WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 18, 2008

ทีวี ‘สาธารณะ’

จอน อึ๊งภากรณ์ เคยให้สัมภาษณ์กับ ประชาไท ถึงอนาคตของทีวีสาธารณะ และตั้งคำถามตัวใหญ่ๆ ว่า ทีวีที่ตั้งต้นเพื่อสาธารณะนี้จะเป็นสาธารณะในทางไหน ระหว่าง คุณธรรม กับ ประชาธิปไตยสำหรับผมและ กองบรรณาธิการประชาไทนั้น นี่คือคำถามที่แหลมคมที่มีต่อความเป็นอยู่และเป็นไปของทีวีสาธารณะภายใต้ชื่อของ TPBS

ยิ่งเมื่อความหมายของ คุณธรรม กับ ประชาธิปไตยนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือของการต่อสู้ของสองกลุ่มอำนาจด้วยแล้ว ยิ่งทำให้สนามการแย่งชิงทีวีสาธารณะน่าสนใจและน่าทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


ถ้ายังไม่เลือนลางไปนัก การรณรงค์ด้าน คุณธรรมเป็นวาทกรรมหลักของกลุ่มต่อต้านทักษิณ ตลอดจนคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เราเห็นโครงการ คุณธรรมนำไทย เครื่องมือของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อใช้รุกทางความคิดและเป็นเสมือนซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการจัดการมวลชน คุณธรรมยังเป็นเหตุผลประการแรกๆ ของโครงการและนโยบายของรัฐหลายโครงการตลอดปีเศษที่ผ่านมา ไม่เท่านั้น ยังเป็นแก่นแกนหลักของ เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นเสมือนโปรแกรมสำเร็จรูปที่จะมากจะน้อยก็ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาหรือใช้ในการบริหารอำนาจ


ขณะที่ ประชาธิปไตยนั้น ก็เป็นเครื่องมือชั้นดีของการรุกจากกลุ่มทุนนิยมและทุนโลกาภิวัตน์ อย่าลืมว่า ทักษิณและพรรคไทยรักไทยก็กอดคำนี้ไว้ใช้ต่อสู้แม้ในยามที่ต้องถ่อยร่น พ่ายแพ้ และกลายเป็นจุดแข็งแทบจะเพียงประการเดียวที่ทำให้เกิดแนวร่วมต้านรัฐประหาร และได้รับแรงหนุนจากนานาชาติที่ยึดประชาธิปไตยเป็นสรณะ


ขณะที่ประชาธิปไตยเป็นจุดอ่อนของคณะรัฐประหารและพันธมิตรของคณะรัฐประหาร คุณธรรมก็เป็นจุดอ่อนของเครือข่ายทักษิณ


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณธรรมจะเป็นจุดอ่อนของกลุ่มต้านรัฐประหารไปด้วย เพราะกลุ่มที่ต้านรัฐประหารจำนวนมาก แม้จะตั้งคำถามกับคุณธรรมโดยเฉพาะคุณธรรมแบบที่เป็นอยู่ในสังคมไทยที่เอาแต่เชิดชูคนดีปล่อยให้กดขี่เต็มบ้านเต็มเมืองแล้วจงใจละเลยความเป็นมนุษย์ (เพราะไม่ว่าคนดีหรือไม่ดีต่างก็เป็นมนุษย์ทั้งนั้น) กระนั้นก็ตั้งคำถามกับประชาธิปไตยอย่างที่เป็นอยู่ในสมัยทักษิณเช่นเดียวกัน


ผมไม่มีปัญญาจะอธิบายอะไรข้างต้นให้เป็นวิชาการได้มากกว่านี้ แต่หากการอธิบายข้างต้นพอใช้ได้ เราก็จะเห็นว่า สนามของการชิงพื้นที่ในทีวีสาธารณะ TPBS นั้นถูกรั้งดึงจากแรงสุดขั้วสองด้าน และนั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงเกิดภาพการรีบเร่งตั้งกรรมการนโยบายชั่วคราวเพื่อกำหนดทิศทางใน TPBS และจากตัวบุคคลที่นั่งเป็นกรรมการนโยบายชั่วคราว หรือจากการเผยแพร่รายการหลังการปิดตัวหรือจอมืดของทีไอทีวี ก็คงไม่ต้องบอกว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะในสนามแห่งนี้


ไม่ต้องเอาไรมาก เวทีแถลงแรกๆ ผ่านช่องทางออกอากาศ TPBS ของกรรมการชั่วคราว เราก็จะเห็นคำถามแล้วว่า ทีวีสาธารณะที่ไหนที่ปล่อยให้กรรมการมากำหนดว่า อะไรที่ประชาชนดวรดูหรือไม่ควรดู คอยกำหนดว่าอะไรที่ดีกับประชาชน ไปๆ มานี่ก็แค่ระบอบผู้ใหญ่ปกครองเด็ก หรือเห็นประชาชนเป็นไพร่ มีแต่คนมีความรู้ และเรียกกันเองว่า คนดีที่จะคอยกำหนดการรับรู้ของประชาชนได้ ขณะที่ทีวีเสรีแบบเดิมๆ ก็ปล่อยให้โฆษณาและกลไกตลาดเป็นผู้กำหนดว่าประชาชนควรดูอะไรไม่ควรดูอะไร ซึ่งก็มอมเมาอีกแบบหนึ่ง


คำถามก็คือ ประชาชนที่เห็นความเลวร้าย หรือผิดพลาดของรัฐบาลสมัยทักษิณในน้ำหนักต่างๆ กันไป แต่รักประชาธิปไตยรักระบบ ระบอบ และเข้าใจความสำคัญของหลักการและหลักเกณฑ์ หลักนิติธรรม รักความเป็นมนุษย์ของทั้ง คมช. และของทักษิณ ขณะเดียวกันก็ไม่เอาโฆษณาชวนเชื่อ ไม่เอาการบังคับให้รักคนดี ไม่เชิดชูคุณธรรมเพื่อการกดขี่ อยากเห็นการพัฒนาที่เท่าทันและยั่งยืน ไม่มักง่าย เอาแต่สังคมสงเคราะห์ โปรยทาน โดยไม่ยอมสร้างโครงสร้างที่ดีที่เคารพและตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพ คนเหล่านี้มีจำนวนมาก คนเหล่านี้จะอยู่ที่ไหน หรือจะมีพื้นที่ในทีวีสาธารณะหรือไม่


พื้นที่เล็กๆ ที่ไม่ใช่ทั้งสองอย่างนั้น และไม่ใช่ตรงกลางแบบประนีประนอมน่ะมีไหม


สาธารณะ ที่ให้ความหมายถึง คนทุกคนอย่าง เท่าๆ กันน่ะมีไหม ใน บ้านเมือง(ที่ไม่ใช่)ของเรา


เพราะสำหรับเรา คุณธรรม คือความเท่าเทียม และ ประชาธิปไตยก็ต้องเป็นของคนด้อยโอกาสด้วย


โดย : ประชาไท