WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 18, 2008

ข้อพิจารณาและมุมมองลักษณะพิเศษของกฎหมายไทย?


โดย เรืองยศ จันทรคีรี

นี่เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ค่อนข้างวิพากษ์วิจารณ์ได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจเอามากๆทีเดียว เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายไทยในปัจจุบัน ซึ่งผมคิดว่ามีข้อสังเกตที่แปลกพิเศษอยู่หลายประการทีเดียว โดยเฉพาะบรรดากฎหมายหลายฉบับที่ร่างออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ยุคสมัย คมช. ขึ้นเถลิงอำนาจจากการรัฐประหาร แล้วความแปลกพิเศษผิดสำแดงดังกล่าวนั้นก็เริ่มเปิดเผยตัวเองให้เรามองเห็นมากขึ้นไปเรื่อยๆ...จนอาจกล่าวได้ว่าความผิดปรกติของสังคมไทยในปัจจุบันมันมีเหตุผลสืบเนื่องจากตัวบทกฎหมายต่างๆที่พยายามร่างออกมาประกาศบังคับใช้ มันเป็นกฎหมายที่มีคำถามและข้อสงสัยติดตามมาเยอะแยะ ..
ผมขอใช้คำเพียงว่า “มีคำถามและข้อสงสัยติดตามมาเยอะแยะ” ยังไม่ถึงกับวิพากษ์วิจารณ์ออกไปรุนแรงกันในระดับ “กฎหมายเถื่อน”
มีตัวอย่างหนึ่งที่น่าหยิบยกเอามาแสดงไว้ ...คือกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งยกคำร้องของกลุ่มว่าที่ ส.ส.พปช. จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูก กกต. ควักใบแดงให้ทั้ง 3 ราย (ประกิจ พลเดช/พรชัย ศรีสุริยันโยธิน/รุ่งโรจน์ ทองศรี) โดยศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งให้เหตุผลที่น่าสนใจมากในความช่วงหนึ่งว่า


“...รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 239 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่ กกต. เป็นที่สุด” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ดังกล่าว ให้ กกต. เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยก่อนประกาศผลการเลือกตั้งให้ กกต. มีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครผู้ใด ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 239 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำวินิจฉัยกรณีนี้ซึ่งต่างกับในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว...” สรุปสั้นๆก็คือ การให้ใบแดงโดย กกต. ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งต่างกันกับกรณีประกาศผลแล้ว ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเสียก่อน ...แต่เมื่อเป็นการแจกใบแดงและตัดสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผล ..คำวินิจฉัยของ กกต. ย่อมเป็นที่สุด เรื่องราวนี้จึงไม่เกี่ยวข้องใดๆกับศาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 239 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งจึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย... ครับ...ความจริงศาลท่านก็ว่าไปตามตัวบทกฎหมาย เราจะโต้แย้งไปให้เหตุผลอื่นๆคงไม่ได้ และสำหรับบทความนี้ผมเองก็ต้องเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของศาล ไม่มีอะไรจะไปวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิบัติภารกิจของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งแต่ประการใด ...ความมุ่งหมายและตั้งใจต้องการชี้ให้เห็นความผิดปรกติของการร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 239 ขึ้นมาต่างหาก! เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลานุภาพของ กกต. ที่มีอยู่เต็มเปี่ยม การให้ใบแดงในขั้นตอนก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง อำนาจ กกต. เท่ากับมีอยู่ล้นเหลือ สูงกว่าศาลฎีกาด้วยซ้ำไป จนศาลยังไม่มีสิทธิอำนาจพิจารณาวินิจฉัย เพราะมีการเขียนกฎหมายออกมาใช้และบัญญัติให้เป็นเช่นนี้...ให้เป็นที่สุด? กกต. นั้นได้ถูกออกแบบขึ้นมาให้เป็นองค์กรจำพวกรวบอำนาจ มีความครบครันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สามารถใช้อำนาจบริหารในการจัดการเลือกตั้ง แถมยังถืออำนาจนิติบัญญัติเอาไว้ในมือเสียด้วยคือ ออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศต่างๆออกมาได้ มีสภาวะเทียบเท่าเป็นกฎหมายเช่นกัน สุดท้ายยังกระทำหน้าที่เป็นศาลสถิตยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงได้...

อำนาจที่ไพศาลและเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นนี้เอง รัฐธรรมนูญจึงเขียนให้ กกต. ดำเนินงานไปโดยความสุจริตและเที่ยงธรรม เพราะถ้า กกต. ขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวังในการใช้อำนาจ ขาดความโปร่งใสคลุมเครือ ไม่มั่นคงในความเป็นองค์กรอิสระที่แท้จริงแล้ว มันจะถูกเข้าใจได้ว่าเป็นเพียงองค์กรแบบอัลคาโปน รวบอำนาจเป็นเผด็จการแท้ๆโดยเฉพาะไม่มีการถ่วงดุลอะไรใดๆไว้เลย...นี่จึงเป็นสิ่งที่ส่งผลอันตรายไปได้หลายๆนัย? ตัวอย่างของการบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 ทำให้ กกต. ในขั้นตอนหนึ่งไปมีอำนาจทับซ้อนและมีอำนาจเหนือศาลฎีกา เมื่อกฎหมายบัญญัติออกมาเช่นนั้นศาลก็ต้องมีแนวทางไปตามกฎหมายด้วย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมถือเป็นกฎหมายสูงสุด ศาลฎีกานั้นย่อมยึดความยุติธรรมเป็นหลักชัย ใช้อำนาจในนามพระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงทศพิธราชธรรม ...แต่ กกต. ชุดปัจจุบันยังมิทันจะมีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นการแต่งตั้งขึ้นมาโดยตรงของ คปค. ซึ่งต่อมาก็กลายเป็น คมช. ... นี่เป็นเหตุผลทำให้มองได้ว่าสถานะของการใช้อำนาจเสมือนตุลาการของ กกต. เป็นการใช้อำนาจนำชนิดหนึ่ง เป็นอำนาจในการวินิจฉัยคดีเลือกตั้งที่ซ้อนอยู่กับศาลฎีกาที่กระทำภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ตัวอย่างของรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 ทำให้เราสรุปได้ว่าเกิดสภาวะอำนาจนำอีกชนิดที่ไม่ได้ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์... การบัญญัติกฎหมายลักษณะนี้จึงมีโอกาสที่จะดึงและลากเอากระบวนการยุติธรรมให้เกิดความเสียหายได้ ถ้าหากว่าทาง กกต. ไปใช้อำนาจของตนอย่างปราศจากความเที่ยงธรรมและสุจริต!!

คอลัมน์ คิดเหนือข่าว

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้วันสุข

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2204 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 17 มกราคม 2008