WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 26, 2008

‘ดร.โกร่ง’สุดทนพฤติกรรมปชป. ซัด!ทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย

“ดร.โกร่ง” ทนพฤติกรรมพรรคเก่าแก่ไม่ไหว เขียนบทความชำแหละ อัดเป็นพรรคการเมืองที่ละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย เปรียบเหมือนทาร์ซานอุ้มเจนโหนกระแส โหนทหารออกมายึดอำนาจ ถึงเวลาแพ้เลือกตั้งเลยต้องโห่ร้องอย่างโหยหวน พร้อมชี้แนะ หัดส่องกระจกดูตัวเอง หัดหานโยบายใหม่ๆ เอาใจประชาชน

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.วีรพงษ์ รามางกูร นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือที่เรียกขานกันว่า ดร.โกร่ง ได้เขียนบทความลงในคอลัมน์ คนเดินตรอก ของหนังสือพิมพ์ธุรกิจชื่อดังฉบับหนึ่ง ในหัวข้อบทความว่า “ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป” ซึ่งไม่บ่อยครั้งที่นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังคนนี้จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมือง โดยเฉพาะมีนัยต่อพรรคการเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ของประเทศไทย นั่นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์

ดร.วีรพงษ์ เริ่มบทความชำแหละพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการกล่าวถึงการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเมือง “ต้องการการปฏิรูปอย่างรุนแรงและขนานใหญ่” มิฉะนั้น ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศไทยและเขาก็ไม่ต้องการอย่างนั้น

“พรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่า เขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์” บทความระบุไว้ตอนหนึ่ง

ดร.วีรพงษ์ เสนอแนะต่อพรรคประชาธิปัตย์ไว้ถึง 6 เรื่อง โดยเรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ว่า การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ทุกวิถีทางนั้น ต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ จอมพลผิน ชุณหะวัณ และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้ง โดยการช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4 เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค

ทั้งนี้ ทรรศนะที่ถูกต้องก็คือ ต้องสร้างผลงานในทางสร้างสรรค์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการต่างประเทศ ในด้านการต่างประเทศ เพราะประเทศไทยใหญ่พอที่ผู้นำของไทยสามารถจะเป็นผู้นำของภูมิภาคได้อย่าง ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด

“น่าเห็นใจผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนมากเป็นทนายความ เป็นครู เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จน้อย หัวหน้าพรรคแม้ว่าจะมีอายุพอสมควรแล้ว มีการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่ไม่เคยทำงานรับผิดชอบจริงๆ ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิด ผลจึงออกมาในสายตาประชาชนว่าที่คิดที่พูดนั้น ตนเองก็ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเลย แต่พูดไปตามมติพรรคซึ่งล้าสมัยแล้ว” ดร.วีรพงษ์ ระบุ

เรื่องที่สอง เหตุที่พรรคมีทัศนคติในทางลบและไม่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ก็เพราะพรรคถูกครอบงำด้วยผู้นำรุ่นเก่าที่เคยประสบความสำเร็จโดยการทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้ามที่เป็นรัฐบาลทหาร ขณะนั้นโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นรัฐบาลไม่มี เพราะทหารกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเอาไว้

พรรคประชาธิปัตย์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ดีที่สุด ผู้นำพรรค ซึ่งบัดนี้อายุอยู่ระหว่าง 65-75 ปี จึงติดยึดอยู่กับยุทธวิธีแบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

เมื่อมีพรรคใหม่ที่ผู้นำพรรคเกือบ 100 คน มาจากคนที่มีประสบการณ์ทั้งทางธุรกิจและทางราชการ มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในยุคโลกาภิวัตน์ ทำการบ้านว่าคนชั้นล่างซึ่งมีสัดส่วนที่สูงต้องการอะไร และสามารถทำอย่างที่ตนสัญญาไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งได้ พรรคประชาธิปัตย์จึงพ่ายแพ้อย่างยับเยินครั้งแล้วครั้งเล่า

ดร.วีรพงษ์ ระบุในบทความว่า นอกจากผู้นำพรรคไม่ยอมรับความบกพร่องของตนแล้ว ยัง หลอกตนเองว่า พ่ายแพ้การเลือกตั้งเพราะฝ่ายตรงกันข้ามซื้อเสียง แต่ในกรณีที่ทหารและข้าราชการถูกสั่งให้มาช่วยอย่างเต็มที่ทั้งกำลังคน กำลังอำนาจ และกำลังเงินซื้อเสียงให้ แล้วยังแพ้อย่าง ยับเยิน ตนกลับไม่คำนึงถึง หลายคนบอกว่าแม้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่ซื้อเสียงเลยก็ยังชนะพรรคประชาธิปัตย์ โดยสิ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือ ผู้ที่ออกจากพรรคไทยรักไทยไปอยู่พรรคอื่น กลับสอบตกเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีกระสุนจากทหารมาช่วยจำนวนมาก

นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ชี้ในเรื่องที่สามให้เห็นว่า ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ อาจแบ่งเป็น 2 พวก คือนักกฎหมายกับพวกครู ซึ่งไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเมื่อกฎหมายระเบียบแบบแผนเป็นอย่างไรก็ถือเป็นคัมภีร์ ให้ข้าราชการเป็นผู้แนะนำและชี้นำนโยบายในการทำงาน อีกพวกหนึ่ง เป็นพวกที่มีผลประโยชน์ จึงไม่ยอมให้คนรุ่นใหม่เข้าไปรับผิดชอบพรรคจริงๆ ยังกุมอำนาจพรรคไว้ด้วยผลประโยชน์

ขณะที่ ดร.วีรพงษ์ ชี้ให้เห็นว่า พรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามพรรคประชาธิปัตย์พูดเสมอว่า กฎหมายระเบียบแบบแผนเป็นเครื่องมือที่จะทำให้งานสำเร็จ ประชาชนได้ประโยชน์ ถ้ากฎหมายข้อบังคับเป็นอุปสรรคก็ต้องแก้ไข เพราะกฎหมายข้อบังคับระเบียบแบบแผนสร้างมาโดยมนุษย์ มนุษย์ย่อมสามารถแก้ไขได้ มนุษย์ต้องเป็นนายกฎหมาย ไม่ใช่ให้กฎหมายมาเป็นนายมนุษย์

ข้าราชการไม่ใช่ผู้กำหนดนโยบายแต่เป็นผู้นำนโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ กลับกันกับวิธีคิดของประชาธิปัตย์ ดังนั้น ผลงานของประชาธิปัตย์ในฐานะเป็นรัฐบาล ไม่ใช่ในฐานะของฝ่ายค้านจึงไม่ค่อยมีเป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่เคยร่วมรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเวลากว่า 15 ปี

ดร.วีรพงษ์ ระบุในบทความถึงการมาซึ่งเสียงสนับสนุนของคนภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการกล่าวว่า เขาเคยถามเพื่อนฝูงชาวปักษ์ใต้ที่ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี ชอบผลงานของรัฐบาลพรรคไหน ซึ่งก็ไม่มีใครบอกว่า ผลงานของประชาธิปัตย์ดีกว่าคู่ต่อสู้ ขณะที่ทุกคนกลับบอกว่าผลงานของรัฐบาลคู่ต่อสู้ดีกว่า แต่ที่เลือกประชาธิปัตย์เพราะพ่อแม่ปู่ย่าตายายเลือกประชาธิปัตย์ หรือที่เลือกก็เพราะผู้นำพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายหัวเป็นคนใต้เคยถามต่อว่าถ้านายหัวไม่อยู่แล้วจะเลือกอย่างไร ผู้ตอบก็ตอบไม่ถูกเหมือนกันเอาไว้ถึงเวลานั้นแล้วค่อยคิด

“พฤติกรรมการเลือก ส.ส. ของคนใต้ จึงต่างกับคนอีสานและคนเหนือ ที่เน้นว่า ส.ส. คนนั้นเคยทำประโยชน์ให้กับตนหรือชุมชนของตนแค่ไหน ส่วนในกรุงเทพฯ เลือกไปตามกระแสที่สื่อมวลชนยัดเยียดให้ เพราะตนก็ไม่เคยได้ประโยชน์อะไรเป็นชิ้นเป็นอันจาก ส.ส. ของตนอยู่แล้ว เพราะตนเองก็มีเส้นสายโยงใยเองอยู่แล้ว ไม่เดือดร้อนเหมือนคนในต่างจังหวัด”

ดร.วีรพงษ์ ยังเชื่อมจากเรื่องที่สามมายังเรื่องที่สี่ ที่เปรียบพรรคประชาธิปัตย์เป็นทาร์ซานด้วยว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่พยายามเข้าถึงคนระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และแม้แต่ในกรุงเทพฯ พรรคจึงไม่เน้นที่จะสร้างผลงาน แต่เน้นในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทุกวิถีทาง พรรคประชาธิปัตย์จึงกลายเป็นทาร์ซาน ที่พยายามจะช่วยเจนโดยการโหนเถาวัลย์ โหนกระแส และโหนทหาร แล้วให้เจนคอยกอดเอว พอเจนจับพลาดในที่สุดทาร์ซานก็ต้องป้องปากโห่อย่างโหยหวนลั่นป่า

“การทำตัวเป็นทาร์ซานจะไปถึงที่หมายโดยวิธีโหน จึงต้องละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางกฎหมาย ความถูกต้อง จารีต ประเพณี ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ร่วมมือกับทหารสร้างทางตันเพื่อเชื้อเชิญให้ทหารปฏิวัติ ทำลายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคฝ่ายตรงกันข้ามถูกยุบ ให้นักการเมือง ฝ่ายตรงกันข้ามถูกตัดสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติ จะตอนพรรคการเมืองไม่ให้โต สร้างองค์กรอิสระที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นผลเสียกับตัวเองด้วยในระยะยาวแต่ก็ยอมทำ ทำให้พรรคเสียคะแนนจากผู้คนที่หัวก้าวหน้าและคนรุ่นใหม่อย่างน่าเสียดาย”

ทั้งนี้ การที่พรรคประณามนโยบายและโครงการที่เป็นประโยชน์กับคนระดับล่าง ทั้งๆ ที่อยู่ในกรอบที่การเงินการคลังของประเทศรับได้ เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเฟือจนธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยากจะได้ว่าเป็นโครงการ “ประชานิยม” เท่ากับการทำลายเสียงของตนเองกับคนระดับล่างทั่วประเทศและจำกัดตัวเอง เพราะถ้าตนเองเป็นรัฐบาล ก็คงต้องทำ หรืออาจจะทำมากกว่า เพราะที่ใช้หาเสียงสัญญาว่าจะทำมากกว่า

ส่วนเรื่องที่ห้า พรรคประชาธิปัตย์เป็น พรรคปิด มีระบบอาวุโสที่เหนียวแน่น สมาชิกใหม่ให้อยู่ระดับล่าง หรือในสภาก็อยู่แถวหลังหรือที่อังกฤษเรียกว่า “Back Benchers” แต่อังกฤษผู้นำพรรคที่นำ พรรคไปแพ้เลือกตั้งจะลาออกเกือบหมด เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาแทน แต่ของเราไม่มีประเพณีอย่างนั้น สมาชิกรุ่นใหม่จึงไม่มีโอกาสมานำพรรค ผู้นำพรรค ไม่มุ่งจะทำพรรคให้ชนะการเลือกตั้ง เพียงแต่ได้ ส.ส. มากเพิ่มขึ้น ก็พอใจจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้ว

ขณะที่เปรียบว่าฝ่ายตรงกันข้ามพรรคประชาธิปัตย์ เน้นในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจของผู้ออกเสียง เน้นคะแนนนิยมในตัว ส.ส. เน้นการเมืองที่มีผลสำเร็จของการเลือกตั้ง เน้นทางด้านการหาเงินช่วยพรรค ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงเข้าใจ ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนตัวผู้นำพรรคระดับรองๆ ลงไปอยู่ตลอดเวลา พรรคฝ่ายตรงกันข้ามจึงสามารถ “ดูด” นักการเมืองให้เข้าพรรคได้มากขึ้นเสมอ เพราะมาอยู่แล้วโอกาสชนะการเลือกตั้งมีสูง ไม่ใช่เพราะเงินอย่างเดียวอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจ

ดร.วีรพงษ์ ระบุเรื่องที่หก เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยหวังว่าจะชนะการเลือกตั้งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว หวังแต่เพียงเป็นแกนนำของรัฐบาลผสม เมื่อหวังเพียงเท่านี้ก็ทำให้มีทัศนคติว่า ถ้าสามารถทำลายพรรคคู่แข่งไม่ให้ลงมาแข่งในการเลือกตั้งก็พอแล้ว

พร้อมชี้ว่า หากพรรคประชาธิปัตย์รู้จุดอ่อนความสามารถในการสร้างนโยบายใหม่ๆ ไว้ขายกับประชาชน หรือถ้าคิดไม่ออกก็ขวนขวายหาบริษัทที่ปรึกษาที่ชำนาญการ แต่ก็ไม่มีความพยายามแต่ใช้วิธีสะกดจิตตนเองว่า ตนเองเป็นฝ่ายเทพ ฝ่ายตรงกันข้ามเป็นฝ่ายมาร แท้จริงในงานการเมืองไม่มีใครเป็นเทพ ไม่มีใครเป็นมาร มีแต่ผู้ชนะกับผู้แพ้การเลือกตั้งเท่านั้น

“ทั้งหมดนี้เป็นจุดอ่อนของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เสียภาษีอย่างพวกเราน่าจะมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนะให้แก้ไขปฏิรูปตนเอง เพราะผลการดำเนินงานของพรรคไม่คุ้มกับเงินภาษีที่รับไป จะโกรธจะเคืองอย่างไรก็ไม่ว่า เพราะไม่อยากเห็นเมืองไทยเป็นระบบการเมืองแบบพรรคเดียว ถ้าเมืองไทยเป็นการเมืองพรรคเดียวก็ต้องโทษประชาธิปัตย์ อย่าไปโทษใคร คิดแล้วอ่อนใจ” ดร.วีรพงษ์ ระบุในท้ายสุดของบทความ