WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 18, 2008

ไม่เสียดาย TITV

ไม่ว่าศาลปกครองจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีคืนชีพกลับมาแพร่ภาพได้ต่อไปจนกว่าทีพีบีเอสจะพร้อมออกอากาศหรือไม่ แต่บอกตรงๆ
ไม่รู้สึกเสียดายทีไอทีวีเลยแม้แต่น้อย
จะเสียดายทำไมเมื่อทีไอทีวีไม่ได้มีสถานะเป็นสื่อเสรี นับตั้งแต่รัฐบาลฮุบเอาไอทีวีมาให้กรมประชาสัมพันธ์ควบคุมดูแล
ถ้าจะต้องหลั่งน้ำตาเสียดายกันจริงๆ ต้องเสียดายความเป็น “สื่อเสรี” มากกว่า
เสียดายทั้งๆที่ “สื่อเสรี” ไม่เคยมีจริงในประเทศไทย
เพราะทุกสื่อตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่มีความเข้มข้นในการเข้าไปแทรกแซงมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้มีอำนาจในยุคนั้นๆ
ไอทีวีเป็นทีวี.เสรีช่องแรกของไทย เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นองเลือดพฤษภาทมิฬปี 2535
หลักการของไอทีวีหรือสื่อเสรีคือต้องการให้มีสื่อสักช่องที่มีความเป็นอิสระปราศจากการควบคุมโดยผู้มีอำนาจ


เป็นสื่อที่กล้าเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือหวังว่าเมื่อมีการปฏิวัติ สื่อเสรีนี้จะเป็นปากเสียงให้ประชาชน นำเสนอข่าวสารต่างๆตรงไปตรงมา ไม่ทำให้ประชาชนถูกปิดหูปิดตา หรือถูกยัดเยียดข่าวสารให้เฉพาะในสิ่งที่ผู้มีอำนาจต้องการให้รับรู้เท่านั้น แต่ความเป็นสื่อเสรีของไอทีวีก็ถูกบั่นทอนไปตั้งแต่บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าไปเทคโอเวอร์กิจการ และมาสูญเสียความเป็นสื่อเสรีมากขึ้นเมื่อมีการยึดอำนาจครั้งหลังสุด 19 ก.ย. 2549 จำได้ว่าในช่วงที่มีการถกเถียงกันเรื่องหลักการที่จะให้มีสื่อเสรีเกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ผู้เสนอมองว่าทุกครั้งที่มีการปฏิวัติทหารมักจะเอากำลังไปยึดสื่อต่างๆก่อน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ การให้สื่อเป็นของเอกชนเชื่อว่าจะเพิ่มความเสี่ยงการทำปฏิวัติมากขึ้น เพราะถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกเจ้าของสื่อเสรีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เข้าไปยึดสถานี ทำให้ไม่สามารถออกอากาศรายการได้ตามผังปรกติ แต่ความคิดนั้นก็เป็นแค่ความฝัน เพราะการปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 2549 ไอทีวีเป็นสถานีแรกๆที่ทหารเข้าไปยึดและควบคุมการออกอากาศ ขณะที่ช่อง 9 อสมท. ซึ่งเป็นสถานีของรัฐกลับเป็นช่องสุดท้ายที่ถูกควบคุมการออกอากาศ

กลายเป็นว่าทีวี.เสรีตกเป็นเป้าหมายแรกๆที่ทหารจะต้องเข้ายึด ความจริงจึงแตกต่างจากความคิดในอุดมคติที่จะให้มีสื่อเสรีในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง ทีวี.เสรีนับเป็นหลักการที่ถูกต้องควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ และควรสนับสนุนให้มีมากๆด้วยซ้ำ เพราะเมื่อช่องหนึ่งล้มหายตายจากไป ก็จะยังมีอีกหลายช่องทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงไม่เคยนึกเสียดายทีไอทีวีเลยแม้แต่น้อย หากรัฐบาลใหม่ต้องการปฏิรูปสื่อก็ควรผลักดันให้มีสื่อเสรีเกิดขึ้นมาอีก และต้องให้มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขให้มุ่งนำเสนอเนื้อหาที่เป็นข่าวสารและสาระต่อประชาชน มีรายการบันเทิงปนบ้างพอเป็นน้ำจิ้ม ซึ่งทีวี.ดาวเทียมน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด ที่สำคัญจะได้ใช้โอกาสนี้จัดระเบียบทีวี.ดาวเทียมที่ออกอากาศกันอย่างผิดกฎหมายอยู่มากมายหลายช่อง ให้เข้ามาอยู่ในกฎเกณฑ์เดียวกันเสียที

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2205

ประจำวัน ศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2008

คอลัมน์ คิดนอกกรอบ โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข