ที่มา
ประชาไทสุเมธ ปานเพชร
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
ปี พ.ศ.2552 ล่วงเลยผ่านครึ่งทางมาแล้ว สถานการณ์ไฟใต้ดีขึ้นจริงตามที่ฝ่ายความมั่นคงโฆษณา หรือย่ำแย่ลงตามความรู้สึกของใครหลายๆ คนกันแน่ "ทีมข่าวอิศรา" ขอสรุปสถิติความรุนแรงทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 มานำเสนอ
จากการรวบรวมของ "อิศรา" พบว่า ในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นทั้งหมด 447 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 230 ราย บาดเจ็บ 424 ราย แยกตามรายเดือนได้ดังนี้
มกราคม 67 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 33 ราย บาดเจ็บ 75 ราย
กุมภาพันธ์ 75 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 38 ราย บาดเจ็บ 64 ราย
มีนาคม 74 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 45 ราย บาดเจ็บ 42 ราย
เมษายน 89 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 71 ราย
พฤษภาคม 65 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 26 ราย บาดเจ็บ 38 ราย
มิถุนายน 77 เหตุการณ์ ผู้เสียชีวิต 59 ราย บาดเจ็บ 135 ราย
ปัตตานีหนักสุด-เบตงไร้เหตุรุนแรง
หากจำแนกเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ รายจังหวัดและอำเภอ สามารถจำแนกได้ดังนี้
จังหวัดปัตตานี มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น 164 เหตุการณ์ แยกเป็น อำเภอเมืองปัตตานี 30 เหตุการณ์ อำเภอโคกโพธิ์ 7 เหตุการณ์ อำเภอยะรัง 30 เหตุการณ์ อำเภอยะหริ่ง 6 เหตุการณ์ อำเภอสายบุรี 29 เหตุการณ์ อำเภอมายอ 7 เหตุการณ์ อำเภอหนองจิก 29 เหตุการณ์ อำเภอปะนาเระ 5 เหตุการณ์ อำเภอไม้แก่น 3 เหตุการณ์ อำเภอทุ่งยางแดง 7 เหตุการณ์ อำเภอกะพ้อ 7 เหตุการณ์ อำเภอแม่ลาน 3 เหตุการณ์
จังหวัดยะลา มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น 140 เหตุการณ์ แยกเป็น อำเภอเมืองยะลา 42 เหตุการณ์ อำเภอยะหา 13 เหตุการณ์ อำเภอรามัน 20 เหตุการณ์ อำเภอบันนังสตา 37 เหตุการณ์ อำเภอกรงปินัง 14 เหตุการณ์ อำเภอธารโต 10 เหตุการณ์ อำเภอกาบัง 4 เหตุการณ์ ส่วนอำเภอเบตงไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเลย
จังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น 141 เหตุการณ์ แยกเป็น อำเภอเมืองนราธิวาส 9 เหตุการณ์ อำเภอบาเจาะ 19 เหตุการณ์ อำเภอระแงะ 22 เหตุการณ์ อำเภอยี่งอ 4 เหตุการณ์ อำเภอตากใบ 12 เหตุการณ์ อำเภอสุไหงปาดี 10 เหตุการณ์ อำเภอสุไหงโก-ลก 5 เหตุการณ์ อำเภอแว้ง 4 เหตุการณ์ อำเภอสุคิริน 1 เหตุการณ์ อำเภอศรีสาคร 12 เหตุการณ์ อำเภอเจาะไอร้อง 12 เหตุการณ์ อำเภอรือเสาะ 25 เหตุการณ์ อำเภอจะแนะ 6 เหตุการณ์
จังหวัดสงขลา เฉพาะ 4 อำเภอรอยต่อกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น 2 เหตุการณ์ ในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อยทั้งสองเหตุการณ์ ส่วนอำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอนาทวี ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ
ยิงรายวันยังครองแชมป์-ระเบิด 113 ตูม
สถิติเหตุการณ์ความไม่สงบ ยังสามารถแบ่งตามประเภทของเหตุการณ์และจังหวัดที่เกิดเหตุได้ดังนี้
ยิงรายวัน 301 เหตุการณ์ แยกเป็น ปัตตานี 124 เหตุการณ์ ยะลา 92 เหตุการณ์ นราธิวาส 82 เหตุการณ์ สงขลา 1 เหตุการณ์
วางเพลิง 34 เหตุการณ์ แยกเป็น ปัตตานี 13 เหตุการณ์ ยะลา 10 เหตุการณ์ นราธิวาส 11 เหตุการณ์
วางระเบิด 113 เหตุการณ์ แยกเป็น ปัตตานี 26 เหตุการณ์ ยะลา 37 เหตุการณ์ นราธิวาส 49 เหตุการณ์ และสงขลา 1 เหตุการณ์
เหยื่อความรุนแรงกระจายทั้งสามจังหวัด
ทางด้านเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ ทั้งผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในแต่ละจังหวัด สามารถจำแนกตามกลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่รัฐ (ฝ่ายความมั่นคง) ประชาชน (รวมทุกศาสนา) และผู้ก่อความไม่สงบ ได้ดังนี้
ปัตตานี มีเหยื่อความรุนแรงทั้งหมด 201 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 18 ราย บาดเจ็บ 41 ราย ประชาชนเสียชีวิต 75 ราย บาดเจ็บ 63 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย
ยะลา มีเหยื่อความรุนแรงทั้งหมด 210 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 57 ราย ประชาชนเสียชีวิต 58 ราย บาดเจ็บ 78 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 9 ราย
นราธิวาส มีเหยื่อความรุนแรงทั้งหมด 241 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 66 ราย ประชาชนเสียชีวิต 47 ราย บาดเจ็บ 118 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 8 ราย
สงขลา ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนตกเป็นเหยื่อความรุนแรง แต่มีผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 2 ราย
มิ.ย.เจ็บตายสูงสุด-ยอดผู้เสียชีวิต 5 ปีครึ่ง 3,635 ศพ
ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา เดือนที่สถานการณ์ความรุนแรงดูเหมือนกลับมาปะทุขึ้นอีกรอบทางความรู้สึก คือเดือนมิถุนายน แม้ว่าตัวเลขของจำนวนเหตุการณ์จะสูงกว่ารอบเดือนพฤษภาคมเพียงเล็กน้อย แต่ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเดือนมิถุนาฯนับว่าสูงที่สุดในรอบครึ่งปี คือ 194 ราย แยกเป็นเสียชีวิต 59 ราย บาดเจ็บ 135 ราย
หากรวมยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามียอดผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3,635 ราย!
สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนมี 77 เหตุการณ์ แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้
ปัตตานี 22 เหตุการณ์ แยกเป็นอำเภอสายบุรี 7 เหตุการณ์ อำเภอหนองจิก 5 เหตุการณ์ อำเภอเมือง 4 เหตุการณ์ อำเภอยะรัง 3 เหตุการณ์ อำเภอแม่ลาน อำเภอไม้แก่น และอำเภอโคกโพธิ์ อำเภอละ 1 เหตุการณ์
ยะลา 27 เหตุการณ์ แยกเป็นอำเภอบันนังสตา 9 เหตุการณ์ อำเภอรามัน 5 เหตุการณ์ อำเภอเมือง 4 เหตุการณ์ อำเภอธารโตและอำเภอกรงปินัง อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อำเภอยะหา 2 เหตุการณ์ อำเภอกาบัง 1 เหตุการณ์
นราธิวาส 28 เหตุการณ์ แยกเป็นอำเภอรือเสาะ 5 เหตุการณ์ อำเภอระแงะและอำเภอบาเจาะ อำเภอละ 4 เหตุการณ์ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอตากใบ อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอศรีสาคร และอำเภอยี่งอ อำเภอละ 2 เหตุการณ์ อำเภอเมือง อำเภอสุคีริน และจะแนะ อำเภอละ 1 เหตุการณ์
หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์และพื้นที่เกิดเหตุ สามารถแบ่งได้ดังนี้
ยิงรายวัน 54 เหตุการณ์ แยกเป็นปัตตานี 15 เหตุการณ์ ยะลา 20 เหตุการณ์ นราธิวาส 19 เหตุการณ์
วางระเบิด 18 เหตุการณ์ แยกเป็นปัตตานี 5 เหตุการณ์ ยะลา 5 เหตุการณ์ นราธิวาส 8 เหตุการณ์
วางเพลิง 5 เหตุการณ์ แยกเป็นปัตตานี 2 เหตุการณ์ ยะลา 2 เหตุการณ์ นราธิวาส 1 เหตุการณ์
ด้านเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บทั้งสิ้น 194 รายนั้น แบ่งเป็นเสียชีวิต 59 ราย บาดเจ็บ 135 ราย สามารถแยกตามจังหวัด กลุ่ม และอาการของเหยื่อความรุนแรงได้ดังนี้
ปัตตานี 23 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ประชาชนเสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 7 ราย
ยะลา 60 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 7 ราย ประชาชนเสียชีวิต 16 ราย บาดเจ็บ 29 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 6 ราย
นราธิวาส 111 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 16 ราย ประชาชนเสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บ 71 ราย
........................................................