WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 4, 2009

5ธันวา52:ครบรอบ100ปีชาตกาลขุนพลภูพาน วีรบุรุษที่ยังไร้อนุสาวรีย์

ที่มา Thai E-News


สหายศึกเสรีไทย-ครูเตียง ศิริขันธ์ หรือ"พลูโต"(กลาง)กับทหารอังกฤษ พ.ต.เดวิด สไมเลย์ แห่งกองกำลัง136(ซ้าย) และส.อ."กันเนอร์"คอลลินส์ พนักงานวิทยุของผู้พันสไมเลย์

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 สิงหาคม 2552

ปฏิทิน 100 ปีชาตกาลขุนพลภูพาน:วีรบุรุษที่ยังไร้อนุสาวรีย์

-5 ธันวาคม 2452 เตียง ศิริขันธ์ เกิดที่จังหวัดสกลนคร
-พ.ศ.2473 จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
-พ.ศ.2477 ถูกจับกุมข้อหาคอมมิวนิสต์ ขณะเป็นครูที่อุดรธานี
-7พ.ย.2480เป็นส.ส.สมัยแรก และเป็นต่อมาอีก5สมัย
-8ธ.ค.2484วันญี่ปุ่นบุกยึดไทย นายเตียงเข้าพบปรีดี พนมยงค์ขอให้ตั้งขบวนการเสรีไทย
-ปฏิบัติงานเสรีไทยใช้รหัสชื่อ"พลูโต"เป็นหัวหน้าเสรีไทยภาคอีสานจนถึงวันประกาศสันติภาพ16ส.ค.2488
-31ส.ค.2488 เป็นรัฐมนตรีครั้งแรก
-9 มิ.ย. 2489 เกิดกรณีร.8สวรรคต นายปรีดี พนมยงค์ลาออก
-8 พ.ย.2490 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจ กลุ่มนายปรีดีถูกขจัดออกจากอำนาจ
-26ก.พ.2492 นายปรีดีพยายามยึดอำนาจคืนแต่พ่ายแพ้กลายเป็นกบฎวังหลวง
-4 มี.ค.2492 อดีต4รัฐมนตรีสายปรีดีถูกสังหารโหดที่บางเขนคือดร.ทองเปลว ชลภูมิ,ถวิล อุดล,จำลอง ดาวเรือง,ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ แต่ครูเตียงรอด
-12 ธ.ค.2495 ครูเตียงถูกพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์เชิญไปพบและหายสาบสูญ ขณะอายุ 43 ปี หลายปีต่อมาถูกเปิดเผยว่าโดนฆ่ารัดคอและเผาที่กาญจนบุรี
-วันนี้ ชาวสกลนครกำลังระดมทุนราว3ล้านบาทเพื่อสร้างอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติขุนพลภูพานให้ทันวันชาตกาล100ปี 5 ธันวาคม2552
-5 ธันวาคม 2552 คาดว่าจะได้เปิดอนุสาวรีย์ขุนพลภูพาน


100ปีวีรบุรุษที่กำลังจะมีอนุสาวรีย์-ในวันที่ 5 ธันวาคม 2552 นี้เป็นวันครบรอบชาตกาล 100 ปีของขุนพลภูพาน ชาวสกลนครกำลังระดมทุนตามมีตามเกิดสร้างอนุสาวรีย์บริเวณถ้ำเสรีไทย ภูพานให้กับวีรบุรุษเตียง ศิริขันธ์ (*ชมคลิปวิดิโอ สำรวจสถานที่ก่อสร้างอนุสาวรีย์ขุนพลภูพาน คลิ้กที่นี่)

สมาคมข้าราชการนอกประจำการ จังหวัดสกลนคร กำลังระดมทุนเพื่อก่อสร้างอนุสาวรีย์ของนายเตียง ศิริขันธ์ "ขุนพลภูพาน" ณ ลานจอดรถทางเข้าถ้ำเสรีไทย ซึ่งเป็นถ้ำบนเทือกเขาภูพาน ที่ใช้ในการซุกซ่อนอาวุธที่ได้รับจากฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นในรหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยแบบที่ทำไว้ในการก่อสร้าง เป็นรูปปั้นเหมือน ตั้งบนฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้างX ยาวX สูง 6 เมตร ทั้งนี้การก่อสร้างต้องใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ขณะนี้ยังขาดทุนทรัพย์ในการก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่งจึงฝากประชาสัมพันธ์ถึงท่านที่ต้องการสมทบทุนสร้าง ร่วมกันเป็นเป็นเจ้าภาพในการบริจาคสมทบทุนก่อสร้าง ได้ที่สมาคมข้าราชการนอกประจำการจังหวัดสกลนคร

ติดต่อ คุณวิเชียร วงศ์กาฬสินธ์ โทรศัพท์ 042-711915 เพื่อให้เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเอกราชอธิปไตยชาติไทยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป


สถานที่ก่อสร้างนี้ ตั้งอยู่บริเวณลานจอดรถถ้ำเสรีไทย กรมอุทยานแห่งชาติ กม.22 ถ.สกลนคร-กาฬสินธุ์ บ้านลาดกะเฉอ ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร หลังจากได้รับอนุมัติจากกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งชาติ ในการสำรวจและเตรียมพร้อมพื้นที่ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ 100 ปี ขุนพลภูพาน วีรบุรุษเสรีไทยสามัญชน เตียง ศิริขันธ์

นายเตียง ศิริขันธ์ อดีตเป็นหัวหน้าใหญ่ของกองทัพขบวนการเสรีไทยสายอีสาน ที่สร้างวีรกรรมที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว รวบรวมพลพรรคและตั้งค่ายเสรีไทยแห่งแรก ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อทำกองทัพพลเรือนเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น

จากนั้นในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายพันธมิตรว่าประเทศไทยไม่ใช่ผู้แพ้สงคราม และไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ มีเอกราชอธิปไตย สมบูรณ์มาถึงทุกวันนี้

จากความหล้าหาญเสียสละในการต่อสู้ปกป้องเอกราชและอธิปไตย คนไทยทั้งประเทศและชาวจังหวัดสกลนคคร มีความภาคภูมิใจ ในวีรกรรมของ นายเตียง ศิริขันธ์ ถึงแม้จะล่วงลับไปแล้ว แต่ขบวนการสายเลือดเสรีไทยในจังหวัดสกลนครที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงใช้โอกาสที่นายเตียงมีชาตกาลครบ 100 ปีในวันที่ 5 ธันวาคม 2552นี้ระดมทุนเพื่อก่อสร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าว


ขุนพลภูพานกับสหายศึก1ใน4รัฐมนตรี-เตียง ศิริขันธ์ กับทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (9มิ.ย.2449-4มี.ค.2492 สิริอายุ 43 ปี) ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งในสกลนคร ทั้ง2เป็นเสรีไทย เป็นรัฐมนตรีในสายปรีดี พนมยงค์ และเป็นเหยื่อฆาตกรรมทางการเมืองเช่นกัน


นภาพร วงศ์กาฬสินธ์ ข้าราชการบำนาญวัย 70 ปี เป็นหนึ่งในผู้ระดมทุนจัดสร้างอนุสาวรีย์ของวีรชนผู้นี้ ท้าวความย้อนไปเมื่อ 72 ปีก่อน ตั้งแต่เตียงจบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม.) สมัยนั้นยังไม่เปิดเรียนระดับปริญญาตรี จากนั้นไปเป็นครูที่ ร.ร.มัธยมหอวัง อีก 4 ปีต่อมาในปี 2477 ย้ายไปเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ร.ร.อุดรพิทยานุกูล สอนวิชาภาษาไทย อังกฤษ และประวัติศาสตร์

ที่นี่เองที่ครูเตียงถูกจับในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับเพื่อนอีก 3 คน คือ ครูปั่น แก้วมาตย์ ครูสุทัศน์ สุวรรณรัตน์ และครูญวง เอี่ยมศิลา เนื่องจากมีพฤติกรรมต้องสงสัยว่าจะฝักใฝ่คอมมิวนิสต์และเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในโรงเรียน เมื่อมีการชักธงรูปค้อนเคียวอันเป็นสัญลักษณ์ของคอมมิวนิสต์ขึ้นสู่ยอดเสาธง โดยถูกคุมขังอยู่ราว 2 เดือน ศาลก็มีคำพิพากษายกฟ้อง มีเพียงครูญวงคนเดียวที่ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี

การได้รับอิสรภาพครั้งนั้น ผลักดันให้ครูเตียงหักเหชีวิตจากครูก้าวเข้าสู่วงการเมือง ในปี 2480 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สกลนคร ด้วยวัยเพียง 28 ปี มีโอกาสร่วมทำงานกับ ส.ส.อีสานที่มีอุดมการณ์เดียวกัน คือ ต่อสู้เพื่อคนยากจน เช่น ถวิล อุดล จากร้อยเอ็ด จำลอง ดาวเรือง จากมหาสารคาม ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จากอุบลราชธานี จนถูกขนานนามว่า สี่รัฐมนตรีอีสาน หรือขุนพลอีสาน มีผลงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้แก่คนทุกข์ยาก เคียงบ่าเคียงไหล่ "ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์" อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้ก่อตั้งคณะราษฎร

ครูเตียงและเพื่อนร่วมกันก่อตั้งพรรคสหชีพ ซึ่งมีนโยบายเพื่อเกษตรกรและคนทุกข์ยากในสังคมไทย เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม กระจายอำนาจและรายได้สู่ประชาชนระดับล่าง แนวทางใกล้เคียงกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญที่มี ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสเป็นแกนนำ

ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มครูเตียงพยายามนำเสนอแนวคิดดังกล่าว ขณะเดียวกันก็โจมตีนโยบายบริหารประเทศของผู้นำทหาร ที่มักจัดสรรงบประมาณให้กองทัพมากเกินไป แทนที่จะกระจายไปสู่งานการศึกษาและพัฒนาด้านอื่นๆ ในชนบท สร้างความขุ่นเคืองให้แก่ผู้นำทหารตลอดมา

หลังจากกองทัพลูกพระอาทิตย์ยกพลขึ้นบนที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น เตียงเป็นคนหนึ่งที่เข้าพบปรีดี พนมยงค์ ที่บ้านสีลมเมื่อค่ำวันนั้น และร่วมกันจัดตั้ง"องค์การต่อต้านญี่ปุ่น"ขึ้น ซึ่งต่อมาคือขบวนการเสรีไทย

ปรีดี พนมยงค์ ชื่อรหัส"รูธ"เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศ ดำเนินการลับติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อให้เข้าใจสภาพอันแท้จริงของไทยที่เสียอิสรภาพ และพยายามจะจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในต่างประเทศ

ครูเตียงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำเสรีไทยประจำภาคอีสาน มีนามลับว่า "พลูโต"

ช่วงนั้นมีการชักชวนชาวบ้านมาร่วมฝึกอาวุธ เป็นกองทัพประชาชน จัดทำสนามบิน 3 แห่ง ที่บ้านโนนหอม บ้านเต่างอย และตาดภูวง ค่อนข้างเสี่ยงมาก เพราะขณะนั้นมีการประกาศกฎอัยการศึก และเสี่ยงต่อการถูกทหารญี่ปุ่นจับ มีโทษถึงประหารชีวิต โชคดีที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทหารป่าเสรีไทยได้ไปเดินสวนสนามที่กรุงเทพฯ ในปลายเดือนกันยายน 2488 เก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทางราชการในเวลาต่อมา" นภาพร เท้าความหลัง

ชีวิตเจ้าของฉายาพลูโตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขามีชื่ออยู่ในรัฐบาลทวี บุณยเกตุ รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และรัฐบาล พล.ร.อ.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กระทั่งวันที่ 10 เมษายน 2490 จึงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อเดินทางไปสหรัฐฯ ในฐานะรองตัวแทนการเจรจาประนีประนอมระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส

ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ได้ยึดอำนาจการปกครอง ล้มล้างรัฐบาล พล.ร.อ.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และโค่นอำนาจปรีดี พนมยงค์ เชิญพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาลขัดตาทัพ

ด้านครูเตียงเมื่อได้ข่าวการรัฐประหารจึงหลบขึ้นเทือกเขาภูพาน จัดตั้งกำลังต่อต้านคณะรัฐประหาร แต่ ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ที่สิงคโปร์ ได้ออกอากาศทางวิทยุห้ามพลพรรคเสรีไทยต่อสู้กับคณะรัฐประหาร เพราะไม่ต้องการให้คนไทยเข่นฆ่ากันเอง ครูเตียงจึงยุติการจัดตั้งกองกำลังและซ่อนตัวอยู่บนภูพานนับแต่นั้นเป็นต้นมา

รัฐบาลสั่งการให้ พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ ตามล่าตัวครูเตียง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนหนังสือพิมพ์ยุคนั้นพร้อมใจกันตั้งสมญานามให้ว่า "ขุนพลภูพาน" ต่อมาหลวงพิชิตธุรการจึงใช้วิธีข่มขู่ให้ชาวบ้านบอกที่ซ่อนของขุนพลภูพาน โดยจับครูครอง จันดาวงศ์ และมิตรสหายของครูเตียงอีก 15 คน สร้างแรงกดดันจนเขาตัดสินใจมอบตัวต่อทางการในเดือนมีนาคม 2491 ทั้งหมดถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน แต่ท้ายที่สุดศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง

4 ปีต่อมา เดือนพฤศจิกายน 2495 รัฐบาลได้กวาดล้างจับกุมฝ่ายค้านจำนวนมากในข้อหากบฏ ที่เรียกกันต่อมาว่า "กบฏสันติภาพ" และออกกฎหมายคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงข้าม

ระหว่างนี้เตียงดำรงตำแหน่ง ส.ส. เขาไปประชุมคณะกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา ในเวลาราว14.00 น. วันที่12ธันวาคม 2495 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้ตำรวจเชิญตัวไปพบ ตั้งแต่นั้นมาก็หายสาบสูญไป ไม่ปรากฏตัวอีกเลย

อย่างไรก็ตามภายหลังพล.ต.อ.เผ่าสิ้นอำนาจ หลักฐานต่อมาปรากฏว่า เตียง ศิริขันธ์ ถูกสังหาร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2495 หรือ 2 วันหลังจากถูกตำรวจเรียกตัวไป โดยถูกสังหารพร้อมด้วย เล็ก บุนนาค, ผ่อง เขียววิจิตร, สง่า ประจักษ์วงศ์ และชาญ บุนนาค โดยการฆ่ารัดคอ แล้วนำศพไปเผาทิ้งที่เชิงเขาโล้นกาญจนบุรี ห่างจากแยกลาดหญ้าที่ก.ม.9ประมาณ 2 กิโลเมตร ในพื้นที่ ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


เตียง เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 9 คนของนางอ้ม ศิริขันธ์ กับนายบุดดี ศิริขันธ์ (ขุนนิเทศพาณิช) หรือที่ชาวบ้านเรียกทั่วไปว่า "นายฮ้อยบุดดี" เนื่องจากเป็นนายฮ้อยยุคค้าควายไทย-พม่า อันเป็นที่มาของตำนานนายฮ้อยแห่งภาคอีสาน การเดินทางไปขายของในเมืองแต่ละครั้ง จะมีพ่อค้านำกองเกวียนรวมไปด้วย 20-30 ราย เดินทางไปจนถึง จ.ขอนแก่น นครราชสีมา หรือบางครั้งไกลถึงกรุงเทพฯ นานเป็นแรมเดือน บางครั้งก็นำวัว-ควายไปขายถึงเมืองมะละแหม่ง-ย่างกุ้ง ประเทศพม่า นับว่าเป็นผู้มีรายได้ดี มีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่งของสกลนคร

ฉายา "ขุนพลภูพาน" ของเตียง ศิริขันธ์ หมายถึง การเป็นทั้งแม่ทัพใหญ่ในการฝึกหัดเสรีไทยนับพันคนหลายรุ่น มีอัธยาศัยไมตรีเป็นที่ไว้วางใจของชาวสกลนคร ขณะเดียวกันก็มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมคติที่จะต่อสู้กับนักการเมืองที่มีอิทธิพล จนถูกยัดเยียดข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม สุดท้ายถูกอำนาจทางการเมืองสั่งฆ่า

จากวีรกรรมการต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยาก วันนี้สมาคมข้าราชการนอกประจำการ จ.สกลนคร ร่วมกับครอบครัวศิริขันธ์ มีความพยายามสร้างอนุสาวรีย์ 100 ปี ขุนพลภูพาน วีรบุรุษไทยสามัญชน "เตียง ศิริขันธ์" เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยว รวบรวมพลพรรคตั้งค่ายเสรีไทยแห่งแรกที่สกลนคร เพื่อก่อตั้งกองทัพพลเรือนเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยมีเอกราชไม่ตกเป็นประเทศแพ้สงคราม

ปณิธานสำคัญของครูเตียงที่ก้องจากวันที่เขามีชีวิตโลดแล่นบนถนนการเมืองไทย และยังต้องแสวงหาสัจธรรมนี้กันอีกต่อไปก็คือ

"ข้าพเจ้าต้องการให้ทุก ๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้ เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง"