WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 27, 2009

ภาษีมรดก-ตลกเล่น

ที่มา โลกวันนี้

โดย อัคนี คคนัมพร

รัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยขาดความชอบธรรมทางการเมืองกำลังจะแสดงอภินิหารด้วยประการต่างๆ เพื่อเรียกร้องความเชื่อถือ ศรัทธาจากประชาชน

นโยบายลด แลก แจก แถม สารพัดที่ลอกเลียนมาจากรัฐบาลก่อนนั้น ช่างเถอะ ถือเสียว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเนื่องจากตัวเองคิดอะไรไม่ออกก็ลอกของคนอื่นไปก่อน เมื่อประชาชนคนรากหญ้าได้ประโยชน์บ้างก็พอจะขืนรับไหว แต่ที่กำลังจะทำต่อไปนี้สิเป็นปัญหาต้องคิดหนัก

ครับ…รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช กำลังเสนอเก็บภาษีมรดก!

การเก็บภาษีทรัพย์สินและมรดกนั้นเป็นเรื่องดีแน่นอน และมีคนคิดทำกันมาก่อนแล้ว คนที่มีความคิดเช่นนี้ถูกจัดเป็นประเภทหัวก้าวหน้า ในอดีตคนหัวก้าวหน้าเช่นนี้ก็ถือกันว่าเป็นภัยของประเทศชาติ เป็นข้อหาหนัก

ในชีวิตของผู้เขียนเติบโตรู้ความเรื่องการบ้านการเมืองมาก็ได้เห็นท่านเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีต ส.ส.ระยอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นคนแรกที่คิดเสนอกฎหมายนี้ น่าเสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์อยู่บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกทหารยึดอำนาจเสียก่อนในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จึงไม่มีโอกาสทำได้สำเร็จ

นักการเมืองสำคัญๆที่อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น เช่น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายชวน หลีกภัย นายพิชัย รัตตกุล นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายเล็ก นานา คงจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการเก็บมรดก หรือแม้จะเห็นด้วยก็คงจะไม่มีความรู้สึกเข้มข้นพอที่ผลักดันให้มันเป็นความจริงขึ้นมาได้

ดังนั้น แม้ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์จะได้มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกถึง 2 ครั้ง 2 หน คือในปี 2535 และในปี 2540 แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เคยหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกเลย

ก็คงจะถูกต้องแล้วที่สื่อมักจะจัดให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองประเภทไม่มีนโยบาย หรือมีนโยบายก็เป็นนโยบาย “อนุรักษ์นิยม” แนวอำมาตยาธิปไตย รักษาประโยชน์ของคนร่ำคนรวย เจ้าของที่ดินเป็นหลัก

แต่มาถึง พ.ศ. นี้พรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบายอีกครั้ง มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็น รมต.คลัง จู่ๆก็มีการประกาศสนใจจะเก็บภาษีมรดกขึ้นมาทีเดียว

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลังรับสำนองรัฐมนตรีฉับไว กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีมรดกในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะส่งผลให้มีรายได้เข้ารัฐปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าจะช่วยแก้ภาวะถังแตกได้

ตามรายงานข่าวกล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอีกเล็กน้อยเท่านั้น นอกนั้นตกลงปลงใจกันได้เรียบร้อยแล้ว

ฟังเรื่องการเตรียมเก็บภาษีมรดกของรัฐบาลนี้แล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าทึ่ง และยิ่งทึ่งมากขึ้นเมื่อแนวคิดออกมาจากนายกรณ์ จาติกวณิช ซึ่งเป็นคนวัยเดียวและจบการศึกษาสำนักเดียวกับนายอภิสิทธิ์ ผู้เป็นนายกฯ

ต้องขอบอกเสียตั้งแต่ตอนนี้ว่า ผู้เขียนไม่เชื่อว่างานนี้จะประสบความสำเร็จ เพราะตามความเห็นผู้เขียนแล้วพรรคประชาธิปัตย์จะไม่กล้าทำเรื่องก้าวหน้าดีๆอย่างนี้

ฉะนั้นการออกข่าวนี้มาก็เป็นเพียงแต่การประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล คือตัวรัฐมนตรีคลังนั้นเอง คือเพียงประกาศให้โลกรู้ว่าตนก็พอมีความคิดความอ่านอยู่บ้างเหมือนกัน อย่างน้อยก็มีดีไม่ด้อยไปกว่าตัวนายกรัฐมนตรี

แต่สำหรับความสำเร็จแล้วต้องขอบอกว่าไม่เชื่อน้ำหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้