WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 4, 2009

นิติรัฐกับความเสมอภาค

ที่มา ไทยรัฐ

โดย หมัดเหล็ก

ระยะนี้มีปัญหาข้อขัดแย้งของบ้านเมืองเกี่ยวกับ การบังคับใช้กฎหมาย เยอะพอสมควร และนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ออกมาย้ำเสมอว่าจะยึดหลักนิติรัฐ ซึ่งคำว่านิติรัฐในที่นี้แปลตรงตัวว่ารัฐที่ยึดหลักกฎหมายในการปกครองประเทศ เชื่อว่าทุกประเทศในโลกก็ต้องยึดหลักกฎหมายในการบริหารประเทศเพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความไม่สงบสุข เกิดเหตุจลาจลขึ้นในบ้านเมือง

เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน


ความสำคัญของนิติรัฐ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทกฎหมายที่เป็น ลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี แต่อยู่ที่ว่าจะนำระเบียบคำสั่งเหล่านั้น ไปปฏิบัติอย่างไรให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาคกันในสังคม

ไม่เช่นนั้นมีกฎหมายก็เหมือนเศษกระดาษ

เพราะถ้ากฎหมายที่บังคับใช้ไม่เป็นธรรม ให้เกิด ความหวาดระแวงในหมู่ประชาชน แล้ว ความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาในระเบียบข้อบังคับเหล่านั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

แต่กลับจะทำให้บ้านเมืองกลียุค

กรณีความขัดแย้งในการดำเนินคดีกับคนร้ายที่มุ่งสังหารแกนนำพันธมิตรฯ ชี้ให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างบิดเบือนและไม่เสมอภาค ในที่สุดกลไกก็ขัดแย้งกันเอง มีปัญหาระหว่างผู้บังคับใช้กฎหมายด้วยกัน วันนี้ยังไม่รู้ว่าจะลุกลามบานปลายไปถึงไหน

กระทบถึงการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง

เช่นกันในคดีอื่นที่ต้องตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลหรือแม้แต่นายกฯอภิสิทธิ์เอง ขาดการเอาใจใส่ จนทำให้เกิดภาพความเหลื่อมล้ำของคำว่า นิติรัฐ อาทิ เรื่องของข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน

ในระดับสากลถือว่าเป็นข้อหาที่ร้ายแรงอย่างมาก ระดับประเทศก็ว่าได้ จะวัดน้ำหนักกันแล้วรัฐบาลน่าจะสนใจมากกว่า เพราะสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับประเทศโดยตรง

ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ มีหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา มีตำแหน่ง รมต.ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เป็นสามัญสำนึกที่คนธรรมดาก็น่าจะคิดออก

อีกมุมหนึ่ง การเคลื่อนไหวถวายฎีกาของประชาชนส่วนหนึ่ง รัฐบาลและนายกฯอภิสิทธิ์เองออกมาอ้างข้อกฎหมายจนคอเป็นเอ็น อ้างไปถึงสถาบัน ดึงมาเป็นเงื่อนไขการเมือง รณรงค์กันเป็นชิ้นเป็นอัน

แน่นอนว่าในความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ต้องการให้เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองไปกระทบเบื้องพระยุคลบาท ส่วนตัวผมก็ไม่อยากให้มีเหตุการณ์ถึงขั้นนั้น แต่ถ้าย้อนดูบ่อเกิดของประเด็นนี้ก็ไม่พ้นมาจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาค

ทั้งหลายทั้งปวงจะกระทบไปถึงสถาบัน องค์กรที่เกี่ยวข้อง อาทิ กกต. ป.ป.ช. เป็นเครื่องมือกลไกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ สรุปว่าผมเห็นด้วยที่นายกฯจะยึดหลักนิติรัฐ แต่ต้องเป็นนิติรัฐที่ไม่เลือกข้าง.