WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 9, 2008

ปราสาทเขาพระวิหาร ปัญหากฎหมายและอธิปไตยของชาติ

ในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน การพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาจะรุกคืบมายึดเอาปราสาทในบริเวณชายแดนไทยนั้น ผมได้รับเอกสารจากผู้ที่มีความรักและหวงแหนแผ่นดินและประเทศชาติ และเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไทย เพื่อให้นักปลุกระดมข้างถนนได้หูตาสว่างขึ้น หยุดสร้างความแตกแยกในบ้านเมืองเสียที

ความเป็นมาของการเสียดินแดน ที่เคยเป็นของสยามให้กับฝรั่งเศส และการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา มีลำดับเหตุการณ์ ดังนี้
วันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1863 (พ.ศ.2406) ผู้สำเร็จราชการกัมพูชา ได้เซ็นสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศส

วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1863 มีการลงนามในสัญญาระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และผู้สำเร็จราชการคนเดียวกันยอมรับเขมรเป็นเมืองขึ้นของกรุงสยามมาก่อน

วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1867(พ.ศ.2410) มีสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ยอมรับว่ากัมพูชาเป็นเมืองในอารักขาของฝรั่งเศส สยามสละสิทธิทั้งปวงในกัมพูชาที่เป็นเมืองขึ้น แต่ยังคงสงวนมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณไว้เป็นของสยาม สนธิสัญญานี้ให้ยกเลิกสัญญาลงวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1863(พ.ศ.2406)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทำสนธิสัญญาลงวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1893(พ.ศ.2436) สาระสำคัญของสัญญาฉบับนี้ระบุให้สยามยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้นให้ฝรั่งเศส

ต่อมาฝรั่งเศสเข้ายึดจันทบูร และทำสนธิสัญญากับประเทศสยาม ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 พ.ศ.2447) ให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส
ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศส

ผลสืบเนื่องจากสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมีผลสำคัญต่อคดีปราสาทเขาพระวิหาร ในข้อ 1 ระบุว่า เขตเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับกัมพูชาเริ่มบนฝั่งซ้ายทะเลสาบที่ปากแม่น้ำสตุงรอลูโอส แล้วเดินตามเส้นขนานไปทางตะวันออก จนบรรจบแม่น้ำเปร็ค กำปงเทียม ตามเส้นเมอริเดียนไปทางเหนือจนถึงเทือกเขาดงรัก แล้วไปตามสันปันน้ำ ซึ่งแบ่งน้ำฝนไปลงที่แม่น้ำแสนและแม่น้ำโขงทางหนึ่ง กับที่ลุ่มแม่น้ำมูลอีกทางหนึ่งจนไปบรรจบเทือกเขาพนมผาด่าง และเดินตามสันเขาเทือกนี้ไปจนบรรจบแม่น้ำโขงทางตะวันออกทางเหนือขึ้นไปนั้น

จะเห็นว่าในเรื่องของปราสาทเขาพระวิหารนั้น ถ้ายึดสนธิสัญญา ค.ศ.1904 ก็จะต้องกำหนดตามอาณาเขตธรรมชาติ คือ สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันว่า สันปันน้ำเป็นอาณาเขตของไทย

แต่แผนที่ “แผ่นดงรัก” กำหนดให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนกัมพูชา ทางฝ่ายกัมพูชาอ้างว่า ต้นฉบับแผนที่นี้ พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสม ซึ่งตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานกรรมการฝ่ายไทย พันโท แบร์นาร์ด เป็นประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศส) ซึ่งมีการส่งแผนที่ ไปให้รัฐบาลสยาม 50 ฉบับ ทางเสนาบดีฝ่ายไทยตอบรับเมื่อ ค.ศ. 1908 (พ.ศ.2451) ในขณะนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย ได้ทรงขอแผนที่เพิ่มอีก 15 ฉบับเพื่อแจกจ่ายเจ้าพนักงานท้องถิ่น

มีเอกสารประวัติศาสตร์จากบันทึกของทายาทบุคคลร่วมสมัยในรัชกาลที่ 7 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927(พ.ศ.2470) พระยาประชากิจกรจักร ได้สร้างสาธารณประโยชน์ โดยการตัดถนนและแต่งทางเกวียน (ซึ่งปัจจุบันคือถนนสานศรีสะเกษ-กันทรลักษ์-เสาธงชัย) ทำให้ฝ่ายราชการสยามสามารถเดินทางไปถึงปราสาทเขาพระวิหารได้ภายใน 6 ชั่วโมง จากเดิมต้องใช้พาหนะช้างและเกวียนถึง 2 คืน

นอกจากนี้ยังได้ถ่ายรูปการก่อสร้างทางดังกล่าวทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 7 ด้วย

เป็นการแสดงให้เห็นถึงประชาธิปไตยของไทยเหนือพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารที่มีอย่างสืบเนื่อง ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 ซึ่งยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน

นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตว่า เมื่อครั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ระหว่างเสด็จประพาสสำรวจโบราณสถานใน จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีนั้น พระองค์เคยเสด็จไปที่ปราสาทเขาพระวิหารในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ.2473) และทรงพบกับ ปามังดิเอร์ นักโบราณคดีและเรซิดังฝรั่งเศสแต่งเครื่องแบบเต็มยศมาเฝ้า เขาได้ให้ทหารชักธงชาติฝรั่งเศสอยู่หน้าที่พักในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร

แต่ถึงกระนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานว่า ฝ่ายไทยได้ใช้อำนาจปกครองเหนือปราสาทเขาพระวิหารตามเดิม นอกเหนือไปจากการให้ทำป่าไม้และจับช้างป่าในอาณาบริเวณ ช่วงปี ค.ศ. 1917-1927

ค.ศ.1934-1935 เจ้าพนักงานแผนที่ฝ่ายไทยสำรวจเส้นเขตแดน และตีพิมพ์แผนที่ในปี ค.ศ.1958 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการปะทะกันด้วยกำลังระหว่างฝรั่งเศสกับไทย

ต่อมากรมศิลปากร แห่งประเทศไทย ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1940

จึงเป็นที่เข้าใจว่า ไทยยึดครองปราสาทเขาพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1940 และได้ปราสาทคืนมาตามสัญญาโตเกียว ค.ศ.1941 และเมื่อมีการขึ้นทะเบียนอีกครั้งตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1959 ท้ายประกาศมีแผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบมาด้วย

ในปี ค.ศ.1949 ด้วยความริเริ่มของฝรั่งเศสตามด้วยกัมพูชา ก็มีการค้านอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือปราสาทเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก

คดีปราสาทเขาพระวิหารในอดีตเริ่มจากความเคลื่อนไหวของกัมพูชา กระทรวงโฆษณาการของกัมพูชา พิมพ์เผยแพร่บทความของนายซัมชาลี องคมนตรีและเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงลอนดอน หลังจากนั้นก็มีการโจมตีกันในหน้าหนังสือพิมพ์ของทั้งสองประเทศ วันที่ 4 สิงหาคม 1957 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแนวชายแดนไทยด้านกัมพูชา รวม 7 จังหวัด คือ จันทบุรี ปราจีนบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษและ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายพยายามยุติข้อขัดแย้งแต่ไม่เป็นผล

วันที่ 1 ธันวาคม 1958 รัฐบาลกัมพูชาตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ปีต่อมารัฐบาลกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ขอให้ศาลวินิจฉัยให้ประเทศไทยถอนกำลังถืออาวุธออกจากบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และขอให้ชี้ขาดว่าอำนาจเหนือปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นของกัมพูชา

สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อ 46 ปีมาแล้ว ศาลโลกพิจารณาว่า ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แม้ว่าหลังจากคำพิพากษาของศาลโลก ไทยได้ถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทเขาพระวิหารแล้ว แต่ไทยได้มีหนังสือคัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องกับคำพิพากษาแย้ง และได้ตั้งข้อสงวนว่า ไทยอาจกลับเข้าไปครอบครองปราสาทในวันข้างหน้า เนื่องจากไทยยังคงถือว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย หนังสือฉบับนั้นส่งไปจาก กรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศโดย ม.จ.เพลิงนภดล รพีพัฒน์ โอรสในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเป็นอธิบดี และนายจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร ผู้รักษาการที่ปรึกษากฎหมาย เป็นหัวหน้ากองกฎหมาย และนายสมปองสุจริตกุล เป็นผู้ยกร่างหนังสือว่าด้วยข้อสงวน ซึ่งยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน

คิดว่าสิ่งที่นำมาเสนอนี้ จะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่รักชาติรักแผ่นดินในการรับทราบข้อมูลเพิ่มขึ้น พิจารณากันดูเถอะครับ