WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 18, 2008

อนาคตประเทศไทย บนจุดพลิกผันของเอเชีย [18 ม.ค. 51 - 19:31]

วันนี้ผมขอเอาบทความของ “คุณโทนี่” ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจับปากกาเขียนคอลัมน์เป็นครั้งแรกในวารสาร “การเงินธนาคาร” ฉบับเดือนมกราคม ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของโอกาสที่รอ อยู่ข้างหน้าในโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเตรียมตัวรับมือให้ถูกต้อง

มาอ่านแนวทางการรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์ของ “คุณโทนี่” กันดูครับ

คุณโทนี่ เริ่มต้นว่า “หลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่า ประเทศไทยของเราในปัจจุบัน ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพลวัตแห่งการเปลี่ยน แปลงครั้งใหญ่ของภูมิภาคเอเชีย แล้ว จากการที่ประเทศไทยได้บรรลุข้อตกลงทวิภาคี ว่าด้วยเขตการค้าเสรีกับจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แล้วอาเซียนกับจีนก็มีแนวโน้มว่าจะบรรลุ ุข้อตกลงดังกล่าวในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

ซึ่งจะส่งผลให้ ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไปโดยปริยาย ความเปลี่ยนแปลงต่างๆดังกล่าว จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อประเทศไทย และวิถีชีวิตของคนไทย

คุณโทนี่ ชี้ให้เห็นว่า เส้นแบ่งพรมแดนประเทศต่างๆเริ่มเลือนรางตามลำดับ สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ “เครือข่ายอินเตอร์เน็ต” มีการขยายตัวครอบคลุมแทบทุกตารางนิ้วบนโลก อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถติดต่อทำธุรกิจกับคู่ค้า ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง ให้เสียเวลา

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะทำให้ภาคธุรกิจมีโอกาสขายสินค้าและบริการมากขึ้น ตลาดก็มีขนาด ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม บริษัทเล็กๆของคนไทยในจังหวัดห่างไกล อาจมีโอกาสขายสินค้าหรือบริการ ให้กับลูกค้าได้ทั่วโลก หากสินค้าหรือบริการนั้นมีความโดดเด่นเฉพาะตัว และมีคุณค่าตาม ที่ลูกค้าต้องการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทย ที่จะสามารถคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นได้ ควรจะต้อง “มีดี” 2 ประการ คือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Experts) ในสิ่งที่เป็นธุรกิจ ของตน และ ความสามารถในการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ที่สามารถต่อยอด นำเอาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตนไปแสวงประโยชน์จาก โอกาสทางธุรกิจ ที่เปิดกว้างขึ้น

คุณโทนี่ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเราจำเป็นต้องมีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อรับมือกับ การพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีน อินเดีย เวียดนาม เพราะไทยไม่อาจใช้แรงงานและ ทรัพยากรราคาถูก สร้างความสามารถในการแข่งขันได้ตลอดไป แต่ต้องอาศัยความรู้และทักษะ ทั้งของคนและภาคธุรกิจในระดับที่สูงขึ้น

จากการสำรวจครั้งล่าสุดของธนาคารโลกเรื่อง “องค์ความรอบรู้ โดยรวมของ ระบบเศรษฐกิจ” หรือ Knowledge Economy Index อันกอปรด้วยความ ชำนาญในงาน ความรู้ด้านวิชาการ ความสามารถของผู้ใช้แรงงาน และความ ตื่นตัวในเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ประเทศไทยเราตกลงจากอันดับที่ 48 ของโลกในปี 2538 มาอยู่อันดับที่ 56 ในปี 2550 จากทั้งหมด 137 ประเทศ

ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนประการหนึ่งที่ไทยจะต้องทำโดยไม่ชักช้า ต้องเปลี่ยนวิธีคิด จากเดิม ที่ใช้ทรัพยากรราคาถูกเป็นตัวแข่งขัน มาเป็นการ เพิ่มความสามารถในการผลิต ด้วยการพัฒนา ความรู้และความเชี่ยวชาญ ของบุคลากรแทน

คุณโทนี่สรุปว่า อนาคตของประเทศไทยและคนไทย ล้วนขึ้นอยู่กับการก้าวให้ทัน ยุคแห่ง “เศรษฐกิจฐานความรู้” หรือ Knowledge Economy ในระดับ ประเทศ เราต้องลงทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาสำหรับเยาวชน ภาคเอกชนก็ต้อง ลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร รวมทั้งเพิ่มความเชี่ยวชาญทาง ธุรกิจขององค์กรด้วย จึงจะแข่งขันกับชาวโลกได้”

สูตรสำเร็จที่จีนใช้ก็คือ พัฒนา Skills เพื่อเพิ่ม Scale นั่นเอง.

“ลม เปลี่ยนทิศ”

คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย