พวกเขาก็ต้องติดคุก โดยผู้พิพากษาจะตัดสินคดีเหล่านี้ ซึ่งBBCกล่าวว่า หากยิ่งลักษณ์ทำตามที่พูดได้จริงๆมันจะเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ ของไทยเลยทีเดียว
แต่BBCตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นจริงไปได้เพียงไหน เพราะประวัีติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ ไม่เคยมีการดำเนิืนคดีต่อกองทัพหรือผู้มีอำนาจสั่งการเลย ไม่ว่าจะในตอนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาทมิฬ 2535 สุดท้ายก็มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมยกเว้นความผิดให้
ในคราวเหตุการณ์ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2553 จากการทำข่าวสารคดีของBBCก็พบว่า มีความพยายามจะปกปิดความผิดให้กองทัพหรือผู้มีอำนาจสั่งการ อย่างคดีสังหารผู้สื่อข่าวช่างภาพชาวอิตาลี คือนายฟาบิโิอ โพเลงกีนั้น ทางสำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งกับพี่สาวของผู้ตาย คืออิซา โพเลงกี โดยอ้างว่าำ ไม่มีทหารในที่เกิดเหตุขณะที่มีการยิงฟาบิโอในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เลยซักคน
ทาง BBC ได้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเ้ทศที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้น 3 คน คนแรกคือ BRAD COX ยืนยันว่า DSI โกหกทั้งเพ ขอยืนยันว่ามีกองทหารอยู่ตรงนั้น อย่างน้่อยที่สุดก็ 1 ชั่วโมงก่อนเข้าสลายการชุมนุม
มิเชล มาส นักข่าววิทยุเนเธอร์แลนด์ ที่ถูกยิงบาดเจ็บเวลาเดียวกับฟาบิโอ ก็ยืนยันว่า การยิงมาจากทิศทางกองทัพ พวกเราหลบอยู่ กระสุนมาจากทิศทางทหารตั้งอยู่
ขณะที่ผู้สื่อข่าวช่างภาพญี่ปุ่นอีกรายที่เห็นฟาบิโอถูกยิงล้มลงและเข้าไป ลากตัวออกจากที่เกิดเหตุก็ยืนยันว่าทหารยิงใส่แน่ เพราะเขาเห็นกับตา
่
BBCรายงานว่า แกนนำเสื้อแดงได้แนะนำให้BBCสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ใน DSI สองคน ให้สัมภาษณ์โดยไม่เปืดเผยชื่อ และใบหน้า แต่บันทึกเทปสัมภาษณ์ไว้(ดูในคลิปYoutubeนาทีที่ 33)
เจ้าหน้าที่ 2 คนนี้ยืนยันว่า่ "เราเชื่อว่าการเสียชีวิตในเหตุการณ์นั้่น เกิดขึ้นโดยการยิงของทหาร แต่หลังจากที่เรามีข้อสรุปในคดีก่อนว่า ประชาชนถูกสังหารโดยกองทัพ คดีต่อมาที่มีข้อสรุปแบบเดียวกันก็ถูกขัดขวาง DSIถูกสั่งให้ปกปิดเรื่องกองทัพสังหารประชาชน เราถูกสั่งให้พูดว่า ในตอนนี้ยังไม่ทราบตัวผู้กระทำ แม้เราเชื่อว่า การเสีียชีวิตนั้นเกิดขึ้่นโดยการยิงของทหาร"
่เช่นเดียวกับคดีการตายของผู้สื่อข่าวช่างภาพญี่ปุ่น คือนายฮิโรยูกิ มูรามูโต้ ซึ่งถูกสังหารในวันที่ 10 เมษายน 2553 ตอนแรก DSI สรุปว่า เขาถูกฆ่าโดยทหาร ซึ่งตรงกับการสอบสวนของรอยเตอร์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของเขา แต่แล้วในเวลาต่อมาDSIได้เปลี่ยนแปลงรายงานว่า เขาอาจถูกฆ่าโดยฝา่ยเสื้อแดง
"มีนโยบายให้กล่าวโทษคนเสื้อแดงในทุกกรณีเท่าที่จะเป็นไปได้ ยังมีความพยายามจะออกคำสั่งว่า หากไม่พบผู้กระทำผิดให้โยนข้อกล่าวหาำไปให้ฝา่ยเสื้อแดง อธิบดี DSI เป็นผู้ออกคำสั่งนั้น"
"มีคำสั่งว่า หากไม่สามารถหาบุคคลที่เหนี่ยวไกปืนได้ เราจะต้องสันนิษฐานว่า ฝ่ายเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเป็นคนทำ" แต่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี DSI ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆกับ BBC
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.กล่าวปฏิเสธเรื่องผู้นำทหารไปพบอธิบดี DSI และสั่งว่า"อย่าเข้ามายุ่ง ต้องให้ทหารไม่มีความผิด" และปฏิเสธกรณี 6ศพวัดปทุมฯ ว่าอาจถูกยิงมาจากข้างนอกแล้วแบกเข้ามาในวัด
แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวยืนยันว่า หลังสลายชุมนุม คนจำนวนมากหลบเข้าไปในวัด มีทหารตามมายิง และมีคนจุดบั้งไฟขึ้น จากนั้นทหารก็ยิงมาใส่อย่างถล่มทลายแบบไม่หยุดยั้ง โดยทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าเหนือวัดปทุมฯ ทั้งที่ผู้ตายมีเครื่องหมายพยาบาล และอยู่ในวัดพุทธศาสนา เป็นเขตอภัยทาน ในกลางกรุงเทพฯ
"วัฒนธรรมการปกปิดความผิดและการโยนความรับผิดแบบไทย หากนายกฯยิ่งลักษณ์จะเอาผู้่กระทำผิดลงโทษได้ตามที่ให้สัมภาษณ์เรา ก็จะกลายเป็นกรณีแรกของประวัติศาสตร์ประเทศนี้"BBCระบุ