WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 9, 2008

สศช. ชี้ภาวะเศรษฐกิจรวมคนไทยรวยขึ้น

ผอ.สศช. เผยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ภาวะเศรษฐกิจรวมของประเทศตัวดีขึ้น ประชาชนจนจนลดลงเหลือเพียง 8.5% ของจำนวนประชากร 63 ล้านคน

นายสมชาย ศักดาเวคีอิศร ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จากการประเมินผลการดำเนินงานปีแรก (ต.ค. 2549-ก.ย. 2550) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยปรับตัวดีขึ้น จำนวนคนจนลดลงเหลือ 5.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 8.5% ของจำนวนประชากร 63 ล้านคน จากเมื่อปี 2549 มีคนจน 6.1 ล้านคน โดยเส้นแบ่งความยากจนได้ปรับขึ้นจาก 1,386 บาท/เดือน/คน เมื่อปี 2540 เป็น 1,443 บาท/เดือน/คน ในปี 2550 ซึ่งสะท้อนภาวะรายได้ที่สูงขึ้น และยังพบว่าคุณภาพแรงงานดีขึ้น เนื่องจากแรงงานที่มีการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนจนลดลงน่าจะมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ช่องว่างของความจนกับความรวยลดลง จากที่เคยห่างกัน 10 เท่า ปี 2550 ลดลงเหลือแค่ 8.6 เท่าแล้ว

ถ้าวัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจ มีภูมิคุ้มกัน การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง มีการกระจายรายได้ มีช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนแล้ว โดยรวมแล้วเศรษฐกิจไทยยังแข็งแรงดี และสัดส่วนรายได้ของประชากรในเมืองและชนบทก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น” นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านสังคมถ้าดูในแง่คุณธรรม จากดัชนีชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ยังถือว่าไม่ดี เพราะคดีอาญามากขึ้น สะท้อนว่าความซื่อสัตย์สุจริตลดลง เช่น ถ้าดูอัตราคดีเด็กกระทำผิดก็มีมากขึ้น จากปี 2545 มี 3.76 คน/เด็ก 1,000 คน เพิ่มเป็น 5.05 คน ในปี 2549 และเพิ่มเป็น 5.39 คน ในปี 2550 ขณะเดียวกันสังคมก็ดูอ่อนแอ เพราะอัตราการหย่าร้างมีมากขึ้น จากปี 2545 มี 4.35 ราย/1,000 คู่ครัวเรือน เพิ่มเป็น 4.94 คน ในปี 2549 และเป็น 4.27 คน ในปี 2550 ส่วนความร่วมมือกัน ของสังคมเริ่มพบว่ามีความเข้มแข็งขึ้น ประชากรมีการรวมตัวกัน มากขึ้น