WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 19, 2008

รัฐจนแต้มยื้อเงินบาทแข็งค่า [19 ม.ค. 51 - 06:30]

ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (17 ม.ค.) ว่า ค่าเงินบาทในช่วงบ่ายได้แข็งค่าขึ้นมาอีกรอบมาแตะที่ระดับ 33.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแข็งที่สุดในรอบปีอีกครั้ง โดยที่นักวิเคราะห์ค่าเงินยังคงประเมินว่าในสัปดาห์หน้าค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นไปทะลุ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ส่งออกพากันเทขายเงินดอลลาร์ ตามมาอีกระลอก

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์ อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินทั้งภูมิภาคเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับแข็งค่าขึ้นอีกจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือซับไพร์ม และเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปแตะระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ “ครึ่งหลังปีนี้หากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯจบลง จะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าอย่างรุนแรง และการคาดการณ์ที่ว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปีนี้จะลดลง จากการส่งออกที่เติบโต ช้าลง เพราะภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่การนำเข้ามีโอกาสขยายตัวมากขึ้นทำให้ค่าเงินบาทในครึ่งปีหลัง มีโอกาสกลับไปอ่อนค่าที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ”

สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะขยายตัว 4.0% จาก 4.7% เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองยังมีความไม่แน่นอนสูงและภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอย และเผชิญกับปัญหาซับไพร์ม

ทั้งนี้ หากภาครัฐต้องการให้จีดีพีเติบโตตามเป้าไม่ต่ำกว่า 5% ก็จำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังและการเงินควบคู่กันไป แต่ขณะนี้การใช้นโยบายการคลังอาจจะยังไม่คล่องตัวนัก เนื่องจากเป็นช่วงสุญญากาศทางการเมือง ขณะที่หากจะใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมองว่ามีโอกาสที่ ธปท.จะลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 0.50% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้เป็นประเด็นหลักที่ควรกังวล

นางสาวอุสรากล่าวว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงครึ่งปีหลัง มีโอกาสลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีโอกาสลดดอกเบี้ย จาก 4.25% มาที่ 3.00% เพราะฉะนั้นทางการควรให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯต่อไทยคงจะมีไม่มากนัก เพราะขณะนี้รัฐบาลสหรัฐฯได้ ประกาศชัดเจนที่จะมีมาตรการออกมารองรับปัญหาดังกล่าวทั้งการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้นโยบายการเงิน ซึ่งชัดเจนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในปีนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในสหรัฐฯและประเทศอื่นๆลดลง

“ผมเชื่อว่ามาตรการที่สหรัฐฯจะนำมาใช้ นั้นจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ระดับหนึ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ในปีนี้ สำหรับผลกระทบที่มีต่อไทยนั้นเชื่อว่าไม่น่าจะรุนแรงแต่จะรุนแรงก็ต่อเมื่อมาตรการที่สหรัฐฯ นำออกมาใช้แล้วไม่ได้ผล”

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้เตรียม พร้อมที่จะสร้างฉนวนเพื่อรับกับปัญหาไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยฉนวนสำคัญในระยะสั้นคือ การกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งขณะนี้ถือว่ายังมีช่องว่างในการดำเนินการได้โดยที่ไม่เป็นแรงกดดันในการกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ สศค.ได้เตรียมมาตรการต่างๆไว้รองรับ โดยจะเสนอต่อรัฐบาลใหม่เพื่อพิจารณาอนุมัติในลำดับต่อไป ทั้งนี้ปัญหาซับไพร์มและปัญหาราคาน้ำมันเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาแก้ไขและติดตามอย่างใกล้ชิด

ส่วนภาคการส่งออกในปีนี้นั้นต้องยอมรับว่ามูลค่าการส่งออกในปีนี้จะไม่ดีเท่าปีก่อน เพราะเจอกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่เชื่อว่าจะไม่ทำให้ภาคการส่งออกถึงขั้นติดลบเพราะขีดความสามารถในการแข่งขันยังไปได้แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ บริษัทส่งออก ขนาดใหญ่ก็ยังคงได้ประโยชน์จากการส่งออก ซึ่งบริษัทส่งออกขนาดใหญ่ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ.