WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 6, 2009

“เครือข่ายเกษตร” ล่า “หมื่นรายชื่อ” ดัน “ร่างกฎหมายสภาเกษตร” ฉบับประชาชนเข้าสภาฯ

ที่มา ประชาไท

คณะทำงานติดตามร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกร สนับสนุนโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมระดมความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สภาเกษตรฉบับประชาชนซึ่งมีเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกรจากทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม โดยมี นายไพสิฐ พานิชย์กุล และนายทศพล ทรรศกุลพันธ์ นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งพัฒนามาจากประสบการณ์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) บทเรียนของสภาเกษตรกรในประเทศต่างๆ และการเก็บข้อมูลจากเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิดหลักคือ ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง

นายทศพล กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเกษตรกรจำนวนมาก แต่เรื่องสิทธิเกษตรกรนั้นถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และมีความพยายามจะผลักดัน ร่างพ.ร.บ.สภาเกษตรกรฯ เพื่อรับรองสิทธิเกษตรกร แต่ปัจจุบันพบว่ามีความพยายามผลักดันร่างกฎหมาย 2 ฉบับ โดยฉบับหนึ่งเป็นร่างกฎหมายที่นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้ยกร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรแห่งชาติ และอีกฉบับเกิดจากการยกร่างโดยภาคประชาชน

“คาดว่าร่างกฎหมายของพรรคชาติไทยพัฒนา น่าจะเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณา ในเดือนสิงหาคม แต่ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังขาดเรื่องการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อพัฒนาสิทธิเกษตรกร เช่น ไม่มีการจัดตั้งสมัชชาเกษตรกร ให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง รวมถึงสิทธิของเกษตรกรด้วย”

นอกจากนี้ร่างกฎหมายของพรรคชาติไทยยังมีวิธีการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรซึ่งกำหนดให้องค์กรเกษตรกรที่ลงทะเบียนกับราชการเท่านั้นจึงจะมีสิทธิส่งชื่อผู้เข้าสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาเกษตรกร ทั้งในส่วนของสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ระดับจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิ

“การจัดให้มีสภาเกษตรกร 2 ระดับ คือ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และ สภาเกษตรกรจังหวัด โดยผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมได้ต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการคัดเลือกแล้วเท่านั้น อาจทับซ้อนกับการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีหน่วยงานในส่วนกลางและภูมิภาคไม่แตกต่างกันเหมือนมีสภาที่สวมร่างโดยกระทรวงเกษตรอีกต่อหนึ่ง”

นายทศพล กล่าวอีกว่า ในส่วนร่างกฎหมาย สภาเกษตรกรฯของภาคประชาชนที่เกิดจากการเสนอของเครือข่ายภาคประชาสังคมนั้นพบว่ามีข้อเสนอที่อาจจะเป็นทางเลือกในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ คือ การคัดเลือกตัวแทนเกษตรกร เกษตรกรทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยตรงในวันเปิดประชุมสมัชชาเพื่อเสนอตัวเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ นอกจากนี้เกษตรกรยังมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกในองค์กรเกษตรที่จดทะเบียนกับราชการ

ส่วนการจัดตั้ง สภาเกษตรกรนั้นเห็นว่าควรจัดให้มีสภาเกษตรกรแห่งชาติเพียงระดับเดียว เพื่อเป็นองค์กรเชื่อมระหว่างเกษตรกร กับ ภาครัฐ โดยมีสมัชชาเกษตรกรเข้ามาเสริมในระดับต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องชนะการคัดเลือกเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรอย่างเป็นทางการ

“ประเด็นที่สำคัญคือ การจัดให้มีสมัชชาเกษตรกรเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยตรง และมีสมัชชาเข้าร่วมได้หลายระดับทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด พื้นที่ และสมัชชาเฉพาะประเด็นที่เกษตรกรมีความสนใจ หรือมีปัญหาเร่งด่วนต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรฉบับประชาชนนี้น่าจะเป็นแนวทางลดความขัดแย้งดังที่เคยปรากฏมาในอดีตได้ แต่กลไกเหล่านี้ไม่ได้มีใน ร่างกฎหมายของพรรคชาติไทยพัฒนาที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาในเร็วๆนี้”

ด้านนายไพสิฐ พานิชย์กุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เมื่อเห็นจุดบกพร่องของร่างกฎหมายที่ฝ่ายรัฐบาลดำเนินการแล้ว ในส่วนภาคประชาสังคมจึงได้ร่างพ.ร.บ.สภาเกษตรกรฉบับประชาชนขึ้นมาเทียบเคียง โดยจะล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมาย หลังจากนั้นจะพยายามผลักดันเข้าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่สภาให้มีการพิจารณาควบคู่ไปพร้อมกับร่างพ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติของรัฐบาลให้ได้ เนื่องจากเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรฉบับประชาชนน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง แต่ร่างกฎหมายของฝ่ายรัฐบาลอาจจะเพิ่มภาระให้กับเกษตรกรมากกว่าการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร