WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 27, 2008

ชูศักดิ์ ยืนยันไม่จำเป็นต้องถอนญัตติแก้ไข รธน.


ทำเนียบฯ 27 พ.ค. - “ชูศักดิ์ ศิรินิล” ยันไม่จำเป็นต้องถอนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาก่อนเพื่อทำประชามติ อ้างเป็นเอกสิทธิ์ที่ ส.ส.ทำได้ นำกฎหมายประชามติ 2541 หารือใน ครม. ว่ายังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ เพื่อเป็นทางออกแก้ปัญหาม็อบ พร้อมมั่นใจกรณี “จักรภพ” ไม่เป็นเหตุให้รัฐบาลล้ม ขู่พันธมิตรฯ อย่าเกินเลยสิทธิส่วนบุคคล แต่หวั่นปัญหาม็อบจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว โยนเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องเข้ามาดูแลไม่ให้ปัญหาบานปลาย

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แสดงท่าทีเปลี่ยนจากการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นการขับไล่รัฐบาล ว่า สุดแต่จะพิจารณากันว่าเป็นอย่างไร เพราะการเมืองเวลานี้ยังแบ่งเป็นขั้วฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ ทั้งนี้ ประเทศบอบช้ำมามากแล้ว น่าจะช่วยกันทำให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้

เมื่อถามว่า ปัญหาจะลุกลามบานปลายหรือไม่ เนื่องจากมีการนำเรื่องนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นประเด็นโจมตีขับไล่รัฐบาล นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของนายจักรภพ ที่บอกว่าเป็นดุลพินิจของประชาชน และสื่อในการพิจารณา เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในจุดที่ควรจะเป็น

ต่อกรณีในฐานะที่เป็นรัฐบาลจะหาทางออกให้บ้านเมืองอย่างไร นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ในประเด็นของรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนว่าดีที่สุดคือ การทำประชามติฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นทางออกระดับหนึ่ง แต่หากกลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า ไม่ใช่ทางออกแล้วจะมาขับไล่รัฐบาล ตนเห็นว่าเป็นเรื่องของบ้านเมืองที่ต้องเข้ามาดู

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีการข้ามขั้นตอน โดยได้ยื่นญัตติเข้าสู่สภาฯ ก่อนที่จะทำประชามติ ดังนั้น ควรจะถอนญัตติออกมาก่อนเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนหรือไม่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ คงจะหารือกันว่ากฎหมายประชามติ ปี 2541 ยังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญระบุว่า การยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 กฎหมายประกอบไม่ได้ยกเลิก ถ้าจะยกเลิกต้องมีคำสั่งให้ยกเลิก จึงคิดว่า พ.ร.บ.ประชามติปี 2541 ยังมีผลอยู่ แต่รัฐธรรมนูญปี 50 บอกว่า ให้ กกต.ไปทำกฎหมายประชามติภายใน 1 ปี ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความสับสนทางกฎหมาย

“วันนี้คงหารือกันว่า ท้ายที่สุดกฎหมายดังกล่าวยังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็ใช้กฎหมายนั้น แต่ถ้าใช้ไม่ได้ ก็จำเป็นต้องเร่งรัดในการตรากฎหมายออกมารองรับ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ ส.ส.ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสภาฯ ไปก่อนทำประชามติ ถือเป็นเอกสิทธิ์ของเขา แต่รัฐบาลมีสิทธิที่จะหารือใน ครม. ว่ามีเรื่องใดที่มีความจำเป็นควรหารือ หรือถามความคิดเห็นจากประชาชน ก็ออกเป็นมติ ครม. ตรงนี้ก็สามารถทำได้ ผมคิดว่า ทางที่ดีที่สุดคือ เมื่อบรรจุวาระไว้ก็บรรจุไป แต่ควรจะหารือในสภาฯ ว่า รัฐบาลกำลังจะทำประชามติ จะรอฟังก่อนหรือไม่ ซึ่งถือเป็นทางออกได้ ไม่จำเป็นต้องมาพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ว่ารับหลักการหรือไม่” นายชูศักดิ์ กล่าว

เมื่อถามว่า ผู้ใหญ่ในพรรคจะหารือกับ ส.ส.ในพรรค เพื่อที่จะถอนญัตติออกมาก่อนหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า คงจะพูดคุยกับ ส.ส.ในพรรคที่ได้ยื่นเรื่องไปแล้ว และต้องพูดคุยกับประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ว่า ถ้าเป็นแบบนี้ทำได้หรือไม่ และคิดว่าน่าจะเป็นทางออกได้ ส่วนที่มีผู้ทยอยขอถอนชื่อออกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนตัวเห็นว่าไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องถอนเรื่องออก เมื่อยื่นไปแล้วเป็นเอกสิทธิ์ของเขา ถ้ารัฐบาลเสนอให้มีประชามติก็ต้องรอฟังประชามติ เรื่องนั้นก็ค้างอยู่ แต่ถ้าเห็นว่าควรแก้ก็เดินหน้าต่อไป แต่ถ้าไม่เห็นด้วยต้องถอนเรื่องนั้นออก

ต่อข้อถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้เปิดประเด็นใหม่ ๆ โดยล่าสุด หยิบเรื่องล้มรัฐบาลมาโจมตี รัฐบาลจะชี้แจงหรือเรียกมาพูดคุยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะพิจารณาว่าควรเป็นอย่างไร แต่เห็นว่าประเทศชาติไม่ควรจะไปถึงขนาดนั้น เพราะบอบช้ำมามากแล้ว

“เรื่องที่กลุ่มผู้ชุมนุมโจมตีถึงขั้นไล่รัฐบาล ผมคิดว่าเลยเถิด และถ้าเลยเถิดไปเช่นนี้ ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา“ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ต่อกรณีนายกรัฐมนตรีไม่ใช่คนประนีประนอม เกรงว่าจะเกิดปัญหาหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ดูว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรีคงจะหารือกับฝ่ายความมั่นคงถ้าเหตุการณ์บานปลาย แต่อยากฝากเตือนสติว่า ไม่ควรจะมีเหตุวุ่นวาย รุนแรงในบ้านเมือง

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีจะเรียกฝ่ายความมั่นคงหารือ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ เป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ชุมนุมควรคำนึงถึงเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย ที่ผ่านมา ใช้วิธีการประนีประนอม ไม่ได้จัดการโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าเกินเลยไปเป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงจะเข้ามาดูแลความปลอดภัย รัฐบาลคงไม่นิ่งดูดายปล่อยให้สถานการณ์บานปลายไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ที่ผ่านมา เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว หากจะทำอะไรต้องรอบคอบระมัดระวัง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

เมื่อถามว่า มี ส.ส.ของพรรคได้กล่าวอาฆาตว่า หากแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ไปต่างจังหวัด จะมีการตั้งค่าหัว นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เป็นความเห็นส่วนตัว พวกตนได้แต่เตือนว่า อย่าไปสร้างเงื่อนไขอะไรที่มีความรุนแรง หรือเกิดความท้าทาย ดังนั้น ทุกฝ่ายควรฟังความเห็นของกันและกัน และเคารพซึ่งกันและกัน คิดว่าบ้านเมืองเดินหน้าไปได้.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-05-27 14:03:49