WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 6, 2008

ดีเดย์แก้รธน.50 27 ส.ค.เข้าสภา

* คปพร.เผย 7 หมื่นชื่อหนุนคุณสมบัติครบ

การแก้ไขรธน.50 ที่ร่างขึ้นในยุคเผด็จการครองเมือง ใกล้เป็นความจริงแล้ว คาดผ่านขั้นตอนเข้าสู่สภาได้ 27 สิงหาคมนี้ หลังจากมีการตรวจสอบรายชื่อผู้สนับสนุนพบคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนกว่า 7 หมืนคน เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คปพร.เผย ไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตรย์ แต่เนื้อหาส่วนใหญ่หยิบเอา รธน.40 ที่คนไทยยอมรับกันทั้งประเทศกลับมาใช้ใหม่ พร้อมปรับปรุงสาระสำคัญในบางส่วน ทั้งคุณสมบัติ ส.ส. และการยื่นซักฟอกรัฐบาล ที่เปิดช่องให้ทำได้ง่ายขึ้น ลบข้อกล่าวหาว่าเป็นการแก้ไข รธน.เอื้อประโยชน์รัฐบาล เมินพันธมิตรฯเป่านกหวีด ไม่เชื่อมีน้ำยา

การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ร่างขึ้นในบรรยากาศการปฏิวัติรัฐประหาร และถูกซ่อนไว้ด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง กำลังจะเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว หลังจากการตรวจสอบรายชื่อผู้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชน ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ได้ผ่านการตรวจสอบของรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อย โดยมีชื่อผู้สนับสนุนเกินกว่า 7 หมื่นคน จากที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมีผู้สนับสนุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน

ตรวจชื่อหนุนแก้รธน.เรียบร้อย
ทั้งนี้ในตอนบ่ายวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา บรรดาแกนนำ คปพร. ได้เดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อตรวจสอบต้นร่างโดยละเอียดอีกครั้ง และมีการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด โดยเชื่อกันว่าในทุกกระบวนการขั้นตอนที่เหลือ ร่างแก้ไขรธน.ดังกล่าว จะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ได้ในวันที่ 27 สิงหาคม นี้

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ คปพร. กล่าวว่าได้เข้าไปพบกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาเพื่อไปตรวจต้นฉบับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2550 ซึ่งทุกอย่างเป็นไปด่วยความเรียบร้อยเกินกว่า 95% ส่วนอีก 5% ก็คือการแก้ไขบางส่วนอีกเล็กน้อย

ส่วนสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะคงหมวด 1 และ 2 เอาไว้ แล้วตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไปก็เอารธน.40 เข้ามา แต่ก็จะแก้ไขในบางส่วนเช่น เรื่องของการอภิปรายในสภาและเรื่องคุณสมบัติของ ส.ส. จากเดิม ส.ส.จะต้องจบปริญญาตรีก็จะมีการแก้ไข และในเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ก็มีการแก่ไขให้ทำได้ง่ายขึ้น เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบรัฐบาล

จากครั้งนี้นับไปอีก 10 วัน ก็จะเข้าไปดู ต้นฉบับที่มีการแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งส่วนที่ยังต้องแก้ไขจะเป็นเรื่องของตัวเลขมาตรา ตัวอักษรและเนื้อหาบางส่วน คาดว่าในวันที่ 13 สิงหาคม คง
จะสมบูรณ์แบบ 100 % และทำออกมาเป็นรูปเล่มได้

ไม่สนใจคำขู่ม็อบพันธมิตรฯ
ทั้งนี้ทางกระทรวงมหาดกไทย ได้สำรวจรายชื่อประชาชนที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขรธน. 260,000 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว และประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ เพื่อจะส่งรายชื่อไปให้ประชาชนตรวจสอบหรือคัดค้านอีกครั้ง เชื่อว่าไม่เกินวันที 27 สิงหาคม จะสามารถยื่นเรื่องเข้าสู่รัฐสภาพิจารณารัฐธรรมนูญภาคประชาชนนี้ได้

ส่วนคำขู่ของพันธมิตรฯ ที่จะเป่านกหวีดหรือล้มรัฐบาลใน 7 วันนั้น เป็นคนละเรื่องกัน เพราะเราไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็นภาคประชาชน เมื่อเรื่องนี้เข้าสู่สภาแล้ว ก็คงจะดำเนินการพิจารณาตามวาระ 1 2 3 ต่อไป ซึ่งเห็นว่าถ้าเรื่องเข้าไปในลักษณะนี้แล้ว พันธมิตรก็ไม่สามารถทำอะไรได้

ส่วนกรณีที่นายกฯ ระบุถึงมาตรา 63 นั้น ในร่างฉบับประชาชนไม่ได้มีการระบุไว้ เพราะมาตรานี้สามารถไปเชื่อมโยงกับมาตรา 28 ได้ ว่าด้วยการไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบถุคคลอื่น ดังนั้นเห็นว่าหากมีการแก้ไขมาตรา 63 ก็อาจจะมีการเพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไปเป็นบุคคลมีสิทธิในการชุมนุม โดยปราศจากอาวุธ และไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น หากระบุเช่นนี้แล้ว จะปิดชองไม่ให้ลัทธมัฆวานชุมนุมกันได้อีก และปิดทางไม่ให้ทหารทำรัฐประหารได้ด้วย

27ส.ค.ร่างแก้ไขรธน.เข้าสภาแน่

นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย หนึ่งในแกนนำ คปพร. กล่าวว่าการแก้รธน.50 ของภาคประชาชน ขณะนี้มีการตรวจสอบรายชื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีเอกสารถูกต้องถึง 7 หมื่นกว่ารายชื่อ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพียง 5 หมื่นรายชื่อเท่านั้น ตรงนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนสาระสำคัญของการแก้ไขนอกจากจะเป็นการนำสาระสำคัญของ รธน.40 กลับมาเกือบทั้งหมด ก็จะมีการแก้ไขบางจุดให้มีคตวามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นการเปิดกว้างว่า ส.ส. ไม่จำเป็นต้อวจบปริญญาตรี และการยืนซักฟอกรัฐบาลที่เคยต้อใช้เสียง ส.ส.2 ใน 5 ก็ลดลงเหลือ 1 ใน 5 เพื่อให้การตรวจสอบรัฐบาลสามารถทำได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้จากการเข้าตรวจเอกสารและหารือกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแล้ว ได้รับคำยืนยันว่าการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยคปพร. จะเข้าสภาได้ใมนวันที่ 27 สิงหาคมนี้
ส่วนที่พันธมิตรขู่เป่นกหวิดนั้น นายวิภูแถลงกล่าวว่าเห็นเป่ามาหลายครั้งแล้ว แจต่ก็ไม่เป็นมีอะไร

ชักชวนแสดงพลังหนุนแก้ไขรธน.50
ด้านนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคปพร. กล่าวถึงการต่อต้านของกลุ่มพันธมิตร ว่าก็เป็นเรื่องดีเหมือนกันเพีราะคนทั่วไปจะได้รู้ถึงพฤติกรรมพาล พวกเกเร ในเมื่อพวกเขาประกาศจะไล่รัฐบาล ประเด็นต่างๆ ก็กลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องรัฐธรรมนูญกลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่กลายเป็นการไล่รัฐบาล แต่เนื่องจากว่าการเคลื่อนไหวการไล่รัฐบาลของเขาไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ ฉะนั้นต้องหาเหตุหนประเด็น ไม่ใช่การรักการชาติจริงๆ

“คนพวกนั้นส่วนใหญ่ผมรู้จัก ไม่ใช่เป็นคนที่จงรักภักดีจริงๆ พวกนี้ส่วนใหญ่เติบโตมาจากการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทั้งนั้น เป็นการหาเหตุ หาเรื่องเพื่อระดมคนมาขับไล่รัฐบาล เพราะฉะนั้นก็เท่ากับว่าเขาระดมคนเพื่อมาต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

หากเขามาต่อต้านร่างของประชาชนก็จะได้รู้กัน อยากจะเรียกร้องและเชิญชวนประชาชนอย่างน้อยก็คนที่ลงชื่อมาแสดงพลังสนับสนุนให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ได้ก็จะดีมาก เพราว่าถ้าไม่มีคนมาสนับสนุนแต่มีคนมาต้าน การแก้ไขก็จะเป็นอุปสรรค

เน้นเสรีภาพในการนับถือศาสนา
พร้อมกันนี้ยังกล่าวด้วยว่า ร่างรธน.ของ คปพร.มีหลักการใหญ่ๆ อยู่ 2-3 หลัก คือหลักแรกเราเอารธน.2540 มาเป็นตัวตั้ง หลักที่สอง เราไม่แก้หมวด1 คือหมวดทั่วไป และหมวด 2 คือหมวดพระมหากษัตริย์ เราจะแก้ไขแต่หมวด3 หลักข้อที่ สาม คือตั้งแต่หมวดสามไปเรื่อยๆ เราแก้เกือบหมด โดยเอาปี 2540 มาแทน หลักที่สี่คือเรื่องบทเฉพาะกาล เราจะต้องทำการแก้ไขด้วย รวมถึงเรื่องการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นมาตราที่ 4 ให้แก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่ 38 คือรัฐธรรมนูญ 2540 ในหมวดสิทธิของประชาชนไทย ในมาตรา 38 ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา เมื่อมาปี 2550 ก็ยังเป็นมาตรา 38 อยู่เพราะฉะนั้นเราขอให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในมาตรา 38 โดยปกติมาตรา38 จะว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา บุคคลยิ่อมมีสภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา วรรคที่สอง รัฐจะต้องคุ้มครองเสนรีภาพนี้ โดยเราขอเพิ่มเป็น ให้มีข้อความขึ้นต้นว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา เพราะว่าการกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พูดตามหลักรัฐธรรมนูญมันอาจจะมีอยู่ได้ 2-3 หมวด หมวดแรกคือ หมวดทั่วไปจะเริ่มต้นว่ามาตรา 1 ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว แบ่งแยกไม่ได้ มาตรา 2 ว่าด้วยการปกครอง มาตรา 3 เป็นเรื่องอำนาจของปวงชน ความจริงเอามาตรา 4 ด้วยก็ได้ เรียกว่าเป็นหลักทั่วไป แต่ว่าถ้าเอาไปอยู่ในหลักทั่วไป อาจจะมีปัญหา เพราะอาจจะมีคนเสนอให้เพื่มเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้าไปด้วย ฉะนั้นก็ให้มาอยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยเสีย โดยเป็นข้อความขึ้นต้นในมาตรา 4 ถ้ามีการแก้ไขก็จะอยู่ในมาตรา 38 จะเริ่มต้นว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

“สมัคร”โต้ถูกกล่าวหาร่างรธน.เอง
ด้านนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความชัดเจนในเรื่องการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ว่า เตรียมจะเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าวแล้ว ซึ่งมาตรานี้ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หลังจากที่ได้มีการถ่ายเอกสารข้อความบางตอนเพื่อที่จะเตรียมจะแก้ไขไว้แล้ว

ข้อความที่ต้องการเพิ่มเติมจากเดิมที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” แล้วจะเพิ่มเติมในส่วนข้อความต่อไปว่า “โดยไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จเอามากล่าวหา ไม่ปลุกระดมประชาชนให้หลงผิด ไม่ใช่สื่อโฆษณาชวนเชื่อ ไม่บังคับและไม่จ้างวานกลุ่มบุคคลใดๆ ให้มาชุมนุม”

อย่างไรก็ตาม นายสมัคร กล่าวปฏิเสธข้อความจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่พาดหัวว่า “สมัครติดหนวดแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ซึ่งขอชี้แจงว่าไม่ได้มีความคิดจะเป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญ และหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามนั้น คนที่ชอบปลุกระดมจะเดือดร้อนหรือไม่เพราะขณะนี้เหมือนมีคนคอยปลุกระดมอยู่และขอเตือนกลุ่มคนที่กำลังเขียนรัฐธรรมนูญในเวลานี้ที่พยายามผลักดันให้เกิดระบบร้อยละ 70 และร้อยละ 30 ในรัฐสภาด้วย ว่าจะทำให้บ้านเมืองพังทั้งหมด ทั้งนี้ยังย้ำว่ารัฐบาลรู้การกระทำของบุคคลดังกล่าวมาโดยตลอด

ชุมนุมที่สาธารณะต้องไม่ทำเดือดร้อน
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิการชุมนุม เพียงแต่เป็นกฎหมายที่ต้องการจัดระเบียบการชุมนุมให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่น เนื่องจากการชุมนุมสามารถทำได้ แต่ต้องมีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่อย่างชัดเจน โดยจะมีการขออนุญาตให้ถูกต้อง ส่วนจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 63 หรือไม่ ต้องมีการพิจารณาหารือกันอีกครั้ง พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลไม่วิตกว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะใช้โอกาสนี้ปลุกระดมโจมตีรัฐบาล และชุมนุมยืดเยื้อต่อไป

ทั้งนี้ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร กลุ่มอีสานพัฒนา พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า ได้เป็นผู้ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ได้มีการเตรียมนำมาใช้ก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ และที่นำมาเสนอตอนนี้ไม่ใช่ เพราะต้องการปิดทางการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และเรื่องนี้ไม่เคยหารือกับนายสมัคร แต่การที่ รัฐบาลเตรียมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการชุมนุม มาตรา 63 อาจเป็นเพราะความบังเอิญ ซึ่ง มาตรงกับ พ.ร.บ.ที่ตนหยิบขึ้นมา

นอกจากนี้ นายจุมพฏ กล่าวว่า ส.ส.กลุ่มอีสาน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยเฉพาะ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานสภาก็เห็นดีด้วย แต่ไม่มีการลงชื่อ เพราะเกรงว่ากระทบกับตำแหน่ง