WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 5, 2009

ลูกปื๊ดโต้ปากสั่นปัดรับใบสั่งผู้ใหญ่ที่เคารพมาต้าน แต่ฟันธงให้แม้วถอย-ยุให้มาร์คลุยล้มฎีกา

ที่มา Thai E-News


โดย ศ. ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต
ที่มา เวบสถาบันพระปกเกล้า
5 สิงหาคม 2552

หมายเหตุไทยอีนิวส์:ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เขียนบทความขนาดยาวเรื่อง"การใช้สิทธิทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาตามกฎหมายและประเพณี"ลงเผยแพร่ในเวบไซต์สถาบันพระปกเกล้า โดยอ้างว่าเพราะทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณอ้างความเห็นของเขาไปเป็นประโยชน์ต่อการถวายฎีกา เขาจึงต้องออกมาเขียนถึงทัศนะของเขาต่อประเด็นนี้ โดยไม่มีใครขอร้อง หรือ สั่งการอย่างที่เคยถูกกล่าวหา ด่าทอเขา และ"ผู้ใหญ่ที่คนเคารพนับถือ" เนื่องจากบทความยาวมากจึงตัดมาเฉพาะความตอนสรุปเท่านั้น ฉบับละเอียดอ่านได้ที่ http://www.kpi.ac.th/kpith/downloads/article_petition_050809.pdf



ไม่ว่าพิจารณาในแง่ใดฎีกานี้ก็ไม่ใช่ฎีการ้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายและนิติประเพณี

การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง อย่าดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง

เมื่อฎีกาล้านชื่อที่ทำอยู่มิได้เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับข้างต้น แม้จะมีคนลงชื่อ ๒๐ ล้านคน ก็ไม่ทำให้ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการมีสิทธิและการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณคน แม้ลงชื่อในฎีกาคนเดียวถ้าถูกกฎหมาย ก็ไม่มีใครบอกว่าทำไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ หากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ถูกต้องเพียงคนเดียวก็พอ แล้วมีคนมาขัดขวาง ผู้เขียนพร้อมจะอธิบายให้สังคมฟังว่า เป็นสิทธิของเขา ขัดขวางไม่ได้

มีปัญหาว่า แล้วเหตุใดแกนนำ จึงเน้นจำ นวนคนทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะมีนักกฎหมายอยู่หลายคน จะอ้างว่าไม่รู้คงลำบาก !

คำตอบก็คือ ฎีกานี้ไม่ใช่ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และไม่ใช่ฎีการ้องทุกข์ แต่เป็นฎีกาการเมือง

รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องควรทำอย่างไรเมื่อฎีกาดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย

การทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาที่ผิดระเบียบ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น “ห้ามมิให้ผู้ใดรับฎีกาที่ถวายผิดระเบียบเช่นนี้” ต้องทำให้ “ถูกต้องตามระเบียบจึงค่อยรับ” คำถามก็คือ ใครบ้างที่เกี่ยวข้องในการรับฎีกาและถวายความเห็นตามขั้นตอน

คำตอบก็คือ หากเป็นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เจ้าหน้าที่ต้องสรุปข้อเท็จจริงนำเสนอตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แล้วรัฐมนตรีก็จะทำความเห็นส่งเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะสรุปเรื่องให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายลงนามทูลเกล้า ฯ ถวายความเห็น แล้วส่งเรื่องไปสำนักราชเลขาธิการเพื่อเสนอคณะองคมนตรีกลั่นกรองและทูลเกล้า ฯ ถวายความเห็นต่อไป ขั้นตอนต่อจากนี้ก็สุดแท้แต่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้พระราชทานอภัยโทษ หรือ ลดโทษ หรือยกฎีกา

อนึ่ง หากมีการยื่นผิดขั้นตอนไปยังสำนักราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการก็ไม่อาจพิจารณาเรื่องได้ ต้องส่งเรื่องกลับไปที่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมเพื่อเริ่มต้นให้ถูกต้องสำหรับฎีการ้องทุกข์นั้น ไม่ว่าจะทูลเกล้า ฯถวายโดยทางใด นอกจากติดต่อเจ้าตัวขอรับข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว สำนักราชเลขาธิการก็จะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสอบถามไปยังเจ้าตัวผู้มีทุกข์ หน่วยงานที่ถูกร้องฎีกานั้นเพื่อให้ชี้แจง รวมทั้งสอบถามไปยังหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำ นักงานตำ รวจแห่งชาติ สำ นักข่าวกรองกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำสรุปข้อเท็จจริงเสนอสำนักราชเลขาธิการ

แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ก็ต้องถามความเห็นให้ครบถ้วนแล้วสรุปเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีสั่งการ และทำความเห็นเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัยฎีการ้องทุกข์นี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามประเพณีและคำพิพากษาศาลฎีกา เคยวินิจฉัยว่า “....ราชเลขาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ย่อมมีหน้าที่ต้องคอยกลั่นกรองเรื่องราวต่าง ๆ ที่นำขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบตามที่เห็นสมควรให้เหมาะสมกับกาลเทศะและราชประเพณี ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ มิใช่ว่าเมื่อมีการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาในเรื่องใดก็จะต้องรีบนำขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบทันที โดยไม่ต้องสอบสวนเรื่องราวให้ได้ความถ่องแท้เสียก่อน” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๘/๑๑ ๒๕๒๘)

อำนาจนี้รวมถึงการที่ราชเลขาธิการอาจงดไม่นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายได้ โดยเฉพาะฎีกาขอพระมหากรุณาบางเรื่อง (เช่น ของานทำ) หรือฎีกาที่มีใจความหรือสาเหตุที่อ้างคลุมเครือไม่มีมูล ฯลฯรัฐบาลเองก็ต้องรับผิดชอบโดยตรงเพราะมีหน้าที่ถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์กล่าวคือแม้การพระราชทานอภัยโทษในมาตรา ๑๙๑ ซึ่งบัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ” ก็ตาม แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ โดยคำแนะนำของรัฐบาลเพราะในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจทุกชนิดที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น พระราชทานอภัยโทษก็ดี หรือแก้ไขทุกข์ของราษฎรที่ต้องให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติก็ดี พระมหากษัตริย์ก็ต้องทรงใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งต้องรับผิดชอบทางการเมือง (มาตรา ๓ ของรัฐธรรมนูญ ฯ )

และดังที่รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๕ กำหนดว่า “ บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินนั้น ต้องมีรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้” ดังนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมายจึงต้องเป็นผู้กลั่นกรองเรื่องฎีกาทุกชนิดที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นฎีกาขอพระราชานอภัยโทษ หรือฎีการ้องทุกข์ รวมทั้งกราบบังคมทูล ถวายคำแนะนำและนำพระบรมราชวินิจฉัยมาปฏิบัติ และรับผิดชอบทางการเมืองและกฎหมายแทนพระมหากษัตริย์ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ยกเว้นฎีกาที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินเลย เช่นขอพระราชทานยืมเงิน หากมีพระมหากรุณาพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ก็ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินจึงเป็นพระราชอำนาจส่วนพระองค์โดยเฉพาะที่นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลก็ต้องยึดหลักในพระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาคือ นายกรัฐมนตรีในฐานะบังคับบัญชาสำนักราชเลขาธิการ ต้องสั่งการให้ยุติเรื่องตามบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกา

อันที่จริงราชเลขาธิการและคณะองคมนตรีซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเองก็ต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาข้อ ๕ นี้ แต่ถ้าให้ทำเอง ก็คงถูกผู้เป็นแกนนำกล่าวหาเอาอีก และอาจละลาบละล้วงไปถึงสถาบันสูงสุดได้ จึงควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่เป็นฝ่ายการเมืองที่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ระงับฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมายนี้ ไม่ให้ทูลเกล้า ฯ ถวายขึ้นไปถึงองค์พระประมุข เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งการเมืองลุกลามไปเป็นภยันตรายต่อสถาบันหลักของชาติได้ เข้าทำนอง “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง”

ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ขัดขวางการถวายฎีกา จึงเป็นความสำคัญผิดในหน้าที่ตามกฎหมาย อนึ่ง การที่กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดออกชี้แจง และตั้งโต๊ะรับการถอนชื่อฎีกาก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาข้อ ๕ วรรค ๔ ที่ว่า “ให้เป็นหน้าที่เจ้ากระทรวงผู้ปกครองท้องที่ออกคำชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจข้อความในพระราชกฤษฎีกานี้ทุกประการ” คงเหลือแต่ ตำรวจ (กรมกองตระเวรและกรมตำรวจภูธร) และทหาร (เจ้าพนักงานกองอารักขา)คงต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาที่ว่า “ให้เจ้าน่าที่ต่างๆที่กล่าวนามมาแล้วข้างต้นนี้ ปฏิบัติน่าที่ของตนโดยเข้มงวดกวดขันต่อไป”

สรุป
ภาวะ “ฎีกาโกลาหล” ครั้งนี้ระงับดับลงได้ด้วยวิธีการทางการเมือง ๒ ทาง คือ

๑. อดีตนายกรัฐมนตรีขอร้องให้แกนนำในการชักจูงประชาชน ยุติการกระทำที่มิได้เป็นไปตามกฎหมาย นิติประเพณีและระเบียบปฏิบัติที่ถูกต้องเสีย เหมือนเมื่อคราวระงับการขอจัดงานแซยิดให้ตนที่สนามหลวง และอาจทำเรื่องทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ถูกกฎหมายเพียงคนเดียว เรื่องนี้ก็จะระงับลง และเป็นบทพิสูจน์หักล้างคำกล่าวหาที่ว่าไม่จงรักภักดีเสียได้ด้วยการกระทำ ซึ่งสำคัญกว่าคำพูด ถ้าเป็นเช่นนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีก็จะได้รับความชื่นชมจากผู้เขียน และคนจำนวนมากว่า “แฟร์” และ “เล่นในเกมส์” สมกับที่เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีมาถึง ๕ ปี

๒. นายกรัฐมนตรีปัจจุบันต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและนิติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา ๓ วรรค ๒ กำหนดไว้ และตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยคณะรัฐมนตรีต้องมีมติร่วมกัน ให้นายกรัฐมนตรีระงับการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาที่ขัดต่อกฎหมายนิติประเพณีและระเบียบปฏิบัติเสียเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา๓ และมาตรา ๗๗ ที่ว่า “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์....... และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข....”

อนึ่ง ต้องขอจบตบท้ายว่า ผู้เขียนบทความนี้ เพราะการอ้างอิงของอดีตทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีใครขอร้อง หรือ สั่งการอย่างที่เคยกล่าวหา ด่าทอผู้เขียน และผู้ใหญ่ที่คนเคารพ นับถือผิด ๆ มาในโทรทัศน์ วิทยุหลายรายการ แต่ผู้เขียนไม่เคยตอบโต้ เพราะถือหลักว่าสัจจะก็คือสัจจะ

ต่อไปหากจะอ้างอิงก็ขอความกรุณาอ้างอิงเรื่องที่ถูกต้องตามหลักวิชา กรุณาอย่าอ้างโดยตัดตอนข้อความที่เป็นประโยชน์เฉพาะกับตน !